เมื่อครั้งที่รัฐบาลไทยภายใต้การนำพาของอดีตนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ออกมาประกาศว่าประเทศไทยได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกขององค์การ OECD แล้วก็ได้สร้างความฮือฮา เป็นที่กล่าวขวัญของความมีวิสัยทัศน์ และการเพิ่มบทบาทของไทยในเวทีระหว่างประเทศ โดยสาธารณชนโดยทั่วไปก็ต่างคิดว่า OECD นี่เป็นของแปลกใหม่สำหรับประเทศไทย
แต่ที่จริงแล้ว ไทยกับ OECD นั้นได้มีการติดต่อข้องแวะกันมากว่า 20 ปีแล้ว โดยเป็นการที่ OECD ให้ความร่วมมือช่วยเหลือไทยในการพัฒนาบุคลากร และการปรับปรุงกฎเกณฑ์ กติกาเพื่อเพิ่มความทันสมัยและความพร้อมของไทยในการมุ่งสู่ของการเป็นประเทศพัฒนาแล้วที่เรื่องอุตสาหกรรมเป็นตัวชี้วัดอันสำคัญ ซึ่งบ่งบอกว่าในสายตาของ OECD นั้น ประเทศไทยถือว่ามีศักยภาพ และมีความพร้อมหรือความเจริญก้าวหน้าในระดับหนึ่ง ทั้งในเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นการทั่วไปและการพัฒนาอุตสาหกรรมเป็นการเฉพาะ ไปจนถึงกฎเกณฑ์กติกาที่มีมาตรฐานที่เอื้อต่อการลงทุนกับต่างประเทศ และการทำมาค้าขายกับต่างประเทศ ไปจนถึงระดับการพัฒนาทางด้านประชาธิปไตยและความก้าวหน้าในเรื่องสิทธิมนุษยชน
ในปี ค.ศ. 2018 (พ.ศ. 2561) ไทยและ OECD ได้มีข้อตกลงว่าด้วยโปรแกรมการพัฒนา (Development Program) เป็นการยกระดับความสัมพันธ์ และการยกระดับและขยายโครงการร่วมมือพัฒนาต่างๆ เช่น development projects, human development and education (training courses, postgraduate scholarships and study visits), to dispatch Thai experts and volunteers, responsible business conduct, country programme, university holding company scheme, Thailand Higher Education and Innovation Policy Accelerator (THIPA), Thailand Business Innovation Research (TBIR) ซึ่งโดยสรุปก็เป็นการช่วยพัฒนาการศึกษาค้นคว้าวิจัยและเพิ่มพูนทักษะการบริหารกิจการธุรกิจ เป็นต้น
สำหรับผู้เขียนเอง ในช่วงที่ยังรับราชการ ก็เคยไปประชุมพบปะกับฝ่ายผู้บริหารขององค์การ OECD ที่กรุงปารีส แต่ก็ต้องขอร่วมรับผิดชอบด้วยว่า กระทรวงการต่างประเทศในตอนนั้นอ่อนด้อยในเรื่องการประชาสัมพันธ์ และการให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทของ OECD ต่อประเทศไทยในการพัฒนาต่างๆ ซึ่งก็เป็นการสมควรที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกระทรวงการต่างประเทศและสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมจะได้ร่วมกันทำการประมวลและประเมินผลการร่วมมือระหว่างไทยกับ OECD ว่าได้ก่อให้เกิดประโยชน์มากน้อยเพียงใด
ก็เป็นที่คาดการณ์ได้ว่า วันนี้ประเทศไทยได้มีการพัฒนาและมีการเตรียมตัวให้เป็นประเทศที่มีความทันสมัยและประเทศที่พัฒนาแล้วในระดับหนึ่ง ฉะนั้น การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตัวเพื่อเข้าเป็นสมาชิก OECD โดยสมบูรณ์แบบนั้น ก็ไม่น่าเป็นเรื่องสุดวิสัย และสามารถเร่งรัดดำเนินการต่างๆ ให้พร้อมมูลได้ตามกรอบเวลาที่กำหนดเอาไว้
กษิต ภิรมย์
kasitfb@gmail.com
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี