l ผู้นำและประชาชนไทย จักไม่สามารถนำพาชาติบ้านเมืองไปสู้ประชาธิปไตยของประชาชนไทยได้เลยหากเราไม่มีคุณธรรม ความกล้าหาญ ที่จะศึกษาทำความเข้าใจและยอมรับความจริงของเหตุการณ์ได้
หนึ่ง ความเป็นจริงที่ปรากฏในสังคมไทยที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน อาจจะกล่าวได้ว่า :- ไม่มีใคร ฝ่ายใด ที่จะได้รับรู้ความจริงทั้งหมดของเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ และ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙
1.ผู้นำและประชาชน ที่อยู่ร่วมในเหตุการณ์ทั้งสอง
๑.ผู้นำนักศึกษาประชาชน ที่อยู่ร่วมในเหตุการณ์ทั้งสอง แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน
(๑) ส่วนที่เป็นฝ่ายนำ
(๒) ส่วนที่ร่วมชุมนุมในเหตุการณ์
๒.ผู้นำที่เป็นฝ่ายนำ ยังแบ่งเป็น ๓ ส่วน
(๑) ฝ่ายศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.)
(๒) ฝ่ายองค์กรอิสระ ที่รวมศูนย์อยู่ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นส่วนใหญ่
(๓) ฝ่ายที่มีเงื่อนไขและโอกาสได้ร่วมในบางเหตุการณ์กับทั้งสองฝ่ายข้างต้น
๓.ผู้นำนักศึกษาประชาชนที่อยู่ร่วมในเหตุการณ์ ยังแบ่งเป็น ๓ ส่วน
(๑) ฝ่ายที่อยู่ร่วม ตั้งแต่ต้น จนถึงร่วมแก้ไขปัญหาสถานการณ์กับทางรัฐบาลจนจบ
(๒) ฝ่ายที่อยู่ในเหตุการณ์ ในช่วงเริ่มต้น จนมาถึงจุดเกิดเหตุการณ์ ช่วงเช้าตรู่วันที่ ๑๔ ตุลา ๒๕๑๖ ที่เรียกกันว่า “จุดการปะทะกันของฝ่ายตำรวจและฝ่ายนักศึกษาประชาชน”
(๓) ฝ่ายที่อยู่ในบางตอนของเหตุการณ์ เช่น การเริ่มชุมนุมในธรรมศาสตร์ หน้าสวนจิตรในธรรมศาสตร์ ที่อื่นๆ รวมทั้ง การชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยวันที่ ๑๔-๑๕ ตุลา ๑๖
๔.ผู้นำและประชาชน ส่วนที่รับรู้เหตุการณ์ เฉพาะหน้าที่ตนอยู่ร่วม และส่วนที่รับรู้เกือบทั้งหมด เนื่องจากเป็นผู้นำขององค์กร ที่ได้ร่วมกำหนดและการตัดสินใจ
๕.ผู้นำฯในฝ่ายนักศึกษา ไม่ได้รับทราบที่มาที่ไปของเหตุการณ์ตามความเป็นจริงทั้งหมดรับรู้ในเรื่องส่วนที่ได้ร่วมประชุม ร่วมกำหนดและ ตัดสินใจเพราะไม่มีเครื่องมือสื่อสารโดยตรง (เช่นมือถือ) ขาดการติดต่อสื่อสารในบางบางตอนการได้รับการถ่ายทอดต่อกันมา โดยมิได้รับทราบเหตุการณ์ตรง ฯลฯ รวมทั้ง ไม่ทราบถึงความขัดแย้งของทหารสองฝ่าย ที่มีการพัฒนามา และในเหตุการณ์
2.ผู้นำและประชาชน โดยเฉพาะ นักวิชาการ สื่อฯ ที่ไม่ได้อยู่ร่วมในเหตุการณ์ทั้งสอง ได้รับข้อมูลข่าวสารทางอ้อม ไม่ได้เข้าเหตุการณ์โดยตรงจากคำบอกเล่าของผู้ร่วมเหตุการณ์บางคนบางฝ่าย รวมทั้งหนังสือ ภาพยนตร์ ที่มีการเขียนและสร้างขึ้นในภายหลัง
3.ผู้นำฝ่ายทหาร ที่แบ่งเป็นสองฝ่าย
๑.ฝ่ายอำนาจเดิม ที่ครองอำนาจมายาวนานกว่า ๑๐ ปี คือ จอมพลถนอม ประภาส ณรงค์
๒.ฝ่ายอำนาจใหม่ ที่เพิ่งเข้าสู้อำนาจ ตำแหน่ง ผบ.ทบ. ในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๑๖ คือ ฝ่ายพลเอกกฤษณ์สีวะรา พลโทประจวบ สุนทรางกูร และ พลตรีวิฑูรย์ ยะสวัสดิ์
4.ผู้นำสำคัญ ที่มีส่วนร่วมสำคัญในการแก้ไขสถานการณ์ เช่น พลตำรวจเอกวสิษฐ เดชกุญชรอาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ฯ และในส่วนของสถาบันฯ
l สอง เมื่อความเป็นจริง เราไม่ได้รับข้อมูลความเป็นของเหตุการณ์ทั้งหมดเป็นเช่นที่กล่าวมา และเราก็เข้าใจดีว่า การสรุปบทเรียนของเหตุการณ์เดือนตุลาทั้งสอง จักทำให้เราสามารถรับรู้ความจริงของเหตุการณ์และนำมาถอดและสรุปบทเรียน ถึงจุดแข็งจุดอ่อน ข้อดีข้อเสียปัญหาอุปสรรค และโอกาสฯเพื่อที่จะได้ นำจุดแข็งและข้อดีรวมทั้งโอกาส ไปพัฒนาความคิดและการทำงานต่อไปอย่างถูกต้องและแก้ไขปรับปรุงจุดอ่อน ข้อเสีย และปัญหาอุปสรรค มิให้ผิดซ้ำ ย่ำทางเก่าซึ่งนำไปสู่ความเสียหายฯ
l สาม ความเป็นจริงของเหตุการณ์เดือนตุลาคมทั้งสอง จากการศึกษา หาข้อมูลและหลักฐานที่น่าเชื่อถือ พอประมวลกว้างๆ ได้ดังนี้ (ซึ่งผู้นำนักศึกษา ที่อยู่ในเหตุการณ์ นักวิชาการและผู้นำสังคมที่มีอุดมคติ ควรจะต้องศึกษาต่อไป)
1.สภาพความเป็นจริง
๑.การพัฒนาและการเติบโตของขบวนการประชาชนที่เข้าร่วมในเหตุการณ์ทั้งสอง
(๑) นักศึกษาไทยและผู้นำฯ มีการพัฒนาเติบโตเข้มแข็งระดับหนึ่ง ยังมีข้ออ่อนข้อจำกัดอีกบางประการที่ต้องเดินหน้าพัฒนาต่ออย่างต่อเนื่อง
(๒) ในส่วนประชาชนไทย ที่เข้าร่วมในเหตุการณ์ เกิดขึ้นจากอารมณ์ความรู้สึกร่วมที่ได้รับการกระทบในช่วงหนึ่งจากผู้นำประเทศ และภาวะเศรษฐกิจการเมืองในช่วงนั้นๆ ยังไม่ได้มีการพัฒนาให้เป็นประชาชนที่มีคุณภาพ (อย่างบางประเทศฯ)
๒.ปัจจัยแห่งความสำเร็จอย่างหนึ่งของนักศึกษาประชาชนในเหตุการณ์ทั้งสอง คือ
(๑) การมีองค์กรของนักศึกษาประชาชนที่รวมศูนย์ของนักศึกษาฯ
(๒) การมีผู้นำนักศึกษาประชาชน ที่โดดเด่น มีความรู้ความประสบการณ์ ฯลฯ ที่ได้รับการยอมรับจากนักศึกษาและประชาชน
2.ปัจจัยที่นำไปสู่ชัยชนะ (๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖) และสูญเสีย (๖ ตุลาคม ๒๕๑๙)
(1) เหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖
๑.เจตนาร่วม ที่เป็นเอกภาพ เป็นเป้าหมายในการต่อสู้ มีเหตุมีผลมีประโยชน์ต่อประชาชนไม่มีลักษณะสุดโต่ง และมีความเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเองมีเจตนาบริสุทธิ์เพื่อบ้านเมืองไม่มีการแทรกแซง ครอบงำทางความคิดและการกระทำจากฝ่ายใด
๒.ประชาชน ได้เข้าร่วม เห็นด้วยกับเป้าหมายของการชุมนุม และให้การสนับสนุน
๓.การที่ผู้นำนักศึกษา ได้ร่วมปรึกษาหารือ และร่วมแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
๔.การเข้าหาปรึกษา และรับฟังความคิดเห็นของอาจารย์ ผู้ใหญ่ฯ นำมาปฏิบัติ
๕.ฝ่ายกองทัพ ที่ขัดแย้งทางความคิดและผลประโยชน์ มีลักษณะกลางๆ ไม่สุดโต่ง
๖.ฯลฯ
(2) เหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙
๑.นักศึกษาประชาชนส่วนใหญ่ เน้นการสร้างและพัฒนาประชาธิปไตยอย่างค่อยเป็นค่อยไปแต่มีผู้นำนักศึกษาประชาชนบางส่วน มีลักษณะสุดโต่ง นำการเคลื่อนไหวเพื่อก้าวไปสู่ประชาธิปไตยแบบรุนแรง เช่น การนำเสนอคำขวัญ “ตายสิบเกิดแสน”, “เลือดต้องล้างด้วยเลือด”, “จับอาวุธเข้าต่อสู้”
๒.ประชาชนเริ่มถอยออกจากนักศึกษา เพราะไม่เห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรงฯ
๓.ผู้นำนักศึกษาฝ่ายสุดโต่ง ไม่รับฟัง ความเห็นของนักศึกษาที่เน้นการประนีประนอมค่อยๆ ไป
๔.ไม่รับฟัง ความคิดเห็นของอาจารย์ ผู้ใหญ่ และกล่าวประณามอาจารย์ต่อสาธารณะ
๕.ฝ่ายกองทัพ ปีขวาจัด เริ่มเข้ามามีอำนาจ และนำเสนอคำขวัญสร้างกระแส “ต่อต้านนักศึกษาประชาชน” และมีการจัดการเข่นฆ่าสังหารผู้นำนักศึกษา กรรมกร ชาวนาฯ
๖.ฯลฯ
3.หนังสือ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ มิติใหม่ของประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทย เรียบเรียงโดย “ชัยวัฒน์ สุรวิชัย” ได้ให้ข้อมูล ที่มีหลักฐาน ความจริง ของเหตุการณ์ เช่น
@ ความคิดเห็นของ อ.นงเยาว์ ชัยเสรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (หน้า ๙๓)
๑.ก่อนและระหว่างเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖นักศึกษามีความสนิทสนมกับอาจารย์มากว่ากล่าวตักเตือนกันได้ นักศึกษา มีอะไร ก็มาปรึกษาอาจารย์
๒.หลังเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ และ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙
อาจารย์เริ่มกลัวนักศึกษา เพราะสมัยนั้น ถ้าพูดอะไรผิดหูนักศึกษา จะถูกนักศึกษาเล่นงานด้วยการปิดโปสเตอร์ โจมตีด่าว่า ทันที
ฯลฯ
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี