l บทสรุปผู้บริหาร และผู้ที่สนใจเอาจริงกับการวิเคราะห์และนำประวัติศาสตร์ไปใช้เพื่อการปฏิรูปประเทศเราได้มาร่วมกันสร้างความเข้าใจ “เหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖”
1.เหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 คือ
2.ประมวลเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 (ตามลำดับวัน)
(1) ฝ่ายจอมพลถนอม กิตติขจร
(2) ฝ่ายพลเอกกฤษณ์ สีวะรา
l ตอนที่ ๓๒ ข้อที่ (3) (4)
(3) ฝ่ายนักศึกษา ประชาชน
๑.องค์ประกอบ ที่เป็นกำลังหลักสำคัญ
(๑) ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย รุ่น ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ เป็นเลขาธิการและคณะที่ปรึกษา ที่สำคัญ อ.ธีรยุทธ บุญมี ชัยวัฒน์ สุรวิชัย ฯลฯและนายกโมสรของกรรมการศูนย์รุ่น อาจารย์ธีรยุทธ บุญมี เป็นเลขาธิการศูนย์
(๒) กลุ่มอิสระของมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่เป็นพลังเชิงความคิดทางการเมืองและการปฏิบัติงาน
(๓) กลุ่มนักเรียนอาชีวะ ที่มีบทบาทเป็นการ์ดและกองกำลังฯซึ่งมีบางส่วนขึ้นต่อ ดร.เสกสรร ประเสริฐกุล แกนนำที่บัญชาการการเคลื่อนไหวฯ
(๔) กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ และ ๑๐๐ คนแรกที่ร่วมเซ็นชื่อ เรียกร้องรัฐธรรมนูญฯ และฝ่ายปฏิบัติงานที่เป็นนักศึกษาและนักเรียนจากหลายแห่ง จำนวนหนึ่ง
๒.การจัดการบริหารงานของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย
แบ่งเป็น ๓ ส่วนงานใหญ่
(๑) หน่วย A ฝ่ายบริหาร ประกอบด้วย กรรมการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยมีเลขาธิการศูนย์ฯ เป็นผู้ประสานงาน และนายกสโมสรนิสิตนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ
(๒) หน่วย B เป็นฝ่ายประสานงาน ระหว่าง หน่วย A และ C ประกอบด้วย อุปนายก และตัวแทนจากมหาวิทยาลัยต่างๆ
(๓) หน่วย C เป็นฝ่ายปฏิบัติงานต่างๆ ที่ประกอบด้วยตัวแทนศูนย์ฯและมหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น ฝ่ายสวัสดิการ แสงเสียง ฝ่ายรักษาความปลอดภัย แพทย์พยาบาล รับบริจาคยานยนต์ และฝ่ายประสานงานทั่วไป ส่วนที่สำคัญ คือ ฝ่ายรถบัญชาการ และฝ่ายข่าวกรองฯ
๓.ปัญหาใหญ่ ที่เป็นทั้งจุดแข็งและข้ออ่อนของกระบวนนักศึกษาประชาชน
(๑) จิตใจรักชาติรักประชาธิปไตย ที่นักศึกษานักเรียนและประชาชนมีร่วมกันต้องการให้รัฐบาลคืน อำนาจประชาธิปไตยให้กับประชาชน (รัฐธรรมนูญ)
(๒) มีการสะสมบทเรียน และผ่านการเคลื่อนไหวฯ มายาวนานพอควร โดยเฉพาะในช่วงของการรัฐประหารตนเองของจอมพลถนอม กิตติขจร และเหตุการณ์ต่อมา จนถึงเหตุการณ์วันนั้น
(๓) ประชาชนวงการต่างๆ ให้การสนับสนุนและหนุนช่วยหลากหลายด้านทั้งการเงิน การเข้าร่วมชุมนุม การบริจาคสิ่งของ การดูแลเรื่องความปลอดภัย ฯลฯ
(๔) การจัดแบ่งงาน เป็น ๓ หน่วย A B C ที่มีการสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับตามหน้าที่ประสบการณ์ ความถนัด ซึ่งต่างฝ่าย ต่างทำหน้าที่ของตน และการประสานงานกัน
(๕) การขาดประสบการณ์ในการต่อสู้ ในช่วงที่แหลมคม ของสถานการณ์ที่พัฒนาไปอย่างไม่ได้คาดการณ์ไว้แนวคิดทางการเมืองที่แตกต่างกัน ที่เกิดขึ้นในท่ามการความขัดแย้งที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ปัญหาการสื่อสาร การขาดการติดต่อระหว่างกันที่ใช้ประสานงานกันโดยตรง การบอกผ่านการเข้าใจและการตีความสถานการณ์ที่ต่างกัน ตามสภาพที่อยู่ในบทบาทหน้าที่ต่างกันรวมทั้ง มีความไม่ไว้วางใจกัน ในบางเรื่อง ในช่วงวิกฤตของสถานการณ์ เช่น ระหว่างกรรมการศูนย์ หน่วย A และ หน่วย C (บางส่วน)การแทรกแซงของฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายอื่นๆ ที่มีความขัดแย้งกัน (ฝ่ายรัฐบาล vs ฝ่ายพลเอกกฤษณ์)
(๖) โอกาสของการทำความเข้าใจกันมีจำกัดมาก เพราะสถานการณ์พัฒนาไปอย่างรวดเร็วฯ
๔.แต่ในท้ายสุด มีการประสานงาน และความเข้าใจกันได้ เพราะการมีเป้าหมายร่วมกันคือ คืนอำนาจให้กับประชาชน (รัฐธรรมนูญ)
๕.การมีความรับผิดชอบของแกนนำส่วนหนึ่ง ที่ร่วมกันคลี่คลายสถานการณ์ให้กลับเข้าสู่ปกติเพราะประชาชน มีความเชื่อถือและยอมรับ “ผู้นำนักศึกษาฯ ที่เป็นแกนนำในการชุมนุม”
๖.แต่หลังจากเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ไม่ได้มีการมาประชุมสรุปบทเรียนร่วมกันโดยแต่ละส่วน ได้ไปทำหน้าที่ในส่วนของตนและบางคนติดกรอบคิดและข้อมูลที่ตนได้เห็นมา รับมา และเข้าใจเชื่อมั่นว่า “ฝ่ายตนถูก”) ซึ่งตามความเป็นจริง เนื่องจากเหตุการณ์เกิดหลากหลาย และมีบริบทที่ต่างกันไปและบางส่วนนำความคิดความเชื่อของตนไปขยายต่อ ทั้งการเชียร์ สนับสนุน กลุ่มแกนนำที่ตนเห็นร่วมด้วยและการคัดค้าน กล่าวว่า ฝ่ายที่ตนเห็นต่างเป็นเหตุให้เกิดมีการถูกนำไปขยายต่อไป เป็นความไม่เข้าใจกัน และกินใจกันมาจนทุกวันนี้
๗.ควรและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีผู้ริเริ่ม ที่จะร่วมกันแก้และขจัด “สิ่งที่ติดค้างในใจ” ของแต่ละฝ่ายลง เพราะเหตุการณ์ที่ใหญ่โตเช่นนี้ ไม่มีผู้นำคนใดจะรู้เห็น หรือคิดถูกทำถูกหมดแต่ทั้งหมดเป็นบทเรียนที่เราควรได้นำมาปรับปรุงแก้ไข เพื่อนำมาเป็นประสบการณ์ในการนำไปใช้อย่างถูกต้องต่อไปในอนาคตแต่ น่าเสียดาย ที่ผู้นำส่วนใหญ่ ไม่ได้เห็นความสำคัญที่มีประโยชน์ยิ่งในการ “มาร่วมกันสรุปบทเรียนประวัติศาสตร์เหตุการณ์สำคัญของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย” แม้แต่ในวาระโอกาส “๕๐ ปี ๑๔ ตุลาคม” ที่ผ่านไปเมื่อ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๖๖ ที่ผ่านไปก็ไม่มีการดำเนินการในเรื่องนี้แต่ก็มีเรื่องที่ดี คือ “มีผู้นำบางส่วน” ได้ริเริ่ม และดำเนินการสรุปบทเรียนไป เท่าที่มีเงื่อนไข
(4) ฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐ
กล่าวโดยหลักการ มี ๓ ส่วน
(๑) ฝ่ายที่ได้มีการกล่าว และให้ข้อมูลความคิดเห็นสู่สาธารณะ ในฐานะที่ได้อยู่ร่วมในเหตุการณ์ เช่น พลตำรวจเอกวสิษฐ เดชกุญชร และคุณอาคม มกรานนนท์ โฆษกฯของกองทัพในสวนรื่นฯ ขอกล่าวถึงเรื่องที่ “คุณอาคม มกรานนท์”ได้เปิดเผยออกมาทางสาธารณชนผ่าน รายการอาจารย์เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
“จอมพลถนอม กิตติขจร” ยังไม่ได้ประกาศลาออกจาก“ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในช่วงแรก” แต่เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ มีสถานการณ์เปลี่ยนแปลง คือ ตั้งแต่เกิดสถานการณ์ขึ้น ตั้งแต่วันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๖ ที่ทางรัฐบาลจับกุมผู้นำนักศึกษาประชาชนจนถึงวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๑๖ หรือเช้าของวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ฝ่ายจอมพลถนอม ประภาส ณรงค์ ยังกุมสถานการณ์กองทัพ ที่สวนรื่นแต่หลังจากนั้น ฝ่ายพลเอกกฤษณ์ สีวะรา พลตรีวิฑูรย์ ยะสวัสดิ์ เข้ามากุมสวนรื่นได้ ได้ใช้ปฏิบัติการจิตวิทยา โดยสั่งให้ “คุณอาคม มกรานนท์” ไปออกประกาศว่า“จอมพลถนอม ลาออก” แต่การลาออกของจอมพลถนอมมาเกิดหลังจาก “การเจรจาต่อรอง” ภายหลัง ในวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๑๖
(๒) ฝ่ายที่ไม่ได้ให้ข้อมูล ตามที่ตนได้ทำหน้าที่ หรือนำเสนอต่อบุคคลหรือหน่วยงาน โดยไม่มีการเปิดเผยต่อสาธารณชน เช่น พลตำรวจโทมนต์ชัย พันธ์คงชื่น ซึ่งคุมตำรวจ ในช่วงเช้าของวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ที่เป็นต้นเหตุของการที่ “ตำรวจยิงแก๊สน้ำตาใส่นักศึกษาประชาชน” และเหตุการณ์บานปลายซึ่งมีการวิเคราะห์ว่า “เป็นการรับคำสั่งของฝ่ายพลเอกกฤษณ์ แต่จากการเปิดเผยของ อ.ธีรยุทธ บุญมี ในวาระโอกาสครบรอบ ๕๐ ปี ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖” ตอนเข้าไปในสวนรื่น ของวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ได้พบ “พลตำรวจโทมนต์ชัย” ถูกฝ่ายพลเอกกฤษณ์คุมตัวอยู่ซึ่งสอดคล้องกับ “ข้อเขียนของพลตำรวจเอกวสิษฐ ว่า “พลตำรวจโทมนต์ชัย” ได้ปฏิบัติการไปตามสถานการณ์
(๓) ฝ่ายที่ให้ข้อมูลต่อสาธารณในบางส่วน บางด้านไม่ได้ให้ข้อมูลรอบด้าน คือ จะให้ข้อมูลในด้านของฝ่ายผู้มีอำนาจ แต่ไม่ได้ให้ข้อมูลของฝ่ายนักศึกษาประชาชนซึ่งมีผลทำให้เกิดความเสียหายใหญ่ และสังคมไม่ได้บทเรียนและความเป็นจริงของเหตุการณ์
-แต่อย่างไรก็ดี ในช่วงวาระโอกาสครบรอบ ๕๐ ปี๑๔ ตุลา ๒๕๑๖ มีผู้นำหลายคนที่อยู่ร่วมในเหตุการณ์ฯ ได้เปิดเผยข้อมูลที่ตนได้พบเห็น ออกมาสู่สาธารณชน ซึ่งมีคุณูปการอย่างยิ่ง ที่ช่วยไขและทำให้สาธารณชนได้เข้าใจความจริงบางเรื่องเพิ่มขึ้น
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี