ตอนแรกที่เห็นข่าวในโซเซียลมีเดียว่า...ผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไม่อนุญาตให้ใช้คณะรัฐศาสตร์เป็นสถานที่จัดงานเสวนาทางวิชาการเรื่อง “ความมั่นคงภายใน : อำนาจของทหาร ภารกิจของประชาชน” จนต้องย้ายไปจัดที่หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน แทน...ผมก็นึกว่าเป็น Fake News หรือข่าวปลอมเพื่อต้องการดิสเครดิตกองทัพ ภายหลังตรวจสอบข้อมูลจนแน่ชัด ก็ยิ่งทำให้แปลกใจ เพราะไม่คิดว่าในศตวรรษที่ ٢١ นี้ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยชั้นนำของไทยยังคงมีความคิดที่ไม่ต่างจากผู้บริหารวิทยาลัยอเมริกันในสมัยอาณานิคม เมื่อสี่ร้อยกว่าปีก่อน
ในศตวรรษที่ 19 มหาวิทยาลัยเยอรมันถือเป็นต้นแบบให้กับมหาวิทยาลัยในประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะที่สหรัฐอเมริกา เวลานั้นมีนักศึกษาอเมริกันจำนวนมากเดินทางไปยังศูนย์กลางการศึกษาใหม่ของโลกที่เยอรมัน เช่น มหาวิทยาลัยเบอร์ลินและไลป์ซิก จุดเด่นสำคัญที่ทำให้มหาวิทยาลัยเยอรมันเป็นผู้นำทางด้านปัญญาในศตวรรษที่ 19 ก็คือ แนวคิดที่ว่า.....มหาวิทยาลัยที่แท้จริงต้องรักษาไว้ซึ่ง“เสรีภาพทางวิชาการ” อันประกอบด้วยเสรีภาพของการสอนและเสรีภาพของการเรียน
คำว่า เสรีภาพทางการเรียน นั้นนักวิชาการเยอรมันหมายความถึงการที่นักศึกษาของมหาวิทยาลัยสามารถเลือกเรียนวิชาใด เมื่อไร ที่ไหนก็ได้ตามใจชอบ โดยไม่ต้องเข้าชั้นเรียนหรือสอบ นอกจากการสอบเพื่อรับใบปริญญาบัตรในขั้นสุดท้าย
ส่วน เสรีภาพในทางการสอน หมายถึงเสรีภาพของอาจารย์มหาวิทยาลัยเยอรมันที่จะค้นคว้าวิจัยปัญหาต่างๆ ตลอดจนเผยแพร่ผลงานข้อค้นพบนั้น โดยการสอนหรือสิ่งตีพิมพ์ไม่ว่าผลงานนั้นจะเป็นอะไรก็ตาม
เดิมทีช่วงศตวรรษที่ ١٧ ออกซฟอร์ดกับเคมบริดจ์จะเป็นแบบอย่างแรกเริ่มให้กับมหาวิทยาลัยอเมริกันสมัยที่ยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษอยู่ เช่น เนื้อหาในพระราชบัญญัติฉบับแรกของวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (ชื่อสมัยนั้น) ก็ได้มาจากพระราชบัญญัติของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในใบปริญญาบัตรฉบับแรกของฮาร์วาร์ดก็มีข้อความที่ว่า “ตามธรรมเนียมของมหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษ”
วิทยาลัยอเมริกันในสมัยอาณานิคมนั้นยังไม่มีสิ่งที่เรียกว่าเสรีภาพทางวิชาการเลย เพราะเหตุผลสำคัญที่สุดในการตั้งวิทยาลัยสมัยอาณานิคมก็คือ ความต้องการของคริสต์ศาสนานิกายสำคัญๆ ที่ต้องการจะมีพระที่รู้หนังสือ และได้รับการฝึกฝนจากวิทยาลัยซึ่งชาวอังกฤษในศตวรรษที่ ١٧
เห็นว่าเป็นศูนย์กลางของการถ่ายทอดการเรียนรู้และวัฒนธรรมทางปัญญา
ทั้งฮาร์วาร์ด (ก่อตั้ง ١٦٣٦) หรือเยล (١٧٠١) เมื่อครั้งยังเป็นวิทยาลัยสมัยอาณานิคมต่างกำหนดให้ลัทธิทางศาสนาเป็นกฎเกณฑ์ที่ใช้ในวิทยาลัย การบรรยายของเหล่าคณาจารย์ก็ต้องให้ถูกตามลัทธิศาสนา แม้กระทั่งตัวอธิการบดียังต้องเป็นพระที่กลุ่มศาสนานิกายที่เขาสังกัดอยู่ได้พิจารณาเห็นแล้ว ว่าเป็นผู้ที่มีความคิดความเชื่ออันถูกต้องกับนิกายนั้นๆ และถ้าผู้ที่ได้รับเลือกให้เป็นอธิการบดีในสถาบันดังกล่าวไม่ได้เป็นพระ ก็จะต้องบวชเป็นพระก่อนที่จะรับตำแหน่ง เช่น ในปี ١٨٤٦ เมื่อ Theodore D. Woolsey ศาสตราจารย์ด้านภาษากรีก ได้รับเลือกให้เป็นอธิการบดีที่ Yale คณะกรรมการของมหาวิทยาลัยได้กำหนดให้ศาสตราจารย์วูลสีย์ต้องบวชเป็นพระในคริสต์ศาสนานิกาย Congregation ก่อนที่จะเข้ารับตำแหน่ง
สมัยนั้น นักศึกษาเยลกลุ่มหนึ่งเคยร่วมกันลงชื่อเพื่อขออนุญาตพิมพ์หนังสือเรื่อง “Essay on Toleration” หรือ “ความเรียงว่าด้วยขันติธรรม” ของจอห์น ล็อค (John Locke : ١٦٣٢-١٧٠٤) นักปรัชญาแนวเสรีนิยมชาวอังกฤษ แต่กลับถูกอธิการบดี โทมัส แคลป (Thomas Clapp)
ตำหนิและให้ทำการสารภาพผิดต่อสาธารณชน มิฉะนั้นแล้วจะลงโทษโดยไม่ให้รับปริญญาบัตร หนังสือเล่มนี้ของล็อคเขียนถึงเรื่องความอดกลั้นต่อความแตกต่างทางศาสนา มีอิทธิพลมากต่อ เอริลล์แห่งแชฟต์เบอรี่ (Earl of Shaftesbury) ผู้นำพรรค Whig ที่คัดค้านการขึ้น
ครองราชย์ของกษัตริย์ Charles II จนถูกข้อหาว่าเป็นกบฏและต้องลี้ภัยไปอยู่ฮอลแลนด์ ส่วนล็อคในฐานะที่ปรึกษาทางการเมืองของท่านเอริลล์ ก็ถูกปลดจากการเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดและลี้ภัยไปยังดินแดนดอกทิวลิปเช่นกัน
ในศตวรรษที่ ١٨ เมื่ออิทธิพลของคริสต์ศาสนาได้คลายตัวลง เพราะต้องหลีกทางให้แก่การเมือง อำนาจการควบคุมเสรีภาพทางวิชาการในอเมริกาจึงได้ย้ายจากวัดมาเป็นของรัฐ เช่น ในรัฐทางใต้ ประเด็นเรื่องทาสเป็นเรื่องต้องห้ามที่ไม่สามารถพูดถึงได้อย่างเสรีภายในวิทยาลัยทางรัฐตอนใต้ของสหรัฐ นอกจากนั้น ชาวมลรัฐทางใต้ยังได้ใช้ประเด็นเรื่องทาส รณรงค์ให้นักศึกษาชาวใต้ลาออกจากมหาวิทยาลัยทางเหนือ และไม่ให้ใช้ตำราของรัฐทางเหนือ เช่น อธิการบดี วิทยาลัยดาร์ตมัธ (Dartmouth college) ในรัฐนิวแฮมป์เชียร์ที่อยู่ทางตอนเหนือของสหรัฐ ต้องลาออกเพราะว่าเขาไปมีความคิดเหมือนคนทางใต้ว่า...ทาสเป็นพระบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้า....
อิทธิพลของเยอรมันที่มีต่อการอุดมศึกษาของอเมริกาเริ่มขึ้น เมื่อมีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเยอรมันที่สำคัญสามแห่งคือ Halle (1694), Gottingen (1734) และ Berlin (١٨10) การก่อตั้งมหาวิทยาลัยทั้งสามนี้ถือเป็นการสร้างเอกลักษณ์พิเศษให้กับมหาวิทยาลัยเยอรมัน โดยเฉพาะในการสถาปนามหาวิทยาลัยเบอร์ลินที่มีการระดมนักปราชญ์ ราชบัณฑิตต่างๆ มาประชุมกันเพื่อวางหลักการใหม่ในการตั้งมหาวิทยาลัย
จากรูปแบบเดิมที่มหาวิทยาลัยสืบทอดมาตั้งแต่สมัยกลาง ที่ใช้ลัทธิทางศาสนาเป็นกฎเกณฑ์และสอนแต่เทววิทยาเป็นหลัก มหาวิทยาลัยสมัยใหม่นั้นจะต้องเป็นแหล่งรวมสรรพวิทยาการและผลิตความรู้ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ด้วยการใช้รูปแบบการเรียนการสอนควบคู่กับการวิจัย หรือจากการมุ่งเน้นทางด้านการสอนไปสู่การเรียนรู้ทางวิชาการผ่านทางงานวิจัยด้วยตนเอง
ในปี ١٨٠٩ หนึ่งปี ก่อนที่จะมีการสถาปนามหาวิทยาลัยเบอร์ลิน ได้มีการระดมสมองของบรรดานักปราชญ์ ราชบัณฑิต นักวิชาการทั่วทุกสารทิศเพื่อมาประชุมร่วมกัน เพื่อหาข้อสรุปทิศทางการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยว่าจะวางเข็มผลิตบัณฑิตเพื่อให้มีความรู้รอบด้าน (generalization) หรือเน้นให้มีความรู้เฉพาะทาง (specialization) ในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง ที่ประชุมได้ข้อสรุปจากข้อเสนอของ Alexander von Humboldt หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งมหาวิทยาลัยเสนอว่า การผลิตกำลังคนที่มีความรู้เฉพาะทางเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่เพื่อไม่ให้มนุษย์หลงยึดไปกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจนมากเกินไป
ดังนั้นนักศึกษาทุกคนคณะในมหาวิทยาลัยเบอร์ลินจะต้องเรียนวิชาทางด้านมนุษยศาสตร์ด้วย เช่น ปรัชญา วรรณกรรม วรรณคดี หรือสุนทรียศาสตร์ เพื่อคอยกำกับไม่ให้มนุษย์เตลิดไปกับโลกทางวัตถุ จนลืมคุณค่าของความเป็นมนุษย์ไป
การแตกตัวขององค์ความรู้ในศตวรรษที่ ١٩ เป็นผลมาจากการที่โลกเริ่มมีวิวัฒนาการที่สลับซับซ้อนขึ้นอันเป็นผลพวงมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมตั้งแต่ในศตวรรษที่ ١٨ และตามมาด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความรู้จึงได้เกิดเพิ่มพูนขึ้นอย่างมากมาย และได้ถูกแบ่งออกเป็นสาขาวิชา (discipline) ต่างๆ มากมายจนนับไม่ถ้วน
ในเวลานั้น มหาวิทยาลัยเบอร์ลินกลายเป็นแม่แบบของมหาวิทยาลัยแห่งการวิจัยที่เข้มข้น เป็นแรงบันดาลใจให้นาย Johns Hopkins นักธุรกิจมหาเศรษฐีชาวอเมริกันบริจาคเงินก้อนโตเพื่อนำไปสร้างมหาวิทยาลัยจอห์นส์ ฮอปกิ้นส์ในปี ١٨٧٦ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในสหรัฐที่ใช้รูปแบบการจัดการศึกษาที่เน้นการวิจัยแบบเยอรมัน ไม่เพียงเท่านี้การก่อกำเนิดมหาวิทยาลับเบอร์ลินยังมีอิทธิพลต่อมหาวิทยาลัยเก่าแก่รุ่นแรกๆ ในโลกตะวันตก อย่างเช่น มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด(ก่อตั้งเมื่อปี ١٠٦٩) มหาวิทยาลัยปารีส (١١٥٠) มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (١٢٠٩) มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (١٦٣٦) ที่ล้วนต้องปรับตัวตามไปด้วย
มหาวิทยาลัยเบอร์ลินมีผลทำให้มหาวิทยาลัยเยอรมันเก่าๆ มีความสำคัญขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งไม่ว่าจะเป็น Heidelberg (1305) หรือ Leipzig (1409) และยังทำให้มีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยใหม่ๆ ขึ้นอีกหลายแห่ง เช่น Breslau (1811), Bonn (1818) และ Munich (182٦)
ผลจากการปฏิรูปการอุดมศึกษาของเยอรมันดังกล่าวทำให้มหาวิทยาลัยเยอรมันมีชื่อเสียงไปทั่วโลกในแง่ของความสำเร็จในการเชื่อมโยงกันระหว่างการสอนและการวิจัย ประมาณกันว่าช่วงปี 1880-1889 มีชาวอเมริกันมากกว่าสองพันคนศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยเยอรมันซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาระดับปริญญาเอก ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยของอเมริกาพึ่งจะเริ่มมีการเรียนการสอนในระดับปริญญาเอกอย่างจริงจังเมื่อประมาณทศวรรษที่ ١٩٢٠ นี้เอง
ในปี 1914 ปีที่เกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง มีนักศึกษาอเมริกันมากกว่าหมื่นคนที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างๆในเยอรมัน จากจำนวนนี้ครึ่งหนึ่งเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยเบอร์ลิน และส่วนที่เหลือเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยไลป์ซิก, ไฮเดลเบอร์ก, ฮอลเล, บอนน์, มิวนิค และเกิททิงเง่น
ในบทความเรื่อง “Gottingen’s American Students” ที่ลงใน American-German Review ฉบับเดือนมิถุนายน ١٩٣٧ ระบุว่า นาย Benjamin Smith Barton คือชาวอเมริกันคนแรกที่ได้รับปริญญาจากมหาวิทยาลัยเยอรมัน นั้นคือ ปริญญาเอกสาขาแพทยศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเกิททิงเง่น ในปี ١٧٨٧ หลังจากนั้น ศาสตราจารย์บาร์ตันก็กลับมาสอนที่มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ประเทศสหรัฐ
ในปี ١٩٤٩ มหาวิทยาลัยเบอร์ลินได้เปลี่ยนชื่อเป็น มหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งกรุงเบอร์ลิน เพื่อเป็นเกียรติแก่สองพี่น้องตระกูลฮุมโบลท์ที่เป็นผู้ร่วมก่อตั้งมหาวิทยาลัย คือ Wilhelm และ Alexander von Humboldt พี่น้องฮุมโบลท์คู่นี้เป็นปัญญาชนที่มีความรู้กว้างขวางในหลายสาขาวิชา Alexander ผู้น้องนั้นเป็นทั้งนักภูมิศาสตร์ นักสำรวจ นักธรรมชาติวิทยา นักวิทยาศาสตร์และนักปรัชญาสกุลแนวคิดโรแมนติกส่วน Wilhelm ผู้พี่ก็เป็นทั้งนักปรัชญา นักภาษาศาสตร์ นักการทูตและนักการศึกษา
หลักการเรื่อง “เสรีภาพทางวิชาการ” อันเป็นปรัชญาการศึกษาของเยอรมันนั้นยังเป็นหลักการสำคัญที่ถูกเขียนลงไปในรัฐธรรมนูญเยอรมัน (มาตรา ٥ วรรคสาม) และบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งเยอรมันในเรื่อง “เสรีภาพทางวิชาการ” ได้เป็นตัวอย่างให้กับอีกหลายๆ ประเทศ รวมทั้งรัฐธรรมนูญของไทยด้วย ดังที่เขียนไว้ในบทความสัปดาห์ที่แล้ว
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี