ถืออยู่ในมือท่านฉบับนี้คือ หนังสือพิมพ์แนวหน้า www.naewna.com ทุกบรรทัด ตรงไป ตรงมา...nn มีความชัดเจนแล้วสำหรับ ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่...) พ.ศ...ซึ่งมีการกำหนดว่าจะพิจารณาในวาระ 2-3 กันในช่วงสมัยประชุมที่จะถึงนี้ (ธันวาคม 2567-เมษายน 2568)...
nn โดย วิสาร เตชะธีราวัฒน์ ประธานกรรมาธิการฯ ระบุว่าร่างพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ผ่านสภาผู้แทนราษฎร มีทั้งหมด 5 ร่าง ที่แตกต่างกันพอสมควร คาดว่า จะสามารถเสนอเข้าไปในร่างสภาผู้แทนราษฎรได้ภายในวันที่ 11 ธันวาคม 2567 ทันเปิดสมัยประชุมในสภาในวันที่ 13 ธันวาคม 2567 จนถึงเดือนเมษายน 2568 และคาดว่าจะได้รับการพิจารณาเป็นลำดับต้นๆ...
nnและยังระบุด้วยว่า ทาง กมธ. พิจารณากันอย่างถ่องแท้และรับฟังทุกฝ่าย และก็มีการเข้าอกเข้าใจกันระหว่างทางฝ่ายรณรงค์ผู้ประกอบการ ฝ่ายราชการ ตลอดจนถึงได้รับฟังจากลูกๆ หลานๆ สภาเด็กผู้ประกอบการ เหยื่อเมาแล้วขับ ส่วนสมาชิก กมธ. ทั้ง 42 คน ก็ไม่ได้ยึดถือว่าพื้นฐานตัวเองมาจากไหน หรือฝ่ายใด แต่ทุกคนได้มีการปรับจูน แลกเปลี่ยนทำความเข้าใจ โดยมุ่งปิดจุดอ่อนของกฎหมายจากที่ผ่านมา นึกถึงความสงบสุขความเรียบร้อย การบังคับใช้กฎหมายควบคุมแอลกอฮอล์ที่ไม่เกิดพิษภัยต่อพี่น้องประชาชนให้ได้มากที่สุด เท่าที่จะมากได้...
nn ทางด้าน นพ.นิพนธ์ ชินานนท์เวช ผอ.สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (สคอ.) กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.ที่เข้าไปในการประชุมฯ มีทั้งเข้มข้นขึ้น และผ่อนคลายในบางเรื่อง เช่น ยกเลิก ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 253 (สมัยจอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งประกาศ ณ วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515) การห้ามดื่มในสถานที่ห้ามขาย และในเวลาที่ห้ามขาย จะมีกฎหมายลูกประกอบอีกครั้ง เพราะเดิมไม่ได้ควบคุมการดื่ม...
nn เนื่องจากมีข้อถกเถียงเรื่องสิทธิส่วนบุคคล และมีการพูดคุยเรื่องโซนนิ่ง เกี่ยวข้องกับเรื่องใบอนุญาต จะนำเรื่องโซนนิ่งรอบสถานศึกษามาอยู่ในกฎหมายลูกที่ประกอบต่อไป...
nn นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย รองประธานกรรมการกองทุนสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ระบุว่า การขับเคลื่อนประเด็นสุรากับเรื่องสุขภาวะของคนไทยก้าวมาถึงจุดเปลี่ยนสำคัญ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการแก้ไขกฎหมาย เพื่อให้ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี เศรษฐกิจ และสังคม สะท้อนถึงความหลากหลายของความคิดเห็นในสังคม...
nn ทั้งการปรับเพิ่มกฎหมายให้เข้มงวดขึ้นเพื่อปกป้องสุขภาพของประชาชน และการผ่อนปรนกฎหมายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพและเป็นธรรมต่อประชาชนส่วนใหญ่ การให้ความสำคัญกับสุขภาพของประชาชนจึงควรเป็นเป้าหมายหลักของนโยบายสาธารณะ เมื่อประชาชนมีสุขภาพที่ดี เศรษฐกิจก็จะเติบโตตามมาเองในระยะยาว...
nn ศ.พิเศษ วิชา มหาคุณ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่เหมาะสมกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน ที่จำเป็นต้องแก้ไข เช่น เพิ่มมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคและประชาชน ควรมีนโยบายจำกัดการออกใบอนุญาตขายสุรา ยกเลิกบทลงโทษอาญาในบางกรณี โดยบัญญัติเป็นโทษปรับทางปกครอง หรือการทำงานบริการสังคม หรือเพื่อสาธารณประโยชน์แทน...
nn ส่วน รศ.ดร.นพ.อุดมศักดิ์ แซ่โง้ว ผอ.สถาบันส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรมสู่ความเป็นเลิศมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ระบุว่า มีความกังวลที่สุดเกี่ยวกับร่างฉบับนี้ คือ “โครงสร้างคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ” ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน โดยมีการเพิ่มตัวแทนจากภาคเอกชนเข้ามาเป็นคณะกรรมการฯ ด้วย จึงมีโอกาสออกข้อกำหนดที่ควบคุมน้อยลงมาก...
nnอีกทั้งจะเป็นต้นแบบให้กฎหมายสุขภาพอื่นๆ เปิดโอกาสให้ตัวแทนภาคเอกชนเข้ามานั่งเป็นคณะกรรมการได้ทั้งหมด เพราะมีตัวอย่างจากพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฉบับนี้ และจะทำให้ธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ข้ามชาตินำโมเดลนี้ของประเทศไทยไปอ้างอิงการขับเคลื่อนในประเทศอื่นๆ...
nnผศ.ดร.บุญอยู่ ขอพรประเสริฐ รองผอ.สถาบันวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเกริก กล่าวเสริมว่า ยิ่งเมื่อมีการเพิ่มองค์ประกอบของคณะกรรมการฯให้มีผู้แทนจากภาคธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้ามาร่วมด้วย จึงต้องจับตากว่าจะเกิดเรื่องของ ผลประโยชน์ทับซ้อน(Conflict of Interests) หรือไม่ รวมถึง ที่กำหนดเงื่อนไขในการโฆษณาได้ต้องคำนำถึงการให้ข้อมูล ข่าวสาร ไม่อวดอ้างสรรพคุณ และ “ชักจูงใจให้ดื่ม” ซึ่งการที่กำหนดเรื่อง “จูงใจ” ไว้ พ.ร.บ.นั้น จะทำให้เกิดการตีความเพียงแค่ “จูงใจโดยตรง” คือ เห็นปุ๊บแล้วอยากดื่มทันที ...
nn แต่ทว่า การโฆษณาในยุคใหม่นั้น มักเป็นการ “จูงใจโดยอ้อม” คือให้เห็นให้รู้จัก คุ้นเคยภาพลักษณ์ก่อน เป็นการสร้างการรับรู้ ความสนใจ แล้วจึงเกิดการชื่นชม และดื่มต่อไป ที่กังวลเพราะเมื่อมีการตีความแคบแค่ “จูงใจโดยตรง” เท่านั้น เมื่อมีการดำเนินคดีก็จะ “รอด” ทั้งหมด !!!!...
nn สุชีรา บันลือสินธุ์ ผู้แทนจากองค์การอนามัยโลก(WHO) ประเทศไทย กล่าวว่าปัจจุบันการตลาดออนไลน์ และโซเชียลมีเดียเป็นภัยคุกคามรูปแบบใหม่ทั่วโลกซึ่ง 10-20 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยเป็นผู้นำเรื่องความกล้าหาญที่มีนโยบายครอบคลุมในเรื่องการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จึงคาดหวังว่าในการออกพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์(ฉบับใหม่) ผู้กำหนดนโยบายประเทศจะมองผลประโยชน์ด้านสุขภาพ และสวัสดิการสังคมอยู่เหนือภาคอุตสาหกรรม...
nn “มือปราบ” ก็ต้องฝากให้ทางสภาผู้แทนราษฎร พิจารณาในวาระ 2-3 อย่างรอบคอบ โดยยึดประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก เพราะยังไงๆ ประชาชนที่อยู่ในเขตเลือกตั้ง ถือเป็นเสียงสำคัญที่สามารถสะท้อนให้ผู้แทนฯ ทราบ และนำไปพูดแทนพวกเขาในสภาฯ ต่อไป...
nn เพราะยังไงๆ สุราถือเป็นอบายมุขที่ทำให้เกิดความเสี่ยงในหลายๆ เรื่อง เช่น การทะเลาะวิวาทการก่ออาชญากรรม การสูญเสียทรัพย์สิน การถูกติฉินนินทา ฯลฯ และสุดท้าย ผลร้ายก็ตกอยู่กับประเทศที่ต้องสูญเสียกำลังคนในการพัฒนาเศรษฐกิจและสร้างสรรค์สังคมอย่างมีคุณภาพ...nn สวัสดีครับ
มือปราบ
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี