กลายเป็นประเด็นร้อนฉ่าสวนกระแสสถานการณ์สังคมไทยอย่างไร้ความรับผิดชอบ ต่อถ้อยแถลงนโยบายของ “ครม.สืบสันดาน” ภายใต้การบริหารของ “มาดามแพ, อุ๊งอิ๊งค์ /- แพทองธารชินวัตร” นายกรัฐมนตรีสืบสันดาน, ดีเอ็นเอ “นักโทษเด็ดขาดชายคดีทุจริตคอร์รัปชั่นโกงบ้านกินเมือง ฉ้อฉลเงินแผ่นดิน /- ทักษิณ ชินวัตร” เจ้าของฉายาอุปโลกน์ “อัศวินคลื่นลูกที่สาม/-ผู้มีตาดูดาวเท้าติดดิน”
“พรรคเพื่อไทย”เคลื่อนไหวเร่งด่วนด้วยอารมณ์กระวนกระวายใจ กลัวก่อความผิดพลาดโดยไม่ยั้งคิดกลัวประวัติศาสตร์ซ้ำรอยทำ“มาดามแพ” กระเด็นตกเก้าอี้จากพฤติกรรมในอดีตที่ถูกร้องเรียนตรวจสอบตาม “กรรม ซึ่งเป็นเครื่องชี้เจตนา”
เฉกเช่นกรณี “เจ้ายักษ์ /- เศรษฐา ทวีสิน”นายกรัฐมนตรี/นักกู้ผ้าขาวม้าพันคอ “ถูกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 5 : 4” วินิจฉัยข้อร้องเรียนของ 40 สมาชิกวุฒิสภา ต่อกรณีฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมร้ายแรง กรณีกราบบังคมทูลโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง “ทนายถุงขนม/- พิชิต ชื่นบาน” เป็นรัฐมนตรีในการปรับครม.เมื่อต้นปี 2567
เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา โดยเฉพาะมาตราและหมวดที่เกี่ยวเนื่องกับผลประโยชน์ของกลุ่มพวกพ้องและตนเอง แทนที่จะเร่งรีบสุมหัวหาแนวทางหรือวางมาตรการเร่งรีบช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ประสบเคราะห์กรรมอย่างแสนสาหัสจากภัยพิบัติ, อุทกภัยน้ำท่วม ทั้งพื้นที่ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภาคกลาง, ภาคตะวันออกและภาคใต้
เป็นพฤติกรรมที่เชื่อมโยงกับคำถามที่ถามว่า “รัฐบาลตระหนัก/สำเหนียกความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน” อย่างที่บัญญัติไว้ในคำแถลงนโยบายว่า “รัฐบาลสืบสันดานมั่นใจเป็น “รัฐบาลแห่งความหวัง โอกาส และความเสมอภาคทางเศรษฐกิจและสังคม”
เดินหน้าพลิกฟื้นประเทศ ผลักดันประโยชน์วันนี้ เพื่ออนาคตของประชาชนทุกคน มีกิน มีใช้ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี อย่างนั้น...ด้วยความบริสุทธิ์ใจ มุ่งมั่น ยั่งยืนจริงหรือ
ทว่าในเวลาที่น้ำตาที่หลั่งรินยังไม่ทันเหือดหายของพี่น้องประชาชนจากอุทกภัย “หน่วยงานรัฐบาล” ที่อ้างบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญทำให้เสียเวลาไปกับการปฏิบัติภารกิจเพื่อพี่น้องประชาชนอย่างไม่ละอายแก่ใจ ทั้งที่สามารถมอบหมายให้ “คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ หรือ กภป.ช.” ที่จัดตั้งขึ้นตาม “พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2558” กฎหมายที่ออกในยุคที่ “พรรคเพื่อไทย” เป็นแกนนำพรรคฝ่ายค้าน น่าจะมีส่วนร่วมเต็มที่ในการตรากฎหมายฉบับนี้
วัตถุประสงค์ เพื่อให้มีกลไกด้านการจัดการสาธารณภัยระดับภูมิภาคที่มีประสิทธิภาพ สามารถลดความสูญเสีย จากสาธารณภัยที่ส่งผลกระทบต่อชีวิต เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศสมาชิกอาเซียน ...
แทนที่รัฐบาลจะนำบทบัญญัติตามก.ม.ที่มีอยู่ก่อให้เกิดประโยชน์ตามวัตถุประสงค์เพื่อพี่น้องประชาชน ทั้งในแง่ของงบประมาณ /เงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินกว่า 22,000 ครัวเรือนใน 5 จังหวัดซึ่งเป็นอำนาจที่บัญญัติไว้ในวรรคสอง มาตรา 162 อย่างชัดเจน
ที่สำคัญสาระ “แก้ไขรัฐธรรมนูญพ.ศ.2560” รายมาตรา เน้นหนักในเรื่องคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี
โดยในมาตรา 160 (4) ที่บัญญัติว่ามีความซื่อสัตย์เป็นที่ประจักษ์ กลับแก้ไขเป็น “ไม่มีพฤติกรรมหรือการกระทำที่ประจักษ์ว่า ไม่มีความซื่อสัตย์สุจริต”
นี่คือความจริงใจเป็นที่ประจักษ์ หรือเป็นการกระทำที่ประจักษ์ว่า ไม่มีความซื่อสัตย์สุจริต
จริยธรรมก็ไม่เคยสำเหนียก สันดานสามานย์ไม่เปลี่ยนแปลง
สังคมไทยไม่ได้กินหญ้า จึงมีคำถามว่ามีรัฐบาลและนักการเมืองเลือกตั้งไว้ทำไม
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี