l ประโยค “อมตะ” THE OLDMAN NEVER DIES “จักถูกกล่าวขานไปทั่วโลกา”
เราควรคิดถึงคุณค่าชีวิตสุดท้ายของมนุษย์ ก่อนจากลาโลกไปนิรันดร? การได้เกิดมาเป็นสัตว์ประเสริฐ = มนุษย์ : มีคุณค่าความหมายยิ่งฉะนั้น ก่อนจากโลกนี้ไป : ควรได้ใช้เวลาคิด ถึงชีวิต คุณค่า ความหมายโดยเฉพาะ “สิ่งที่ควรจะฝากไว้ให้กับลูกหลาน และอนาคตของแผ่นดินเกิด” คืออะไร ?
@ การคิดและทำความดีในช่วงที่เกิดมาเป็นคน เพื่อตนเอง ผู้อื่น ส่วนรวม ชุมชนและบ้านเมืองเป็นการก่อและสร้างพัฒนากรรมดี ให้ดีและมากขึ้น เป็นความประเสริฐของชีวิต
l แต่สังคมมนุษย์ มีความหลากหลายทางความคิด หลายสถานะฯ คงมีความคิดความเห็นต่างกันไป หลากหลาย
๑.ยามชรา ช่วงสุดท้ายของชีวิต ควรใช้แสวงหาความสุขของตนและครอบครัว เพราะได้ทำงานมาอย่างหนักในช่วงที่ผ่านมาแล้วหรืออาจจะบริจาคเงินทอง ที่ดิน ให้กับวัดให้กับศาสนา ตามความเชื่อที่จะส่งผลบุญแก่เรา ไปสู่สวรรค์ ในชาติหน้าเราอยู่ต่อไป โดยไม่ทำชั่ว ก็น่าจะพอแล้ว เรื่องบ้านเมือง มิใช่ของเราคนเดียว ความคิดเช่นนี้ มีดี ส่วนหนึ่ง คือ ทำดีไม่ทำชั่วแต่หยุดทำดีไว้ เพราะ “คิดว่า อยู่ต่อไปอีกไม่นานแล้ว ควรใช้เวลาที่เหลือหาความสุขสบายก่อนตาย”
(แต่ถ้าบรรพบุรุษของเรา คิดแบบนี้ เราคงไม่ได้มาอยู่ ในสังคมไทยที่งดงามเช่นนี้)
๒.เรื่องอนาคต เรื่องบ้านเมืองควรปล่อยให้ “คนอื่น” หรือ “คนรุ่นต่อไปทำต่อ”
แปลกใจนัก : บัณฑิตใหญ่นักวิชาการบางคน ออกตัวแรงมาสนับสนุน “เด็กแอก”
โดยใช้ “วาทกรรม” ที่ตัวเองคิดว่า “สุดเท่”
“อนาคตเป็นเรื่องของเด็ก (เหล่านี้) เราแก่แล้ว หมดเวลาแล้ว ควรปล่อยให้เขาทำแทน” เป็นเพียงความคิดที่ลมปาก ไม่คิดถึง “ลมหายใจ” ที่ออกมาว่า “ดี” หรือ “ติดเชื้อโรคอะไรมาหรือเปล่า” หากปล่อยออกไปสู่สังคม จะเกิดผลดี ผลเสีย แค่ไหน อย่างไร? (เท่าที่มีข้อมูลระดับหนึ่ง “คนที่คิดเช่นนี้” มักมีกรอบความคิดฝรั่ง อคติ ... ไม่เข้าใจสังคมไทยไม่เคยเอาตัวเอาใจ เข้าร่วมต่อสู้ เพื่อประชาธิปไตย จากรัฐบาลทุนสามานย์ ที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ใช้อำนาจมิชอบ กอบโกยโกงกิน เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว และแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมฯคนเหล่านี้ มักรับข้อมูลจากฝรั่งมั่งค่า เคยเข้าร่วมรับใช้รัฐบาลทุนสามานย์มา และมักคิดอยู่บนหอคอยงาช้างโดยมีความรู้ความเชี่ยวชาญจาก “วิชาการที่ตนเก่ง ถนัด”มีความสามารถหรือได้รับถ่ายทอดความคิดมาจาก“เฒ่าชราอคติ อัตตาสูง ที่ปฏิเสธสถาบันฯ ด้วยข้อมูลด้านเดียวฯ”) เพราะหากได้คนที่มีความรู้ และประสบการณ์ที่ดีที่ถูกต้อง ก็ดีไปแต่หากได้คน ที่ขาดประสบการณ์ หรือมีความคิดไม่ถูกต้อง, อนาคตของบ้านเมืองจะเป็นอย่างไรเราควรคิดต่อไหม เราเห็นตัวอย่างของประเทศต่างๆ ที่ยับเยินเสียหาย เพราะ ได้คนไม่ดี มาทำหน้าที่ต่อจากคนรุ่นเราหรือไม่ คนเรานี้ ควรใช้ “หัวตรอง” ถึง “การที่คนรุ่นเราได้อยู่มีสุขพอควร ในวันนี้” เพราะใคร ทำอะไร
@ บรรพบุรุษ ที่สร้าง ปกป้อง พัฒนา ชาติบ้านเมืองมาถึงทุกวันนี้
แม้เขาไม่ฉลาดนัก แต่ “หัวใจ และความตระหนักถึงการตอบแทนบุญคุณแผ่นดินไทย” ทำให้ “เขา” มุมานะบากบั่นทำและสร้างสิ่งที่งดงาม ด้วยหยาดเหงื่อและชีวิต เพื่อ “อนาคตของบ้านเมือง” ต้องขอขอบคุณยิ่งและโดยเฉพาะ “สถาบันพระมหากษัตริย์ ขัตติยะมานะ” ที่ใช้สติปัญญา มองการณ์ไกลและ “หัวใจ” คือ ความสงบสุข ความปลอดภัย และความสุขของประชาชนของพระองค์เหมือนกับพระมหากษัตริย์ หลายพระองค์ ได้ทรงคิดและทำมา
และที่ในชั่วชีวิตของเรา คนชราวัย ๗๕ ได้รู้ได้เห็น คือ ในหลวง ร.๙ ที่ทรงทุ่มเทพระวรกาย ชีวิตจิตใจไม่หลับไม่นอน ทรงเฝ้าติดตาม และแก้ไขเหตุการณ์วิกฤตในเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ๑๗-๒๐ พฤษภาคม ๒๕๓๕ ฯลฯ
๓.สิ่งที่เรามีมาก คือ สิ่งที่เราได้ทำงานหนักมา รวมทั้งบรรพบุรุษที่ได้สร้างสิ่งที่ดีงามมาให้เรา
คือ ประสบการณ์ที่เราทำงานมาชั่วชีวิต
เราจะปล่อยให้สูญไป กับชีวิตของเรา หรือจะใช้มัน ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมที่เราอยู่เรารักแล้วเราจะใช้มันทำอะไร? อย่างไร?
๔.คนส่วนหนึ่ง ยังคงคิดและทำงานเพื่อส่วนรวม เพื่ออนาคตของลูกหลาน ทำงานเพื่อช่วยเหลือคนทุกข์คนลำบากทำสิ่งที่ดีมีคุณค่า ที่มีความรู้ความสามารถต่อไปหรือการสรุปบทเรียนของชีวิต ถ่ายทอดให้คนรุ่นหลังหรือ การช่วยสนับสนุน คนดีมีคุณภาพ ทำงานให้สังคม
๕. ฯลฯ
@ ทั้งหมดนี้ เราที่เป็นเจ้าของชีวิต เจ้าของประสบการณ์ที่มีคุณค่า เราสามารถคิดและทำได้ หลายทาง
(๑) ทำงานที่เป็นอุดมคติต่อไป โดยตัวเอง หรือแลกเปลี่ยนความคิดร่วมกับมิตรที่มีอุดมคติ หรือมีงานในสาขาวิชาชีพเดียวกันโดยร่วมมือกัน แสวงหา “แนวทางในการพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าทันสมัย สอดคล้องกับสถานการณ์” เราจะออกจากวิกฤตการเมือง เศรษฐกิจ สังคมฯ ได้อย่างไร? คนรุ่นนี้ มีทุนเดิมอยู่แล้ว การศึกษา พัฒนาเพิ่มเติม ไม่ได้เป็นเรื่องยากและไม่จำเป็นต้องทำงานมาก และหนักเท่ากับสมัยยังหนุ่มสาวหรือช่วงในวัยเป็นผู้ใหญ่ที่มีบทบาทฯใช้เวลา “คิดและทำ”อย่างจริงจัง ทำเท่าที่เราทำได้
(๒) หยุดงาน แต่หาเวลาถ่ายทอด “ประสบการณ์ของเรา” ให้กับคนรุ่นต่อ โดยเขียนเป็นหนังสือ ออกมาแนะนำให้กับคนรุ่นหลัง
(๓) ออกมาแสดงท่าที “สนับสนุน” สิ่งที่ดีงามถูกต้อง ของฝ่ายต่างๆ ที่ดีงาม และออกมาคัดค้าน “การกระทำที่ไม่ดี มีผลเสียใหญ่ต่อชาติบ้านเมือง”
ฯลฯ
l คิดและทำได้เช่นนี้ จะเกิดความสุข ความสงบในชีวิต
ลูกหลาน และคนรู้จักเคารพนับถือ จะได้มีความภาคภูมิใจ ประโยค “อมตะ” THE OLDMAN NEVER DIES “จักถูกกล่าวขวัญ” ทำให้ชีวิตมีคุณค่าและความหมาย
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี