•1.ขอสรุปเนื้อหาสำคัญของตอน(1) เพื่อให้เกิดความเข้าใจ อย่างต่อเนื่อง ในการนำเสนอในตอนนี้
ผู้นำและประชาชนไทย จักไม่สามารถนำพาชาติบ้านเมืองไปสู่ประชาธิปไตยของประชาชนไทยได้เลย
หากเราไม่มีคุณธรรม ความกล้าหาญที่จะศึกษา ทำความเข้าใจและยอมรับความจริงของเหตุการณ์ได้
• 2.ประเด็นสำคัญใหญ่ ที่เป็นปัญหาที่แก้กันไม่ตก มาตลอด โดยเฉพาะในสังคมไทย
คือ
๑. ขาดการเห็นความสำคัญของการสรุปบทเรียนจากเหตุการณ์ประชาธิปไตยไทยที่ผ่านมา
เพราะ ไม่เห็นคุณค่าความสำคัญของการได้รับทราบความเป็นจริงของเรื่องราวทั้งหมด
ในแทบทุกเหตุการณ์
๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕
๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖
๖ ตุลาคม ๒๕๑๙
และทุกเหตุการณ์ต่อๆ มา
อันเนื่องมาจากปัจจัยสำคัญ คือ
(๑)ขาดความร่วมมือของทุกฝ่าย ที่จะนำหลักฐานความเป็นจริงในส่วนของตนมาร่วมสรุปกัน
โดย อาจจะมีบางฝ่าย ได้ทำการสรุปเหตุการณ์ในแง่ความคิดและการปฏิบัติของตน
แต่ ไม่มีการมาสรุปร่วมกัน
การมาสรุปร่วมกัน จะทำให้ ได้เห็น “หลักฐานของทั้งสองฝ่าย” ข้อมูลใดถูก ข้อมูลใดผิด
(๒)ผู้นำ ผู้รับผิดชอบของทุกฝ่าย ขาดวิสัยทัศน์และขาดความรับผิดชอบต่อบ้านเมืองในเรื่องนี้
(๓)ต้องการปกปิดความผิด หรือการกระทำที่ไม่ถูกต้องของตัวผู้นำ และหรือฝ่ายตน
ซึ่งมีในทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายกองทัพ นักการเมือง ข้าราชการ ผู้นำนักศึกษาประชาชน ฝ่ายต่างๆที่เข้าร่วม และเกี่ยวข้องกันเหตุการณ์ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
๒.การมีอคติของผู้นำของฝ่ายต่างๆ โดยเฉพาะฝ่ายที่สุดโต่ง ทั้งทหาร
ฝ่ายการเมือง
ฝ่ายนักศึกษาประชาชน
(๑)การใช้อำนาจ ความเด็ดขาด ความรุนแรง ของฝ่ายตน กระทำต่อฝ่ายตรงกันข้าม
เป็นสิ่งถูกต้อง และจำเป็นในสถานการณ์วิกฤตเพื่อกำจัด และขจัดฝ่ายตรงกันข้ามให้สิ้นซาก ไม่ให้เหลืออยู่ ที่จะกลับมาสู้ต่อฯ
(๒)ความจริงในแทบทุกเหตุการณ์และสถานการณ์ “ผู้นำฝ่ายสุดโต่ง” เป็นคนหรือกลุ่มที่มีไม่มากแต่มีการนำเสนอภาพ และการโฆษณาชวนเชื่อ ให้เห็นว่า “ความคิดและการกระทำของพวกเขา”เป็นสิ่งดีถูกต้องเป็นผลประโยชน์ของฝ่ายของเขาและบ้านเมือง
(๓)คนในกลุ่มของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง มีส่วนที่ ไม่เห็นด้วย “กับการกระทำของฝ่ายสุดโต่งของผู้นำบางส่วน”แต่ ไม่กล้าคัดค้าน เพราะ “ความเกรงใจ ความเป็นเพื่อนเป็นฝ่ายเดียวกัน ฯลฯ”
เรื่องนี้ เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก
ที่คนกลางๆ ที่คิดเพื่อบ้านเมืองอย่างแท้จริง-
จะต้องมาศึกษา และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
ซึ่งขอนำเรื่องนี้ มาพูดให้กว้างขวาง และชัดเจนขึ้นในหัวข้อต่อไป
• 3. เรื่องที่ควรจะต้องมีการพิจารณาอย่างถ่องแท้ด้วยความรับผิดชอบของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่วิกฤตเช่นนี้
ซึ่งขอเน้นในบางประเด็น ดังนี้
๑.ผู้นำส่วนหนึ่ง มีกรอบคิดดังนี้
(๑)หากเป็นพวกเดียวกัน : พูดผิดทำผิด ก็ไม่กล้าคัดค้าน จะไม่เตือนกัน เพื่อแก้ไขให้ถูกต้อง
(๒)หากเป็นฝ่ายตรงกันข้าม : พูดผิด จะซ้ำเติมและถ้าพูดถูก ก็จะไม่ยอมรับ
เพราะ มีความคิดว่า “ความคิดของตน น่าจะดี และเป็นประโยชน์ต่อพวกเดียวกัน“ซึ่งความจริง เป็นเรื่องใหญ่ ที่มีผลเสียหายมาก ต่อสังคมและบ้านเมืองควรที่จะมีการพิจารณาทบทวนใหม่กัน
๒.ผู้นำบางคน ที่มีกรอบคิดเพื่อบ้านเมือง จะมีความกล้า ที่จะเตือน พูดความจริงออกมา
ว่า “ผู้นำของฝ่ายที่อยู่ในสถานการณ์เดียวกัน ที่ถูกกระทำจากอีกฝ่ายหนึ่ง” มีการกระทำที่ผิด
แต่ ในบางสถานการณ์ อาจจะนำเสนอในข้อที่ทำผิด เป็นประเด็นรอง
หรืออยู่ในประเด็นใหญ่
แต่จะเน้นในความผิดใหญ่ของอีกฝ่ายหนึ่ง ที่กระทำต่อนักศึกษาและประชาชน
และก่อผลเสียหายใหญ่หลวงของบ้านเมือง
และเมื่อกลับมาสู่สถานการณ์ปกติ ก็จะพูดหรือมีการบันทึก
“การกระทำที่ผิดพลาดของฝ่ายนักศึกษาประชาชน”ออกมาให้สังคมและประชาชน ได้รับทราบความจริง
• ขอยกตัวอย่างของ อาจารย์ผู้ใหญ่บางท่าน ที่กล้าพูดถึง “ความผิดของผู้นำนักศึกษาประชาชน”
ในบางเหตุการณ์ ดังนี้
1. ความคิดเห็นของ อ.นงเยาว์ ชัยเสรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(๑) ก่อนและระหว่างเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ นักศึกษามีความสนิทสนมกับอาจารย์มาก
ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ นักศึกษา มีอะไรก็มาปรึกษาอาจารย์
(๒)หลังเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ และ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙
อาจารย์เริ่มกลัวนักศึกษา เพราะสมัยนั้น ถ้าพูดอะไรผิดหูนักศึกษา จะถูกนักศึกษาเล่นงานด้วยการปิดโปสเตอร์ โจมตีด่าว่า ทันที
ฯลฯ
2. บทความของ อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ “ความรุนแรง และ การรัฐประหาร 6 ตุลาคม 2519”
พิมพ์โดยมูลนิธิโกมลคีมทอง เมื่อปี 2523 นิสิตนักศึกษาส่วนใหญ่มีเจตนาบริสุทธิ์ ต้องการประชาธิปไตย
ต้องการช่วยเหลือผู้ยากจน แก้ไขความอยุติธรรมในสังคม
ฉะนั้น พลังของนักศึกษาจึงเป็นพลังที่สำคัญ สำหรับประชาธิปไตย
และข้อกล่าวหาว่า นิสิตนักศึกษา ทำลายชาตินั้น
เป็นข้อกล่าวหาที่บิดเบือนป้ายสี เพื่อทำลายพลังที่สำคัญนั้น
แต่ในสภาวการณ์ในปี 2518-19 ฝ่ายนิสิตนักศึกษา ก็ไม่มีวิธีการผิดแผก ไปจากตุลาคม 2516
นักการเมืองต่างๆ พยายามประจบนิสิตนักศึกษา อยากได้อะไร ก็พยายามจัดหาให้
ถึงกับ สนับสนุนให้ออกไปตามชนบท เพื่อ “สอนประชาธิปไตย”
ในโลกนี้ไม่มีที่ไหน ใครจะสอนประชาธิปไตยกันได้ และ
นักศึกษาโอหัง เมื่อออกไปตามชนบท ก็สร้างศัตรูไว้ โดยไปด่าเจ้าหน้าที่ คหบดี ชาวบ้านต่างๆ
ต่อมา นักศึกษาก็ยังคิดว่า พลังของตนนั้นมีพอที่จะต่อต้านองค์กรต่างๆ ใหม่ๆ
ของ กอ.รมน. มหาดไทย และนายทุนขุนศึก
จับเรื่อง ต่างๆ ทุกเรื่องให้เป็นเรื่องใหญ่ พร่ำเพรื่อๆ จนประชาชนเกิดความเบื่อหน่าย
เช่น ชุมนุมกันที่ใด ก็ต้องมีการด่ารัฐบาล ไม่ว่ารัฐบาลไหน
เรื่องการถอนทหารอเมริกัน ก็จัดชุมนุมแล้วชุมนุมอีก
แม้ว่ารัฐบาลจะได้สัญญาว่า “จะมีกำหนด ถอนไปหมดแน่”
การจัดนิทรรศการ ก็จัดเฉพาะ เป็นการโอ้อวด ประเทศคอมมิวนิสต์ เป็นต้น
ที่ที่นักศึกษา ไม่มีความเกรงใจ ก็คือ ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ใช้มหาวิทยาลัยพร่ำเพรื่อจนเกินไป
และทำให้มหาวิทยาลัยล่อแหลมต่ออันตรายแห่งเดียว
แทนที่จะกระจายฐานของนักศึกษา ให้แพร่หลายออกไป
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีเรื่องต้องขัดแย้งกับนักศึกษามากครั้งบ่อยที่สุด
แต่ที่สำคัญที่สุด คือ ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษา*** (ในยุคนั้น กลุ่มความคิดซ้ายจัดเข้ามานำ)
แทนที่จะเปลี่ยนวิธีการ ยังใช้วิธีการเดิม
แทนที่จะปลูกนิยมในหมู่ประชาชน กลับนึกว่า “ประชาชนเข้าข้างตน อยู่เสมอ
แทนที่จะบำรุงพลังให้กล้าแข็งขึ้น กลับทำให้อ่อนแอลง ฯลฯ
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี