l 1. ความหมายของชีวิต
เป็นคำถามปรัชญาว่าด้วยความสำคัญของชีวิตหรือการดำรงอยู่โดยทั่วไป คำถามนี้สามารถแสดงได้หลายรูปแบบ.....ความหมายของชีวิตอยู่ในแนวคิดทางปรัชญาและศาสนาเรื่องการดำรงอยู่ ความสัมพันธ์ทางสังคม พิชานและความสุข..............
@ หัวใจ คือ การที่เราต้องเข้าใจให้ถูกต้องและสอดคล้องกับการใช้ชีวิตของเราเพราะความคิด ความเข้าใจ ความเชื่อฯ ของผู้คนในโลกนี้หลากหลายและถึงแม้ จะมีการเข้าใจแตกต่างกัน แต่คนส่วนหนึ่ง สามารถใช้ “หลักคิด ทำให้ตนมีความรัก ความสุขทั้งต่อตนเอง ผู้อื่น และส่วนรวม”
@ หากจะให้สรุป คือ มีหลายคำตอบ ที่อาจจะเหมาะและสอดคล้องกับแต่ละผู้คน เราไม่จำต้องไปใช้แบบเขา หรือ ให้เขามาใช้แบบเราฯ
เราก็มี “เส้นทางเดินของชีวิต” ที่เราลิขิตด้วยตนเอง
l คำถามเกี่ยวกับความหมายของชีวิตแสดงออกได้อย่างกว้างขวาง ซึ่งรวมถึง :
“อะไรคือความหมายของชีวิต” “ชีวิตนี้เกี่ยวกับอะไร” “เราเป็นใคร”
“ทำไมเราอยู่ที่นี่” “เราอยู่ที่นี่เพื่ออะไร”
“อะไรคือจุดกำเนิดชีวิต”
“ธรรมชาติของชีวิตคืออะไร” “ธรรมชาติของความเป็นจริงคืออะไร”
“จุดประสงค์ของชีวิตคืออะไร” “จุดประสงค์ของชีวิตหนึ่งคืออะไร”
“อะไรคือความสำคัญของชีวิต”
“อะไรที่มีความหมายและมีคุณค่าในชีวิต”
“คุณค่าของชีวิตคืออะไร”
“การอยู่มีเหตุผลอะไร” “เราอยู่เพื่ออะไร”
@ เพื่อตระหนักศักยะและอุดมคติของตน
เพื่อบรรลุความสมบูรณ์ทางชีววิทยา
เพื่อแสวงภูมิปัญญาและความรู้
เพื่อทำดี เพื่อทำสิ่งที่ถูกต้อง
@ ความหมายเกี่ยวกับศาสนา
.........................................................
@ คุณเป็นคนเดียวที่สามารถกำหนดเส้นทางชีวิตหรือแม้แต่หน้าที่การงานของตัวเองได้
๑.ชีวิตเป็นของคุณ
๒.คุณหว่านพืชเช่นไร ย่อมได้รับผลเช่นนั้น
๓.ไม่มีใครสามารถขวางทางคุณได้
๔.คุณคู่ควรกับชีวิตที่ประสบความสำเร็จ
๕.ความสำเร็จและความล้มเหลว มีทั้งด้านบวกและด้านลบ เราต้องเข้าใจ และเลือกใช้
๖.เราอาจจะได้ “เส้นทางเดินของเรา” มาจากใครอื่นพ่อแม่ บรรพบุรุษ ครูพระ หรือคนที่เรารัก เคารพ เชื่อมั่นสามารถที่เป็นแรงบันดาลใจให้กับเราได้ แต่การได้มาจากตนเอง ทั้งทางตรงและทางอ้อม จะสอดคล้องกับเรามากที่สุดซึ่งเราจะต้องผ่าน การศึกษา เรียนรู้ ปฏิบัติ และสรุปบทเรียนฯ
l อีกมุมหนึ่งของชีวิต ซึ่งอยู่ท่ามกลางความหลากหลายของชีวิตอื่นๆ ทั้งมนุษย์ และอื่นๆ ใช่อยู่ มนุษย์คนหนึ่ง เป็นหลักของตน ที่กำหนดชีวิตของตนได้ แต่ก็มีชีวิตอื่นหรือสิ่งอื่นๆ ที่ส่งต่อ มีส่วนร่วม และการดำรงอยู่ร่วมกัน เช่น
๑.ชีวิตของมนุษย์คนหนึ่ง มีที่มาจาก ๓ ส่วนที่สำคัญ คือ
(๑) บรรพบุรุษ ที่ส่งทอดต่อมาซึ่งลูกหลานเหลน จะมีโครโมโซมที่พัฒนาปรับเปลี่ยนไปตามสภาพ
(๒) ความสมบูรณ์ของอสุจิ(พ่อ)และไข่(แม่) และช่วงที่อยู่ในครรภ์มารดา
(๓) ชีวิตของคนคนนั้น ที่จะกำหนดชะตาชีวิตของตน
๒.ชีวิต เป็นสัตว์สังคม ที่จะอยู่ โดดๆ คนเดียวไม่ได้ ต้องอาศัยพึ่งพาและสัมพันธ์โยงใยต่อกัน
๓.ยุคสมัยที่มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไป ในหลากด้านที่เราต้องจับและเข้าใจมันความคิด ความเชื่อ สถาบัน วัฒนธรรม ประเพณี ค่านิยมต่างๆ
๔.ความสัมพันธ์กับโลก ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมต่างๆ
.........................................................
2.ความหมายของการพัฒนาตน self-development
หมายถึงการเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เหมาะสมเพื่อสนองความต้องการและเป้าหมายของตนเองหรือเพื่อให้สอดคล้องกับ สิ่งที่สังคมคาดหวัง
การพัฒนาศักยภาพตนเอง เป็นเรื่องที่มีคุณค่าและความจำเป็น และที่สำคัญ “เราทำได้”
๑.ตามหลักพุทธศาสนา “มนุษย์ เป็นสัตว์ที่ฝึกได้” และเป็นสิ่งที่มนุษย์แตกต่างจากสัตว์
๒.ตามหลักธรรมชาติ มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา
๓.ตามหลักวิทยาศาสตร์ของชีวิต มนุษย์มีกลไกของการรับรู้ พัฒนาได้มากมายกว่าที่ตัวเองคิด
๔.มนุษย์เป็นสัตว์สังคม ที่จะต้องมีการปรับปรุงตนเองให้สอดคล้องคนอื่นและสังคม
๕.เมื่อมีเงื่อนไข ปัจจัย ความพร้อมที่เอื้อให้เรา จำต้องทำในช่วงเริ่มต้น หรือเริ่มเปลี่ยนแปลงแล้ว มันจะกลายเป็นความเคยชิน เป็นนิสัย ที่ติดตัวติดใจเราไปตลอดกาล
l ความหมายของการเป็นมนุษย์ คือ การฝึกฝนและพัฒนาตนเอง อยู่ตลอดเวลา เพราะ
๑.มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐ เป็นสัตว์ที่ฝึกฝนเรียนรู้ได้ (เป็นข้อแตกต่างที่สำคัญกับสัตว์)
๒.มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่จะต้องมีการปรับปรุงตนเองให้สอดคล้องคนอื่นและสังคม
๓.ตัวมนุษย์ จะมีการเติบโตขึ้นตามกาลเวลาที่ผ่านไป (มีเกิดแก่เจ็บตาย) มีการเปลี่ยนแปลงไปตลอดเริ่มจากช่วงของการเรียนรู้พัฒนาได้รวดเร็วในวัยเริ่มต้น จนไปถึงช่วงที่เริ่มถดถอย ในยามชรา
l การพัฒนาศักยภาพของตนเองมีความสำคัญมากต่อมนุษย์
๑.ทำให้มนุษย์มีความรู้ความสามารถ มีสติปัญญา แสวงหาความจริงได้
๒.ทำให้มนุษย์ มีความเจริญก้าวหน้าและความสำเร็จบรรลุเป้าหมายในชีวิตและหน้าที่การทำงาน และสังคม
๓.ทำให้มนุษย์สามารถอยู่ได้ด้วยตนเองและอยู่ร่วมกับสังคมที่มีความเหมือนและความแตกต่างกันได้
๔.ทำให้มนุษย์เป็นคนดี มีประโยชน์และคุณค่าต่อตนเอง ผู้อื่น ชุมชน สังคมและบ้านเมือง
๕.ทำให้เรา กลายเป็น ผู้ที่ถูกรัก เคารพ ชื่นชม จากคนที่เรารัก สังคมที่เราอยู่
l แนวคิดพื้นฐานในการพัฒนาตน
บุคคลที่จะพัฒนาตนเองได้ จะต้องเป็นผู้มุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงตัวเอง โดยมีความเชื่อหรือแนวคิดพื้นฐานในการพัฒนาตนที่ถูกต้อง ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมให้การพัฒนาตนเองประสบความสำเร็จ แนวคิดที่สำคัญมีดังนี้
๑.มนุษย์ทุกคนมีศักยภาพที่มีคุณค่าอยู่ในตัวเอง ทำให้สามารถฝึกหัดและพัฒนาตนได้ในเกือบทุกเรื่อง
๒.ไม่มีบุคคลใดที่มีความสมบูรณ์พร้อมทุกด้าน จนไม่จำเป็นต้องพัฒนาในเรื่องใดๆ อีก
๓.แม้บุคคลจะเป็นผู้ที่รู้จักตนเองได้ดีที่สุด แต่ก็ไม่สามารถปรับเปลี่ยนตนเองได้ในบางเรื่อง ยังต้องอาศัยความช่วยเหลือจากผู้อื่นในการพัฒนาตน การควบคุมความคิด ความรู้สึก และ การกระทำของตนเอง
๔.การพัฒนาปรับปรุงตนเอง มีกระบวนการ จากไม่มีสู่มีจากเล็กสู่ใหญ่ จากน้อยสู่มาก คือ ต้องการเวลา การฝึกฝนปรับปรุงฯ มีขั้นตอนและจังหวะก้าว
๕.มีเหตุปัจจัย ที่รองรับ หรือสนองตอบคือ เราอาจจะทำได้ในสถานการณ์หนึ่ง อาจจะต้องรอคอยโอกาส ในการสะสมกำลัง ความพร้อม เพื่อจะก้าวไปสู่อีกขั้นหนึ่งได้
๖.คนเราต้องพิจารณาตนเอง ในเรื่องที่จะทำ และพิจารณาในสิ่งที่ทำได้หรือเป็นไปได้ก่อน คือ
(๑) มีเรื่องที่ปรารถนาจะทำที่สุด แต่ไม่สามารถทำได้
(๒) มีเรื่องที่ เราสามารถทำได้ทันที
(๓) มีเรื่องที่ ต้องการพลัง ความพร้อมและเงื่อนไข
๗.อุปสรรคสำคัญของการปรับปรุงและพัฒนาตนเอง คือ การที่บุคคลมีความคิดติดยึดอัตตาของตน ความคิดอคติ อวิชชา (ความไม่รู้) ผลประโยชน์ อำนาจ ที่ได้มาโดยมิชอบ ไม่สุจริตโดยไม่ยอมปรับเปลี่ยนวิธีคิด และการกระทำ จึงไม่ยอมสร้างนิสัยใหม่ หรือฝึกทักษะใหม่ๆ ที่จำเป็นต่อตนเอง
๘.การปรับปรุงและพัฒนาตนเองสามารถดำเนินการได้ทุกเวลาและอย่างต่อเนื่อง เมื่อพบปัญหาหรือข้อบกพร่องเกี่ยวกับตนเองความสำคัญของการพัฒนาตน
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี