•และแล้ว กาลเวลาพัดผ่านงานเดือนตุลาทั้งสอง ไปอีก ทั้งปี ๒๕๖๖ และ ๒๕๖๗
การแสวงหาความจริงของเหตุการณ์ เดือนตุลา ๒๕๑๖ และ ๒๕๑๙ ในโอกาสครบรอบ ๕๐ ปี และ ๕๑ ปีเราทำกันได้ระดับหนึ่ง ที่มีคนมีอุดมคติ มีความตั้งใจจริง พยายามคิดและทำแต่ก็ต้องยอมรับ “ข้ออ่อน และ ข้อจำกัด” ของสังคมไทยและตัวบุคคลรวมทั้ง งานด้านวิชาการ และ งานทฤษฎี เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยที่ยังอ่อนแอ
•มีการนั่งคุยแลกเปลี่ยนกัน ในหมู่คนเดือนตุลา และผู้ที่มีอุดมคติจำนวนหนึ่ง ในเรื่องนี้
ได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่า
๑.มีคนเอาจริงเอาจังในเรื่อง “การแสวงหาความจริงของทั้งสองเหตุการณ์” ไม่มากนัก
๒.และคนที่ลงมือทำ เอาจริงทั้งผลักดัน และ การเขียนเป็นหนังสือรำลึกเดือนตุลาออกมาในแนวคิดใหม่ยิ่งมีน้อย
๓.เพราะ “การจะคิดและทำเรื่องใหม่ ฉีกออกไปจากแนวเดิม”ทำได้ยาก เพราะต้องลงแรงคิดเวลา ที่จะต้องไปศึกษาค้นคว้า หาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมซึ่ง ส่วนหนึ่ง ไม่รู้จะคิดและทำอย่างไร เพราะทำได้ยากมาก อีกส่วนหนึ่ง คิดเอาเองว่า “ทำไปก็ไม่ได้อะไร” มีแต่จะขัดแย้งกันเปล่าๆ ไม่มีประโยชน์
๔.แต่มีคนเห็นด้วย ที่อยากให้ “มีการคิดและทำ” ในโอกาสต่อๆ ไป มากขึ้นเพราะเริ่มเห็นคุณค่าและความหมาย ของ “การแสวงหาความจริงฯ” น่าจะเกิดคุณค่ามากกว่า “การปล่อยผ่านไป” คิดและทำแต่เรื่องเก่าๆ เดิมๆ เป็นในลักษณะ “งานประจำปี”
๕.และมีบางส่วน หมดกำลังใจเพราะ ผ่านมา ๕๐ ปี ๕๑ ปี มีการคืบหน้าน้อยมากบางคนสรุปค่อนข้างแรงว่า“คงไม่หวังอะไรอีกแล้ว” เพราะ “คนที่มีหน้าที่ ยังคงคิดเก่าๆ”
๖.แต่ก็เป็นเรื่องน่ายินดี ที่มีบางส่วนเห็นคุณค่า และความหมายที่จะไปคิด แลกเปลี่ยนกับเพื่อนพ้องน้องพี่ ทั้งรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่ ที่เอาจริง
@ สำหรับผู้เขียนเข้าใจ ในแต่ละฝ่าย ที่มีความคิดของตนแต่โดยส่วนตัว คงไม่หยุด จะทำเท่าที่ทำได้ เพราะเห็นคุณค่าของการสรุปบทเรียนประวัติศาสตร์ แต่ ก็ขอฝาก “เพื่อนมิตร ทั้งรุ่นเดียวกัน และคนรุ่นใหม่” ที่ปรารถนาจะเห็นการเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตยที่แท้จริง ว่า“เราไม่สามารถก้าวข้ามไปถึงฝั่งประชาธิปไตยได้เลย”หากเรายังไม่เห็นความสำคัญของการสรุปบทเรียนตามความเป็นจริง ของเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยเพราะ “เราไม่รู้ ถึง จุดแข็ง จุดอ่อน ปัญหาอุปสรรค โอกาสที่จะก้าวไปถึง”
อีกเรื่องหนึ่งที่ขอฝากไว้
เป็นคำกล่าวของ “ประธานเหมาของประเทศจีน ที่ให้สัมภาษณ์ตอบนักข่าวต่างประเทศ”ที่ถามว่า “ปัจจัยแห่งความสำเร็จและชัยชนะของประชาชน อยู่ที่ไหน”
“ประเทศจีน เรามีประชาชนอันไพศาลที่ เอาจริง กล้าต่อสู้กล่าวเสียสละ จึงได้ชัยชนะ”
คือ “คำตอบที่ตรงกับใจของมิตรสหาย” รวมทั้งผม
“เอาจริง” เป็นคำที่มีความหมายยิ่ง
เพื่อนมิตร คิดอย่างไร?
•การที่คนเดือนตุลาคม ที่ผ่านเหตุการณ์ และได้รับคุณูปการของเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ยังไม่สามารถ ได้ข้อสรุปความเป็นจริงของเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ จะเริ่มมีปัญหามากขึ้น สำหรับเยาวชนคนหนุ่มสาวในยุคปัจจุบัน ที่จะก้าวเข้ามารับผิดชอบสังคม
ยกตัวอย่าง
ในงาน ๕๑ ปี ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ที่จัดขึ้นที่มูลนิธิ ๑๔ ตุลาคมซึ่งจัดได้ดีพอควร มีตัวแทนของรัฐบาล ฝ่ายค้าน ประธานรัฐสภา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องภาคส่วนต่างๆ กรรมกร องค์กรภาคประชาสังคม นิสิตนักศึกษา ญาติวีรชนฯ
มีคนหนุ่มสาวบางส่วน ที่ร่วมกล่าวคำรำลึก ที่มีข้อดี คือ ความเร่าร้อน แต่ข้ออ่อน คือ ขาดความเข้าใจเรื่องประวัติศาสตร์ และขาดประสบการณ์ เช่น การนำเสนอ ถึง ฐานะบทบาทของเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ คนหนุ่มสาวส่วนนี้ ใช้ “การตั้งคำถาม แบบไม่เข้าใจว่า
“หาก ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ มีบทบาทและความยิ่งใหญ่จริง
ทำไม จึงไม่ได้ประชาธิปไตยมาสักที
นี่แสดงว่า อะไร?
เป็นการสรุปว่า “เหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖” ไม่มีบทบาทที่เป็นจริง
@ ประเด็นสำคัญของการขับเคลื่อนบทบาทประวัติศาสตร์หนึ่งๆ อยู่ที่ว่า “ผู้นำ กลุ่มคน ที่อยู่ และถัดมา” ได้มีการขับเคลื่อนอย่างไร? ถูกต้อง หรือ ไม่ถูกต้องมากกว่าหากทำได้ถูกต้องเราจะได้เห็น “การพัฒนาของประชาธิปไตย ก้าวไปข้างหน้า กลับกันหากไม่ทำอะไรต่อ หรือ ผู้นำต่อมา “ขับเคลื่อนผิด” หรือ “ฝ่ายอื่น มีพลังมากกว่า”ทิศทาง มันก็จะหยุด ถอยหลัง
นี่คือ ความถูกต้องในการมองประวัติศาสตร์ที่ผู้นำทุกฝ่าย ที่รักและปรารถนาประชาธิปไตย โดยเฉพาะคนหนุ่มสาวปัจจุบันจะต้องนำไปคิดทบทวน สรุปบทเรียน และปรับแก้ไขใหม่ ให้ถูกต้องถูกทาง
ซึ่งคนส่วนใหญ่ที่ร่วมผ่านเหตุการณ์ เห็นว่าเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ มีบทบาทและฐานะที่สำคัญ ที่มีนักศึกษาประชาชนเข้าร่วมเป็นหลักแสน(ประมาณ ๒ แสนหกหมื่นคน จากการประเมินของ I-LAW)ซึ่งใกล้เคียงกับที่ฉันประเมินและมีประสบการณ์ฯและมีส่วนสร้างจิตสำนึกและการตื่นตัวของประชาชนฝ่ายต่างๆ เป็นครั้งแรกๆ (แต่อีกด้านหนึ่ง มีคนบางส่วน ประเมินสูงเกินจริง ถึงบทบาทของนักศึกษาประชาชนฯ ซึ่งหากเป็นจริง จะทำให้นักศึกษาประชาชน ก่อให้เกิดคุณูปการมากกว่านี้มากฯ)
ฝากให้ ผู้นำคนเดือนตุลา และอื่นๆ ช่วยนำไปคิดวิเคราะห์ดูกันครับ
•ท้ายสุด ขอ ฝากให้ “พี่น้องประชาชนชาวไทยทั้งแก่ ผู้ใหญ่ และเยาวชนคนหนุ่มสาว”
ขอให้ ถามตัวเองว่า “คุณค่าของคน (ของแต่ละคน)อยู่ตรงไหน?
๑.คนแก่ ที่มีประสบการณ์ที่ผ่าน ๒ เหตุการณ์เดือนตุลา มาโดยตรงจะเป็นประโยชน์แก่ตนเอง และบ้านเมืองไหมที่จะถอดประสบการณ์ของตนส่งต่อให้สังคม ก่อนจะจากไป
๒.ผู้ใหญ่ ที่มีคุณวุฒิและวุฒิภาวะ จะรับบทเรียนจากคนแก่รุ่นพ่อแม่ และส่งต่อถึงเยาวชนลูกหลาน ได้ดี อย่างไร
๓.เยาวชนคนหนุ่มสาว ที่จะรับช่วงอนาคตของชาติบ้านเมืองต่อไป ต้องพัฒนาปรับตนให้ก้าวหน้ามีความรู้ความเข้าใจถูกต้อง ต่อเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ เพื่อจะได้เดินไปอย่างถูกต้อง มีคุณค่า
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี