l นักอุดมคติ เข้ามาสู่การเมือง แล้วทุ่มเทชีวิตให้กับการเมือง พรรคการเมือง ฯลฯ
แต่เวลาผ่านไป ก็ไม่สามารถใช้ “การเมือง” เข้าไปแก้ไขวิกฤตการเมืองและสังคมไทยได้
(๑) ส่วนหนึ่งยังยึดอุดมคติ มุ่งหน้าทำต่อไป แม้ว่าจะไม่เห็นอนาคตก็ตาม
(๒) ส่วนหนึ่งเลิกราไป ด้วยความผิดหวัง เศร้าใจกลับไปทำงานตามอาชีพและความสามารถของตน
(๓) ส่วนหนึ่งไปต่อได้ เพราะ “เก็บอุดมคติไว้ในลิ้นชักก่อน” แล้วหันไปทำการเมืองเก่ากับนายทุนการเมือง
(๔) อีกส่วนหนึ่ง กลับหันหลัง ๓๖๐ องศา เข้าหาแนวทางเก่า ที่เคยผิดพลาดใหญ่มาแล้วมาคิดซ้ำทำใหม่
โดยจับเยาวชนที่บริสุทธิ์ และบ้านเมือง เป็นเครื่องมือ ฯลฯ ตามดูกันต่อไป แต่ละส่วนจะเจอกับอะไร อนาคตใหม่ อนาคตเก่า แบบใดหัวใจที่สำคัญ คือ จะมีการสรุปบทเรียนที่เป็นจริงหรือไม่? และจะมี นักคิดนักวิชาการที่มีวุฒิภาวะ เกิดขึ้น หรือได้พัฒนาตนเองให้ไปสู่ระดับนั้นได้ หรือไม่
l นักอุดมคติ ที่ต้องการทำการเมืองที่เกิดผลจริงต้องสรุปบทเรียนที่เป็นจริงให้ได้ก่อนและต้องศึกษา เรียนรู้ เข้าใจ “สังคมไทย” ให้ถูกต้องตามสภาพความเป็นจริง
ที่ผ่านมา ทุกส่วนเอาแต่เดินหน้า ซ้ำทางเก่าทางเดิมแล้วซ้ำอีก คิดว่า “จะสำเร็จตามเป้าหมายได้”ซึ่งผลก็จะออกมา ตามเดิมเหตุเพราะไม่เคยสรุปบทเรียนอย่างเอาจริง หาความจริงออกมาให้ได้ว่า “ปัญหาอยู่ตรงไหน?” การทำงานใดๆ ให้ประสบความสำเร็จ ต้องแสวงหาสัจจะจากความเป็นจริงการทำการเมืองที่เกิดผลได้จริง ต้องเข้าใจสภาพของสังคมไทยที่เป็นจริง ก่อนเริ่มคิดทำต่อ
l หลักการประชาธิปไตยของโลก คือทุกประเทศ มีสิทธิในการกำหนดอนาคตของตนเองและทุกประเทศ ต้องเคารพสิทธิอัตตวินิจฉัย ของแต่ละประเทศถามดังๆ ว่า “ประเทศมหาอำนาจตะวันตก ที่อ้างว่า เป็นประชาธิปไตย” ได้ปฏิบัติตามหลักการนี้หรือไม่
l ปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่สุด คือ“ความคิดอคติที่ครอบงำสังคมไทย” จากตะวันตกฯ คือ ความคิดประชาธิปไตยตะวันตก ที่ให้คำนิยามใหญ่ที่ผิดในเรื่องของประชาธิปไตยโดย “ระบบประชาธิปไตย ต้องเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนโดยประชาชนและเพื่อประชาชน”
แต่เกิดความผิดพลาดที่สำคัญ
(๑) เน้นแต่รูปแบบ ที่เน้นการเลือกตั้งฯ ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเนื้อหาคือ ผลที่ออกมา ไม่เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศของตน
(๒) ไม่เคารพ “อำนาจอธิปไตยของแต่ละประเทศ” แต่เอาความคิด (และผลประโยชน์ของตนและพวกพ้องไปกำหนด) ว่า ประเทศนั้น เป็นประชาธิปไตย หรือเผด็จการ หรือ ฯลฯ และผู้นำสังคม การเมือง นักวิชาการฯไทย ยอมรับ และนำความคิดเช่นนี้มากำหนดสังคมไทยโดยไม่มีการแสวงหาความเป็นจริงของสังคมไทยและการประยุกต์ “ความคิดประชาธิปไตย” ให้สอดคล้องกับสังคมไทยโดยไม่เคยสรุปบทเรียน ว่า“ผลของการใช้แนวคิดอคติประชาธิปไตยของตะวันตก”ในสังคมไทย เกิดผลดีหรือผลเสียอย่างไร ทำไม ประเทศไทยจึงตกอยู่ในวงจรอุบาทว์ ที่ไม่มีทางออกและไม่สามารถนำประเทศไปสู่ประชาธิปไตยที่แท้จริงคือ ผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศเป็นใหญ่ได้
อีกทั้ง ประเทศตะวันตก ใช้อำนาจเข้าแทรกแซงทางการเมือง การทหาร เศรษฐกิจและสังคมต่อประเทศ ที่ไม่ดำเนินตาม “อคติประชาธิปไตยของตะวันตก” อันเป็นเหตุปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่ง ที่ทำให้ผู้นำของสังคมนั้น จำต้องยอมตาม มหาอำนาจทางตะวันตก
“ความคิดอคติที่ครอบงำสังคมไทย”
๑.ประชาธิปไตย คือ การเลือกตั้งจากประชาชน
(๑) ที่ไม่สนใจว่า การเลือกตั้ง จะสุจริตเที่ยงธรรมหรือไม่อย่างไร? ผลของการเลือกตั้ง จะนำไปสู่ประชาธิปไตยที่แท้จริงได้หรือไม่ ประชาชนและประเทศจะได้รับผลดีหรือเกิดความเสียหายหรือไม่ จะมีการพัฒนาคุณภาพของประชาชนได้ดีขึ้นหรือไม่
(๒) ระบบการเลือกตั้ง เอื้ออำนวยให้กับประชาชน ที่ต้องการประชาธิปไตยที่แท้จริงหรือไม่?
(๓) ประชาชนจะมีคุณภาพ ที่ตัดสินใจเลือกตัวแทนได้อย่างถูกต้องไหม?
(๔) ผู้ควบคุมกติกาการเลือกตั้ง (กกต.)จะปฏิบัติตามกฎกติกาที่กำหนดไว้ได้จริงหรือไม่
(๕) พรรคการเมือง นักการเมือง ที่ปฏิบัติผิดใหญ่ ทั้งการซื้อเสียง ใช้อำนาจรัฐ สื่อ นักวิชาการมวลชน เพื่อให้ชนะการเลือกตั้ง ไม่ถูกลงโทษ แต่กลับเดินลอยหน้าลอยตาเข้าเป็น สส. สว.
๒.การเข้าสู่อำนาจรัฐ การใช้อำนาจรัฐการตรวจสอบอำนาจรัฐ ทำได้ถูกต้อง จริงจังหรือไม่
(๑) การเข้าสู่อำนาจรัฐ ถูกต้องตามหลักประชาธิปไตยหรือไม่
(๒) การใช้อำนาจรัฐ เป็นไปตามกติกา กฎหมายกระบวนการยุติธรรม ไหมเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน และบ้านเมืองไหม
(๓) การตรวจสอบอำนาจรัฐ ถูกต้องเป็นจริงหรือไม่นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สส. ที่ฉ้อฉล โกงกิน ใช้อำนาจไม่ถูกต้องเป็นธรรมแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมฯ ไม่มีธรรมาภิบาล ถูกลงโทษตามกระบวนการยุติธรรมหรือไม่
๓.รัฐบาลที่มิชอบธรรม ทำผิดใหญ่โกงกินบ้านเมือง ใช้อำนาจรัฐเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง ครอบครัวพวกพ้องฯและไม่ยอมรับ กระบวนการยุติธรรมทำเพียงเพื่อให้อยู่ในอำนาจต่อไป พฤติกรรมเช่นนี้ คือ ประชาธิปไตย หรือหากประชาชนไม่ยินยอม ออกมาเดินขบวนขับไล่ออกไป หรือเมื่อไม่มีทางอื่น กองทัพออกมาทำรัฐประหาร โดยที่ประชาชนสนับสนุนจะถือว่า เป็นการกระทำที่ผิดหรือไม่หรือควรจะทำอย่างไร
l ตัวอย่างที่นักวิชาการที่ดีบางท่านใช้หลักการประชาธิปไตยตะวันตกมากำหนดพรรคการเมืองไทย โดยใช้รูปแบบ มากำหนดเนื้อหา ทำให้ไม่เห็นความเป็นจริงของพรรคนั้น เช่น
๑.พรรคการเมือง ๑ ที่ถูกยุบพรรค ฯลฯ เป็นพรรคประชาธิปไตย (ไม่ใช่ ฯลฯ)
๒.พรรคการเมือง ๑ ที่เคยเป็นรัฐบาล ฯลฯเป็นพรรคกึ่งทุนกึ่งอนุรักษ์นิยม (ไม่บอกถึงความจริง ว่าใช้อำนาจมิชอบ ฯลฯ)
โดยทำให้ชาวบ้านเกิดความเข้าใจสับสนไม่เห็นความจริงทั้งสองพรรค มิใช่พรรคประชาธิปไตย สำหรับการนำสังคมไทยไปสู่ประชาธิปไตยที่แท้จริง เพราะมิได้เคารพกติกาหลักของสังคม และรัฐธรรมนูญที่กำหนดว่า “ประเทศไทยปกครองแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”
(๑) พรรค ๑ มีอคติต่อสถาบันหลักของสังคมไทย มีพฤติกรรม ที่หมิ่นเหม่ จาบจ้วง และสร้างความเข้าใจผิดในหมู่ประชาชน โดยเฉพาะเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่ขาดประสบการณ์บางส่วน
(๒) พรรค ๑ ใช้อำนาจทุน อำนาจรัฐ มวลชน นักวิชาการ สื่อฯ ในการเข้าสู่อำนาจรัฐและใช้อำนาจรัฐโดยมิชอบ เพื่อผลประโยชน์ของตน ครอบครัวพวกพ้องของตน รวมทั้งการไม่เคารพและแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมมาตลอด
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี