l คนที่จะทำให้แก่สังคม มีสุข ก่อนอื่น “เรา” ต้องมีความสุขก่อนแต่ใช่จะละเลย “วัตถุ” วัตถุ มีความสำคัญ แต่เป็นเรื่องรอง เราต้องมีวัตถุ ที่จำเป็น แต่พอเพียง : บ้าน เงิน สุขภาพ ความรู้ ฯลฯ
@ สุขที่แท้ ใช่อยู่ที่วัตถุ แต่อยู่ที่ใจ คิดสุข เข้าใจความสุข และสุขเป็นสุขใจ หรือใจสุข : ต้องสร้างขึ้น ใช้เวลา ใช้สติปัญญา ความเพียรพยายาม เอาจริง ทำให้เป็นนิสัยเมื่อทำได้แล้ว เราจะมีสุขได้ง่าย และมีทุกข์น้อยลง หรือ มีทุกข์ได้ยากแล้ว เราใช้ “ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับ การสร้างความสุข” ไปสร้างความสุขให้ผู้อื่น
l มีนักวิชาการ ผู้รู้ นำเสนอ เรื่อง “ความสุข หลายตำรา” เช่น
๑.กฎ 5 ข้อของคน “โคตรมีความสุข” โดย...ชารีฟ วัยรุ่นร้อยล้าน
1. Let it go อะไรผ่านแล้วให้มันผ่านไป
2. Get a move on ก้าวต่อไปข้างหน้า... ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น
3. Follow your heart ทำตามหัวใจเรียกร้อง...
4. Think positive เชื่อมโยงทุกอย่างกับความคิดบวก
5. Carelessness ไม่แคร์อะไรที่ไม่จำเป็น คนจะมองเรายังไง
๒.พื้นนิสัยทางบวกและความสุข : ศาสตราจารย์ ดร.อรัญญา ตุ้ยคัมภีร์ การพัฒนาความสุขด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งภายใน
1.“การสร้างสุขภาวะทางจิต Well-being Therapy”
เน้นการพัฒนาคุณลักษณะด้านบวกของบุคคล 6 ด้าน
(๑) การเป็นนายเหนือสภาพแวดล้อมรอบตัว
(๒) การมุ่งพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
(๓) การใช้ชีวิตอย่างมีเป้าหมายและมีความมุ่งหมายที่ชัดเจน
(๔) การมีอิสระที่จะเลือกทำสิ่งต่างๆ ด้วยพิจารณาใคร่ครวญด้วยเหตุและผล
(๕) การมีทัศนะเชิงบวกต่อตนเอง
(๖) การมีความสัมพันธ์แบบผูกพันใกล้ชิดกับคนรอบข้าง มีความไว้ใจ สามารถเปิดใจรับคนอื่น และให้ความรักความเมตตาต่อผู้อื่นได้
2.“การเจริญเมตตาภาวนา Loving Kindness Meditation” ที่เป็นการฝึกให้ความสนใจกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ณ ปัจจุบันขณะ ด้วยสภาพจิตใจที่เปิดกว้าง ไม่มีการตัดสิน จากนั้นจึงเพ่งความสนใจไปยังแก่นกลางใจของตนเอง จนเกิดความสุขสงบจากการเจริญสติเมื่อรักษาความสุขทางใจได้ ใจจึงจะเกิดความเมตตา ที่มีความรัก ความสุข และความฉ่ำชุ่มเย็นอยู่ในจิตใจ พลังเมตตานี้สามารถแผ่ออกมาสร้างอารมณ์บวกต่างๆ
l ชีวิตฉัน เติบโต พัฒนามาจนถึงวันนี้ ได้อย่างไร? ศึกษาจากชีวิตผู้นำหลากหลาย ในการพัฒนาเติบโตของชีวิต
๑.สืบทอด ความมีฐานะฯ จากพ่อแม่ วงศ์ตระกูลที่ดี
๒.มีความใฝ่ฝัน จากการอ่านหนังสือประวัติชีวิตของผู้นำที่โดดเด่น
๓.มีอาจารย์ ผู้นำ แนะนำสั่งสอน ในฐานลูกศิษย์ คนโปรด
๔.สู้ชีวิตมาอย่างลำบาก ต้องต่อสู้ด้วยตนเอง จนมีวันนี้
๕.เติบโต มาจาก “เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ประชาธิปไตย เช่น ๑๔ ตุลา ๒๕๑๖
๖.ค่อยๆ พัฒนาตนเองมาอย่างช้าๆ ผ่านและฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ เรียนรู้ สร้างสรรค์พัฒนาโดยการ “ทำไม่หยุด ทำต่อเนื่อง” มีการสรุปบทเรียนและพัฒนามาตลอดเส้นทางของชีวิต
๗. ฯลฯ
l ชีวิตฉัน คล้ายๆ ในแบบที่ ๖ ฉันไม่ได้อ่านหนังสือประวัติของบุคคลสำคัญต่างๆ ไม่ได้เป็นลูกศิษย์ของผู้นำ ที่มีกรอบคิดสายต่างๆ ไม่ว่า “ซ้าย ขวา หรือเจ้าลัทธิคนใดฯ”
@ แต่ฉันสร้างชีวิตตนเอง บนเส้นทางที่ฉันเดินไป ฉันเดินทางชีวิต ตามวิถีและความคิดของตนเอง มาอย่างธรรมดาเช่นเดียวกับเพื่อนคนอื่นๆ แต่เมื่อเดินทางไปถึงแต่ละจุด นอกจากจะคิดและทำงานของตนให้ดีที่สุดแล้วฉันยังมีกรอบคิด ที่จะต้องทำสิ่งอื่นๆ ให้กับ คนอื่น สถาบันอื่นๆ ที่ฉันอยู่ตามคำสอนของป๋าแม่และคนรุ่นก่อนๆ “อยู่บ้านท่านอย่านิ่งดูดาย ปั้นวัวปั้นควายให้ลูกท่านเล่น” และได้พัฒนาไปเรื่อยๆ จนได้ข้อสรุปที่ดี : ซึ่งใช้เป็นประจำ เมื่อเริ่มจับงานใดๆ
โดยเริ่มทำอย่างมีจังหวะก้าว ขั้นตอน เป็นกระบวนการ “เริ่มต้น ท่ามกลาง จนถึงที่สุด” ตรงนี้ เป็น “หัวใจของการทำงาน การศึกษา เรียนรู้งาน อย่างครบถ้วน และเห็นภาพความเป็นจริงของเหตุการณ์นั้นๆ” จากการสัมผัสด้วยตนเอง รวมทั้ง “การแสวงหาสัจจะ จากความเป็นจริง” โดยอาศัย
๑.หลักการทางวิทยาศาสตร์ ที่มีเหตุมีผล พิสูจน์ที่ไปที่มาได้
๒.หลักการทางวิศวฯ “ENGINEERING THOUGHT” INPUT > PROCESS > OUTPUT
๓.หลักพุทธธรรม
๔.หลักสามัญสำนึก
l การคิดและการทำงาน แบบมีคุณภาพ ใช้สติปัญญาความรู้ ประสบการณ์ เวลา ทุ่มใจ
ขอยกตัวอย่าง “งานที่ได้ทำที่โดดเด่น” จะได้เห็นภาพชัด
๑.ตอนเป็นนายกสโมสรนิสิตจุฬาฯ ปี ๒๕๑๔ ซึ่งฉันได้ทำงานหนัก จนแทบไม่ได้เรียนครั้งหนึ่ง ได้ร่วมกับ “พี่พงษ์ศักดิ์ ผู้แทนคณะสัตวแพทย์จุฬาฯ” แก้วิกฤต มติครม. “ยุบและย้ายคณะสัตวแพทย์จุฬาฯ ไปรวมกับ คณะสัตวแพทย์เกษตรฯ” จนสำเร็จฯ ทำให้ จุฬาฯ มีคณะสัตวแพทย์ อยู่จนถึงทุกวันนี้
๒.ปี ๒๕๑๕ ในขณะเป็นซุปเปอร์ซีเนียร์วิศวจุฬาฯ (เรียนปีที่ ๖) ได้มีส่วนสำคัญ สนับสนุนและเสริม “กลุ่มน้องวิศวจุฬาฯ รุ่น ๒๕๑๒ ที่ร่วมกัน” ผลักดันให้ ยกเลิกมติ ครม. เรื่องทุน ๕,๐๐๐ บาท ให้แก่นิสิตวิศวะทั่วประเทศ โดยผ่าน คณบดี อธิการบดี และรัฐมนตรีทบวงฯ
๓.การสนับสนุนและเสริมบทบาทของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.) ในยุคปี ๒๕๑๕ และ ๒๕๑๖ ในฐานะที่เคยเป็นนายกสจม.และเป็นที่ปรึกษา ศนท.
๔.มีส่วนในการขับเคลื่อน “กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖” ตลอดการเคลื่อนไหวของเหตุการณ์จนถูกจับ เป็น ๑๓ กบฏ รัฐธรรมนูญ จนจบเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ที่ชัยชนะเป็นของประชาชน
๕.การร่วมสร้างบทบาทและฐานะของพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย ทั้งในฐานะผู้ร่วมก่อตั้งการเคลื่อนไหวตลอดปี ๒๕๑๘-๒๕๑๙ และการเข้าร่วมการต่อสู้ของพรรคสังคมนิยมฯในป่าในฐานะรองเลขาธิการและรองประธานพรรคจนถึงคราวแยกตัวออกมาจากพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ปี ๒๕๒๔
๖.การเข้าร่วมกับพรรคพลังธรรมหลังจากเหตุการณ์ “พฤษภาคม ๒๕๓๕” เช่นกัน ฉันทำงานหนัก และคิดเรื่องของการพัฒนาพรรคฯและได้ร่วมกับผู้นำและกรรมการบริหารพรรคในการเสริมพัฒนางานของพรรค ในฐานะ “หัวหน้าสำนักนโยบายและแผน” (ริเริ่มขึ้นมาที่ หัวหน้าพรรค บุญชู โรจนเสถียรสนับสนุน และได้เข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีของพรรคและการจัดโรงเรียนการเมืองของพรรค สำหรับผู้นำกรรมการบริหาร รัฐมนตรี สส.เข้าเรียนเป็นหลักสูตรใหญ่ จัดที่โรงแรมอิมพีเรียลควีนส์ปาร์ค
๗.การร่วมเริ่มต้นกับพี่ฉลาด วรฉัตร และผู้นำภาคประชาชน จนเกิด เหตุการณ์ ๑๗ พฤษภา ๒๕๓๕ และเหตุการณ์ยุติ รวมทั้งเหตุการณ์พันธมิตรประชาธิปไตยกลุ่มเสธอ้ายและ กปปส. ฯลฯ
๘.การร่วมสานต่อ และเสริมฐานะชมรมนิสิตเก่าวิศวจุฬาฯ ๒๕๑๐ ในฐานะประธาน ๒ ปี ๒๕๓๒-๒๕๓๓การขยายพัฒนาบทบาทให้เป็นที่ยอมรับของสังคม และด้านการเงินฯในปีแรก ฉันทำงานหนัก เพื่อสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมของเพื่อนวิศวจุฬาฯ ๓๕๓ คน : ทำวารสารรุ่นโดยทำเองคนเดียว ติดต่อประสานกับเพื่อนๆ ให้มาร่วมงาน ฯลฯ จุดเปลี่ยน คือ การจัดเวทีเสวนา โดยเชิญเพื่อนวิศวจุฬาฯรุ่นเดียวกันที่ประสบความสำเร็จแทน การเชิญ บุคคลสำคัญต่างๆ เช่น อ.คึกฤทธิ์ ปราโมช มาพูดโดยรุ่นก่อนๆ ทำให้เพื่อนๆ เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นชาววิศวจุฬา ๒๕๑๐
@ หลังจากนั้น ได้ร่วมมือกับเพื่อนลิป โชคชัยฯ ในการสร้างฐานะการเงินของรุ่นฯโดยขอบริจาคครั้งเดียวจากเพื่อนๆ
โดยเฉพาะคนที่มีฐานะในวงการต่างๆ จากเดิม เคยบริจาค ๑๐,๐๐๐ และ ๑,๐๐๐ บาท ขอเป็น ๑๐๐,๐๐๐ และ ๑๐,๐๐๐ บาทโดยมียอดรวมของการบริจาค เกือบ ๒ ล้านบาท นำไปฝากไฟแนนซ์ ได้ดอกเบี้ยสิบกว่า % และนำเงิน กว่าสองแสนบาท มาเป็นค่าใช้จ่ายของรุ่นฯ
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี