๑.ผู้ต้องการเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตยที่แท้จริง
(๑) นักอุดมคติที่แท้จริง เอาจริงแนวแน่ สู้เพื่อความถูกต้องชอบธรรม มีไม่มากนัก แต่ก็ยังคงมีอยู่ ที่ยังยืนหยัดทำตามหน้าที่ ตามอุดมคติของตนโดยเฉพาะในสังคมไทย มีผู้นำที่เป็นแบบอย่างที่โดดเด่นยิ่ง คือ ในหลวง ร.๙
(๒) ยังอ่อนแอ และไม่เข้มแข็งกว่ามาก เมื่อเทียบกับ ฝ่ายที่มีอำนาจรัฐ
(๓) บางส่วน เริ่มละทิ้งอุดมคติ กลับไปอยู่กับฝ่ายมีอำนาจทางการเมืองหรืออยู่เฉยๆ ตามปกติในสังคม goh
(๔) ยังคงเดินไปตามทางเก่า แนวทาง วิธีการเก่า ที่เป็นทางตัน มิใช่ทางออก
(๕) ขาดการสรุปบทเรียน หรืออาจจะกล่าวได้ว่า ไม่เห็นความสำคัญของการสรุปบทเรียน หรือถอดบทเรียนจากเหตุการณ์ประชาธิปไตยที่ผ่านไป
(๖) ไม่มีหรือ ไม่ได้รู้ “แนวทางใหม่” ที่จักได้ผลมากกว่า และมีโอกาสมากกว่า
(๗) ถูกขัดขวาง จากผู้มีอำนาจทางการเมืองนักการเมืองเลือกตั้งฯ และที่สำคัญที่เป็นไปทั่วโลก คือ การที่ประเทศไทย ถูกครอบงำด้วยแนวคิดประชาธิปไตยตะวันตก ที่ถือว่า “ประชาธิปไตย ต้องมาจากการเลือกตั้งเท่านั้น” โดยไม่สนว่า “เป็นการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์เที่ยงธรรม” หรือไม่ และได้นักการเมืองที่ดี มีคุณภาพ มีคุณธรรม เข้ามาสู้อำนาจรัฐหรือไม่ รวมทั้งการเสนอตรรกะว่า “ยอมทนกับการเลือกตั้งแบบเก่าไปอีกระยะหนึ่ง” และต่อไป เมื่อประชาชนมีบทเรียน มีสำนึก ก็จะได้ประชาธิปไตยของประชาชนมา
๒.ฝ่ายที่มีอำนาจรัฐ ต้องการปกป้องรักษาอำนาจ และขยายอำนาจเพิ่มขึ้น
(๑) ยังคงเข้มแข็งกว่า มีอำนาจรัฐ ทุน กลไกการเมืองและข้าราชการ มวลชน นักวิชาการ สื่อฯ ที่ครอบงำสังคมอยู่กลไกและเครื่องมือ ของฝ่ายมีอำนาจเข้มแข็งกว่ามาก และมีความได้เปรียบสูงกว่าฯ
(๒) ใช้แนวทางใหม่ ที่เพิ่มอำนาจของตนเอง และลดอำนาจของประชาชนโดยจะเห็นได้ว่า : ยิ่งเวลาผ่านไป “นักการเมืองและกลุ่มทุนการเมือง “มีอำนาจมากขึ้นขณะที่ประชาชน อ่อนแอลง และยิ่งต้องการพึ่งพากลุ่มทุนการเมืองมากขึ้น
(๓) ใช้นโยบาย แจกเงินซื้อเสียง เป็นลักษณะเอาปลาไปแจก ไม่สอนให้ตกเบ็ดเพื่อให้อ่อนแอ พึ่งตนเองไม่ได้ ต้องพึ่งพานักการเมืองไปตลอด
(๔) ยังคงรักษาปกป้อง “โครงสร้างและระบบการเมืองเศรษฐกิจที่เหลื่อมล้ำไม่เป็นธรรม” ไม่ยอมปฏิบัติ แก้ไขปรับปรุงโครงสร้างและระบบฯให้เป็นธรรมเสมอภาค เพราะ “ฝ่ายทุนการเมือง” ยังคงสามารถรักษาความเอาเปรียบประชาชน และโกงกินงบประมาณของประเทศ ได้อีกต่อไป
๓.ประเด็นร่วมของทั้งสองฝ่าย คือ ยังสามารถอยู่ร่วมกันต่อไปได้ จนกว่า
(๑) จะมีสถานการณ์ใหม่ ที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง พาไปสู่ทางสุดโต่งของสังคม โดยผู้นำขวาจัดหรือซ้ายจัดนำไปสู่ ภาวะวิกฤต หรือระยะเปลี่ยนจุดแตกหัก ที่ยอมความกันไม่ได้ฯ
(๒) ภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจใหญ่หลวง ที่ทำให้สังคมต้องหาทางออกให้ได้จึงจะรอดพ้นรวมทั้งสถานการณ์ทางสากล ที่เปลี่ยนแปลงโลก ภูมิภาค ที่กระทบใหญ่ต่อสังคมไทย
๑.อุดมคติ (ideal) เป็นหลักการหรือคุณค่า (value) ที่บุคคลมุ่งแสวงเป็นเป้าหมาย ซึ่งปกติในบริบทจริยธรรม อุดมคติมีความสำคัญเป็นพิเศษในจริยธรรม เพราะลำดับที่บุคคลจัดอุดมคติมักตัดสินว่าบุคคลแสดงออกซึ่งอุดมคตินั้นอย่างจริงใจมากน้อยเพียงใด อุดมคติเป็นการใช้สิ่งสากล (universal) ในทางจริยธรรม ค่อนข้างคล้ายกับค่าในตัวสัมพัทธ์ (relative intrinsic value)
๒.บางคนที่อ้างว่ามีอุดมคติความซื่อสัตย์ แต่ยินดีโกหกเพื่อปกป้องสหาย กำลังแสดงว่าเขามิได้ถือมิตรภาพ (ความเชื่อร่วมกันของคนกลุ่มหนึ่งต่อเหตุการณ์หนึ่งๆ) ฯลฯ เป็นอุดมคติหนึ่งเท่านั้น แต่ยังเป็นอุดมคติที่สำคัญยิ่งกว่าความซื่อสัตย์ (ความจริง) ฯลฯ
ฉะนั้น จึงมองว่าอุดมคติคล้ายกับคุณค่าได้
จากการตีความหรือเข้าใจในแง่มุมเช่นนี้ เราสามารถเข้าใจต่อ “ความคิด” ของบุคคล หรือ คนกลุ่มหนึ่งที่คิดร่วมและเชื่อร่วมกันกันและถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด ทั้งต่อ
๑.ต่อตนเอง
๒.ต่อผู้อื่น
๓.บ้านเมือง
๔.หลักคิดในการใช้ชีวิต
๑.การจัดงานรำลึกวันครบรอบเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์
๒.ความคิดและท่าที่ต่อ เพื่อนมิตร ที่มีความคิดต่าง เปลี่ยนไปมากในบางคน บางกลุ่ม
๓.การมองและการทำเข้าใจ เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา
๔.การสรุปบทเรียน หรือ หนังสือเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ หรือต่อบางสถาบัน
๕.แนวคิดและกระทำของคนบางคน บางกลุ่ม ต่อการทำผิดต่อกฎหมาย และรัฐธรรมนูญของประเทศ
๖.ผลที่เกิดขึ้น จากความคิดที่ถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด เกิดเสียหายต่อตนเอง เพื่อนมิตรและองค์กรของตนฯ
(๑) การจัดงานรำลึกประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยของไทย ที่จัดได้ดี เป็นแบบอย่าง เช่น ทุกวันที่ ๒๔ มิถุนายน ของคณะราษฎร จัดที่วัดพระศรีมหาธาตุบางเขน งานรำลึกเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ณ มูลนิธิ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ฯลฯ มีพิธีทางศาสนามีตัวแทนของรัฐบาล ท้องถิ่น พรรคการเมือง องค์กรภาคส่วนที่เกี่ยวข้องฯ เข้าร่วมมีการจัดปาฐกถาประจำปี เพื่อรำลึกถึงผู้เสียสละ และการนำเสนอทางออกของสังคมไทยฯ
(๒) บางองค์กรฯ จัดงานรำลึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ไทย บางเหตุการณ์ ทำผิดพลาด เอาความคิดทางการเมืองของตน ต่อฝ่ายต่างๆ มาโฆษณาปลุกเร้ามวลชนโดยไม่ได้เสนอความเป็นจริงของเหตุการณ์ในภาพรวม หรือนำเสนอด้านเดียวที่ไม่ครบถ้วน สร้างความรู้สึกเกลียดชัง และขยายความขัดแย้งของสังคมฯแทน การรำลึกถึง “เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ และผู้เสียสละที่จากไป ฯลฯ”
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี