l เรื่องราวที่ประทับจิต
ในชีวิต ๗๕ ปีที่ผ่านมา มีเรื่องเล็กๆ ที่ยังจำได้แม่น เพราะมีความประทับใจ
๑.แกะห่อของขวัญ ด้วยการค่อยๆคลี่กระดาษห่อของขวัญไปที่ละแผ่น อาจารย์วรรณีแก้วผสม อาจารย์ประจำชั้น ๑๑๐ ตึกอรชร ๑ ปี ๒๕๐๘เป็นคราวที่ นักเรียนเตรียมฯ ห้อง ๑๑๐ หลังจาก เข้ามหาวิทยาลัย นัดรวมตัวกันไปเคารพอาจารย์และมี “ของขวัญ” ไปฝาก
“เจ้าของขวัญนี้เอง” เป็นตัวสร้างความประทับใจ แก่ผมและเพื่อนๆพวกเรา ลุ้นให้อาจารย์เปิดกล่องของขวัญเร็วๆ แต่ปรากฏว่า“อาจารย์กลับแกะกล่องของขวัญ แบบค่อยๆคลี่กระดาษห่อของขวัญออกที่ละ.......ที่ละ......ใช้เวลาพอสมควรเสร็จแล้ว อาจารย์ “เก็บกระดาษห่อของขวัญ” เอาไว้ใช้ต่อ เป็นอะไรที่ “ประทับจิต” มาจนถึงทุกวันนี้และเป็นแบบอย่างที่งดงาม มีคุณค่าความหมายยิ่ง
๒.โรงเรียนชาวนาคานาอัน เกาหลีใต้ Canaan Farmers’ School (CFS) ที่เคยมีบทบาทในการสร้างชาติเกาหลีใหม่ด้วยหลักคิด และความเชื่อมั่นศรัทธาฯ ที่มีสาระและน่าสนใจมาก
• เวลา มีคุณค่าและความหมายเสมอ และเดินไปอย่างเที่ยงตรง
“เรามีความรู้ เราก็ใช้ความรู้หาเงินได้
เรามีเงิน ก็ใช้เงินไปเรียนรู้ สิ่งที่ไม่รู้ได้
เรามีความรู้ มีเงิน แต่ไม่มีเวลา สิ่งที่มีก็เปล่าประโยชน์”
@ เป็นคำขวัญที่ใช้กล่าว ในการออกกำลังกายตอนเช้าตรู่ของโรงเรียน การศึกษาของโรงเรียนเกษตรกรคานาอันมุ่งเน้นไปที่การเปลี่ยนแปลงความคิดทัศนคติและวิถีชีวิตของผู้เข้ารับการฝึกอบรม ในเรื่องนี้การศึกษาดําเนินไปอย่างแข็งแกร่งและต้องการวิถีชีวิตที่มีระเบียบวินัยมากขึ้นของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
• ดร.คิม ยอง-กี Kim Yong-ki (1908-1988) ผู้บุกเบิกสร้างและพัฒนาคนเกาหลีให้มีคุณภาพ ผมได้ไปร่วมอบรมกับชาวพลังธรรม สันติอโศกในนามของ พลตรีจำลอง ศรีเมือง ปี 2536 (ค.ศ. 1993) โดยได้เข้าร่วม “กิจกรรมตามหลักสูตรเข้มข้น” ใน ๕ วัน ส่วนอีก ๕ วัน ได้ไปดูงานหลายแห่งในเกาหลีใต้
แนวคิด และคําขวัญของโรงเรียนเกษตรกรคานาอัน
-แนวคิดของโรงเรียน : ฉันทํางานก่อน ฉันรับใช้ก่อน ฉันเสียสละก่อน
-คําขวัญของโรงเรียน : เรามาเรียนรู้กันจนกว่าเราจะรู้ ขออุทิศตัวเพื่อทํางาน ขอให้เรารับใช้ด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน
-หลักคิด Mindset
- : บุกเบิกความคิด เรายังเด็กอยู่ งานที่ต้องทํามากมาย ลองทําให้เสร็จ มันสามารถทําได้ ตื่นแต่เช้าตรู่ ผู้คนกําลังเรียกร้องให้เราไปที่คานาอันกันเถอะ
-การเปลี่ยนแปลง : เปลี่ยนตัวเองก่อน เปลี่ยนตอนนี้ก่อน เปลี่ยนที่นี่ก่อนเปลี่ยนสิ่งเล็กๆ ก่อน เปลี่ยนสิ่งที่ทําได้ก่อน เปลี่ยนจนจบ
-ผู้บุกเบิก :
ผู้บุกเบิกต้องเป็นนักฝัน ผู้บุกเบิกต้องมีความมั่นใจ
ผู้บุกเบิกต้องมีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้า และสามารถยอมรับหรือทนต่อความล่าช้า
ปัญหา ความทุกข์ทรมาน โดยไม่รําคาญหรือวิตกกังวล :
ผู้บุกเบิกต้องกล้าหาญและเด็ดขาด ผู้บุกเบิกต้องเหงื่อออกและร้องไห้
ผู้บุกเบิกต้องมีความรู้ ผู้บุกเบิกต้องมุ่งมั่น
ผู้บุกเบิกต้องทุ่มเท ผู้บุกเบิกต้องอุทิศตนผู้บุกเบิกต้องทำงานรวดเร็ว
ผู้บุกเบิกต้องรักษา ครอบครัวที่สงบสุข
ผู้บุกเบิกไม่ได้เกิดในชั่วข้ามคืน ผู้บุกเบิกต้องมีความกระตือรือร้นและซื่อสัตย์
-หยาดเหงื่อ : ฉันได้เห็นเหงื่อของฉันบนหน้าผาก ฉันมั่นใจในคุณค่าของเหงื่อ ยิ่งฉันเหงื่อออกน้อยเท่าไหร่ น้ำตายิ่งไหลมากขึ้นเท่านั้น ยิ่งฉันเหงื่อออกมากเท่าไหร่ น้ำตายิ่งไหลน้อยลงเท่านั้น
๓.งานฉลองแต่งงานครบ ๑๐๐ ปี เรียกว่าอย่างไร? ในการสนทนากัน ในหมู่เพื่อนมิตรที่สนิทสนมกัน มี “ธีรยุทธ บุญมี” อยู่ด้วยมีคนหนึ่งพูดถึงงานฉลองแต่งงาน ครบวาระต่างๆ
๒๕ ปี เรียกว่า Silver Wedding
๕๐ ปี เรียกว่า Golden Wedding
๗๕ ปี เรียกว่า Diamond Wedding(บางคน ใช้เรียกงานฉลอง ครบ ๖๐ ปี) แล้วมีเพื่อนคนหนึ่ง ออกทะลึ่งหน่อยๆ ถามว่า แล้วครบ ๑๐๐ ปี ล่ะ? ทุกคนเงียบไป แล้วมีคนชี้มาที่ผม“แล้ว พี่จิ๊บ ตอบได้ไหม?” ผมตอบว่า แล้วทุกคน ออกเสียง “เฮ” !!! พร้อมกันทราบไหมว่า “คำตอบของผม คืออะไร? Carbon Wedding
๔.ดอกไม้จักงามงด ต้องสดใสอยู่ที่ต้นครั้งหนึ่ง ที่พวกเราชาวชมรมปาฐกถาและโต้วาที สจม. และเพื่อนวิศวะ อักษรฯ ตามไปด้วยไปเยี่ยมบ้าน อาจารย์คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่ดอยขุนตาล ยอ. ๓ในปี ๒๕๑๒ เราไปกันหลายสิบคน อาจารย์คึกฤทธิ์ จัดห้องนอนใหญ่ ให้พวกเรานอน ชายอยู่ฝั่งหนึ่ง หญิงอยู่อีกฝั่งหนึ่ง มี “ม่านประตู” กั้นไว้เท่านั้น อาหารการกิน เพียบพร้อม อาหารบางอย่างเป็นฝีมือของอาจารย์คึกฤทธิ์ บริเวณบ้านสวยสดงดงามมีต้นไม้และดอกไม้สวยสดงดงามยิ่งนักมีต้นลิ้นจี่ และอื่นๆ เต็มไปหมดเดินไปชม วิวทิวทัศน์ ที่มองเห็นเทือกเขา ป่าไม้ต้นไม้รอบตัวมีที่พักมีหลังคาขนาดเล็ก มีม้านั่งสองข้างโต๊ะไม้ ที่ไม่ธรรมดา และไม่มีที่ไหนเหมือนคุณทราบไหม คือ อะไร?
อาจารย์คึกฤทธิ์เล่าว่า “คุณนั่งเก้าอี้ ข้างหนึ่งที่หันหน้าไปทางเหนือ” อยู่บนพื้นที่ของจังหวัดลำพูน”อีกข้างหนึ่ง อยู่ในเขตจังหวัดลำปาง และโต๊ะไม้เป็นเขตแดนระหว่างจังหวัด
@ เอาล่ะ เข้าเรื่องได้แล้ว ดอกไม้จักงามงด ต้องสดใสอยู่ที่ต้น บ้านอาจารย์คึกฤทธิ์มีบริเวณกว้างมีบริเวณสวนดอกไม้หลากหลายพันธ์ุ “ดอกไม้สวยงามมาก เบิกบานสะพรั่งฯ” สาวอักษรศาสตร์ ที่มีความสุนทรีย์ในความงาม ต่างชมกันด้วยความสุขหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส ร่าเริงเบิกบานนักและยิ่งสุขมากขึ้น เมื่อน้องคนหนึ่ง ยืนมือไปเด็ดดอกไม้จากต้น เอามาดมเธอมีความสุขมาก และพลอยให้เพื่อนๆ สุขตามไปด้วย
ทันใดนั้น “ความสุขก็แทบจะมลายหายไป”เมื่อรุ่นพี่คนหนึ่ง จากคณะสถาปัตย์ เอ่ยด้วยอารมณ์โกรธ พร้อมพูดว่า “น่าเสียดาย ความงามของดอกไม้ถูกทำลายลงไปแล้ว “ไม่รู้กันฤา” ตามธรรมชาติ ดอกไม้จะงดงามยิ่ง เมื่ออยู่กับต้น“แต่เมื่อถูกเด็ดไปชมส่วนตัว อีกไม่นาน มันก็จะเหี่ยวลง ผมยืนสังเกตอยู่ตั้งแต่ต้น พยายามเข้าใจทั้งสองฝ่าย เพื่อนเอย เพื่อนคิดอย่างไรเอ่ย”
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี