คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนและเกษตรกรในจังหวัดชุมพรและระนอง ขอให้ตรวจสอบกรณีโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามันหรือโครงการแลนด์บริดจ์ ซึ่งประกอบไปด้วย ท่าเรือ เส้นทางรถไฟทางคู่ และทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (motorway) ขาดการมีส่วนร่วม และจะส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่ เมื่อวันที่ 29 - 31 พฤษภาคม 2567 ทั้งนี้จากการเปิดเผยของนางสาวศยามล ไกยูรวงศ์ กสม. ระบุในบางช่วงบางตอนว่า
กสม.จึงได้จัดเวทีสาธารณะเพื่อรับฟังข้อเท็จจริงและความคิดเห็นของส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม รวมถึงประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบจากโครงการในพื้นที่ รวมทั้งได้ประมวลรายงานการศึกษาที่เกี่ยวข้องและความเห็นของนักวิชาการ และได้รับทราบข้อเท็จจริงรวมทั้งข้อห่วงกังวลหลายประการ
สรุปได้ดังนี้ (1) กระบวนการชี้แจงข้อมูลและรับฟังความคิดเห็น รวมถึงการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) มีประเด็นว่าสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง จัดการประชุมชี้แจงข้อมูลและรับฟังความคิดเห็นแยกเป็นรายโครงการเฉพาะในส่วนที่หน่วยงานของตนรับผิดชอบ ทำให้ประชาชนไม่ได้รับข้อมูลในภาพรวม นอกจากนี้การชี้แจงข้อมูลยังไม่ชัดเจน ไม่ลงลึกในรายละเอียด และยังไม่มีข้อมูลของโครงการอื่นที่เกี่ยวเนื่องอีกหลายส่วน เช่น ขอบเขตที่ชัดเจนของแนวถนนและทางรถไฟเชื่อมโยงท่าเรือฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทย ที่ตั้งนิคมอุตสาหกรรมและพื้นที่อุตสาหกรรมหลังท่า โรงไฟฟ้า เขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำ ซึ่งเป็นระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานของโครงการ
(2) โครงการแลนด์บริดจ์จะส่งกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ พันธุ์พืช สัตว์ป่า สัตว์น้ำสิ่งแวดล้อม แหล่งน้ำ และวิถีชีวิตดั้งเดิมของประชาชนในพื้นที่ อีกทั้งการก่อสร้างโครงการอาจก่อให้เกิดมลพิษ และการเคลื่อนย้ายแรงงานที่อาจก่อให้เกิดปัญหาโรคระบาดและอาชญากรรม รวมถึงส่งผลกระทบต่อการขนส่ง และการคมนาคม
(3) รายงานการศึกษาที่เกี่ยวข้องพบว่าโครงการแลนด์บริดจ์มีความไม่เหมาะสมเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับความคุ้มค่าและผลกระทบในมิติต่างๆ กล่าวคือ รายงานการศึกษาผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment : SEA) สำหรับการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ ของสนข. เมื่อปี 2559 สรุปว่า จังหวัดระนองมีความเหมาะสมเป็นพื้นที่อนุรักษ์ในระดับสูง มีพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศหรือแรมซาร์ไซต์ (Ramsar site) ขณะที่จังหวัดชุมพรมีศักยภาพในการพัฒนาด้านการเกษตรในระดับสูง และเป็นพื้นที่ที่มีระบบนิเวศและทรัพยากรธรรมชาติที่ค่อนข้างสมบูรณ์ มีคุณค่าในระดับภาค และระบุว่าสะพานเศรษฐกิจไม่สามารถย่นระยะทาง ไม่สามารถประหยัดค่าเชื้อเพลิงของเรือขนส่งสินค้า และเมื่อพิจารณาค่าธรรมเนียมที่จะสามารถเรียกเก็บได้จากการให้บริการขนส่งตู้สินค้าของสะพานเศรษฐกิจพบว่าไม่คุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและการบำรุงรักษา จึงควรชะลอการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจออกไปก่อน
(4) ความเห็นของนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญทางทะเลและเศรษฐศาสตร์ เห็นว่าที่ตั้งท่าเรือฝั่งอันดามัน อยู่ใกล้กับพื้นที่แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามันของศูนย์มรดกโลก เพื่อขอรับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก นอกจากนี้ ท่าเรือ เส้นทางเดินเรือ รวมถึงการขยายพื้นที่ชายฝั่งเพื่อรองรับระบบโลจิสติกส์และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ยังอาจกระทบต่อเขตอนุรักษ์ การไหลของกระแสน้ำในทะเล การเดินทางของธาตุอาหาร และการวางไข่ของปลาทะเลในพื้นที่ป่าชายเลนซึ่งเป็นแหล่งทำประมงหลักของกลุ่มประมงพื้นบ้าน
ถ้ารัฐบาลเดินหน้าต่อ ก็ควรจะทำตามข้อเสนอแนะของ สมท.ที่ได้ทำหนังสือแจงรัฐบาลไปตาม โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 มาตรา 33 ที่บัญญัติให้ กสม. ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นระบบ รวมทั้งเฝ้าระวังและติดตามเหตุการณ์หรือสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศอย่างต่อเนื่อง
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี