l (5) เข้าใจศาสนา
1. การให้ความหมาย
2. มูลเหตุที่ทำให้เกิดศาสนา มี ๔ ประการ
3. ศาสนา กับ ความจริง
1. การให้ความหมาย
๑. วิกีพีเดีย สารานุกรมเสรี ศาสนา (อังกฤษ : Religion) หมายถึง ลัทธิความเชื่อของมนุษย์ เกี่ยวกับการกำเนิด ความเป็นไป และสิ้นสุดของโลก หลักศีลธรรม หลักธรรมคำสอน ตลอดจนลัทธิพิธีที่กระทำตามความเชื่อนั้นๆหลายศาสนามีการบรรยายสัญลักษณ์ ประวัติศาสตร์ และความศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเจตนาอธิบายความหมายของชีวิต และ/หรืออธิบายกำเนิดชีวิตหรือเอกภพ
จากความเชื่อของศาสนาเกี่ยวกับจักรวาล ธรรมชาติ มนุษย์ และศีลธรรม จริยศาสตร์ กฎหมายหรือวิถีชีวิตมีการประมาณว่าน่าจะมีความเชื่อเชิงศาสนาราว 4,200 ความเชื่อในโลก โดยพิจารณาตามจำนวนประมาณการของกลุ่มชาติพันธุ์ชนเผ่าต่างๆ ตลอดเวลาในช่วงที่ผ่านมาในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ หลายศาสนาส่วนใหญ่กลายเป็นศาสนาที่ตายแล้วเพราะไม่มีคนนับถือแล้ว ศาสนาทั้งหมดบนโลกในยุคปัจจุบันมี 11 ศาสนา อย่างไรก็ตาม บางตำรานับบาไฮเข้ารวมด้วย บางตำรายังถือว่าบาไฮเป็นแค่ลัทธิเกิดใหม่เท่านั้น
๒. ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ “ลัทธิความเชื่อถือของมนษย์ อันมีหลัก คือ การแสดงกําเนิดและความสิ้นสุดของโลกเป็นต้น
(๑) อันเป็นไปในฝ่ายปรมัตถประการหนึ่ง (ปรมัตถธรรม คือ สภาพธรรมตามความเป็นจริง เป็นอภิธรรม “อภิธรรม คือ ธรรมที่ยิ่งใหญ่” เป็นสภาพธรรมที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย)
(๒) แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่ง
(๓) พร้อมทั้งลัทธิพิธีที่กระทำตามความเห็นหรือตามคําสั่งสอนในความเชื่อถือนั้นๆ ซึ่งก็หมายถึงว่าศาสนาเป็นลัทธิความเชื่อของมนุษย์ ที่แสดงกําเนิดและสิ้นสุดของโลก แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบุญบาปและมีพิธีกรรม นั้นเอง
2. มูลเหตุที่ทำให้เกิดศาสนา มี ๕ ประการ
๑. เกิดจากความกลัว ภัยธรรมชาติ พายุ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า น้ำท่วม แผ่นดินไหว เมื่อมนุษย์เห็นว่าสิ่งเหล่านี้เป็นอันตรายต่อตน ประกอบกับการปราศจากความรู้ (ตามข้อ ๒คือ ความไม่รู้ฯ)จึงเข้าใจว่าปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ
๒. เกิดจากความไม่รู้ หรือการปราศจากความรู้ ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และศาสตร์อื่นๆ
๓. เกิดจากความต้องการผลตอบสนองของมนุษย์
(๑) ในด้านจิตใจ ที่ก่อให้เกิด ความทุกข์ ความเศร้าหมอง
(๒) ด้านปัญญา ที่ต้องการความรู้ความเข้าใจที่แท้จริง
(๓) การหาคำตอบของปัญหา และชีวิต
(๔) และการในไปสู่ การหลุดพ้น การพ้นทุกข์การไปสู่สุขที่แท้จริงฯ
๔. เกิดจากความรักเคารพเชื่อถือ จงรักภักดีต่อบุคคลสำคัญที่มีอิทธิพลในสังคมหรือการเมือง
ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้อง “สร้างการยอมนับถือจากประชามหาชน”
จึงมีการนำเสนอ “ตน” ไปเข้าใกล้ หรือเป็น “ผู้นำที่สมบูรณ์แบบที่ปฏิเสธไม่ได้” (พระเจ้าฯ)
๕. ฯลฯ
3. ศาสนา กับ ความจริง
๑. เรื่องสำคัญของศาสนา
(๑) เกิดในยุคก่อน “วิทยาศาสตร์”
(๒) เกิดโดย “ผู้นำที่ยิ่งใหญ่แห่งยุคสมัย” ที่มีเหตุปัจจัยกำหนด
(๓) ๒ แบบ ของศาสนา
หนึ่ง มีความเชื่อว่า ผู้ก่อตั้ง หรือเป็นศาสนา เป็นพระเจ้าที่ผู้สร้างและกำหนดโลก
สอง เป็นการค้นพบ “สัจธรรม” ที่มีอยู่ก่อนแล้ว เช่น ศาสนาพุทธฯ
(๔) คำสอน หรือความเชื่อ ในการเกิดใหม่หลังจากตายไปแล้ว คำสอนหรือความเชื่อที่เน้นการใช้ชีวิตในโลกปัจจุบัน
(๕) คำสอนในปัจจุบัน มาจาก “ศาสดา” และผู้นำที่สืบทอดต่อๆ มา
(๖) หัวใจของศาสนาอยู่ที่
หนึ่ง “คำสอนของศาสดาของศาสนา”
สอง “คัมภีร์ หรือ พระไตรปิฎก” ที่มีคำสอนที่ดี ครอบคลุม นำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตได้
(๗) ศาสนา มีส่วนใกล้เคียง แต่มิใช่ “วิทยาศาสตร์” ที่พิสูจน์ที่มาที่ไปได้
(๘) ศาสนา หรือ ศาสนาของศาสนา ถือเป็น “มนุษย์ที่สุดยอดมาก” ในการศึกษาค้นคว้าหาหลักคิด ที่นำมาใช้ในชีวิตจริงได้มาก
(๙) แต่ไม่มีสิ่งใดในโลก หรือมนุษย์ที่เก่งกาจสามารถ ที่จะสมบูรณ์ หรือมีความคิดที่ถูกต้อง ๑๐๐% ฉะนั้น เราต้องจับหลัก แก่นแกน ของศาสนา มาใช้ให้ถูกและสอดคล้องกับชีวิตและสังคม
(๑๐) ศาสนา มีการพัฒนา จากต่ำสู่สูง และถึงจะสูงสุด และจักค่อยลดลง ไปถึงจุดระดับหนึ่งและบางศาสนา หรือลัทธิบางอย่าง หากปรับตัวไม่ได้ หรือไม่เป็นที่ยอมรับของประชาชนก็จะสูญสลาย หรือจบลง แต่ศาสนาหลักๆ ที่มีอยู่ และอยู่ได้มายาวนานหลายร้อยหลายพันปี แสดงถึง “การมีคำสอนที่ดีดำรงอยู่”
๒. การนำมาใช้
(๑) ยึดหลักที่แก่นแกน หรือ หลักของการทำดี ในชีวิต
(๒) เน้นการใช้ในชีวิตประจำวัน ในโลกปัจจุบัน
(๓) สำหรับส่วนรอง หรือ กระพี้ เปลือก ใช้พิจารณาเลือกในสิ่งที่ไม่ขัดกับหลักของศาสนา ไม่เน้นไปที่วัตถุที่เกินเลยไป หรือ อภินิหาร ฯลฯ
(๔) เน้นการปฏิบัติ ให้เกิดประโยชน์และคุณค่าของตน
๓. แนวโน้มของศาสนา
(๑) มีแนวโน้มลดลง สำหรับคนรุ่นใหม่
(๒) แต่มีบางส่วน เน้นไปที่วัตถุ มากขึ้น ในสังคมที่เน้นการบริโภค วัตถุนิยมฯ
(๓) มีหลักการที่ดีอย่างอื่นมาแทน เช่น สิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค เป็นธรรม
(๔) ศาสนาต่างๆ จะมีการปรับตัว ให้สอดคล้องกับสังคมที่พัฒนาไป
(๕) บางศาสนา ถูกนำมาใช้ ในทางการเมือง (ตามความคิดและผลประโยชน์ของผู้นำ)
(๖) ศาสนา ยังคงอยู่ คู่กับสังคมไปอีกยาวนาน
๔. ชีวิตฉัน กับ ศาสนา
(๑) ฉันเคยบวชเป็นพระภิกษุ มา ๑ พรรษา (ปี ๒๕๑๗)
(๒) ฉันเคยศึกษาศาสนาคริสต์ (โรมันคาทอลิก) ในสมัยเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญลำปางตอนเด็ก
(๓) ฉัน เคารพ พระที่เป็นพระแท้ หลายรูป เช่น ท่านพุทธทาส ท่านปัญญาภิกขุ ท่านโพธิรักษ์ ท่านประยุทธโตฯ
(๔) ฉันให้ความเคารพ วัด โบสถ์ และสถานที่ศักดิ์สิทธิของศาสนาต่างๆ
(๕) แต่ ฉันยึดหลักธรรมดีของศาสนาต่างๆ และหลักธรรมที่เป็นวิทยาศาสตร์
(๖) ฉันเชื่อในการเกิดและการตายของมนุษย์ เกิดและตายครั้งเดียว เกิดจากครรภ์มารดา จากอสุจิของพ่อและไข่ของแม่ และจากไปสู่ธรรมชาติ การเกิดมาเป็นมนุษย์ เป็นวิวัฒนาการจากสิ่งมีชีวิตระดับเซลล์ ที่มาจากธรรมชาติ
(6) พื้นฐานที่ดี จาก บ้าน โรงเรียน วัด และมีโอกาสสัมผัสกับผู้นำดีที่เป็นแบบอย่าง
(๑) บ้าน พ่อแม่ (บรรพบุรุษ)
(๒) โรงเรียน (การเรียน)
(๓) วัด หลักศาสนา(คำสอน)
(๔) มีโอกาสสัมผัสกับผู้นำดีที่เป็นแบบอย่าง(การได้ร่วมปฏิบัติ)
(๑) บ้าน พ่อแม่ ( บรรพบุรุษ)
หนึ่ง. วัฒนธรรม และสุขภาพของบรรพบุรุษ ส่งผลต่อเนื่องมาถึงลูกหลาน (การปฏิบัติที่ดีของลูก ส่งผลถึงหลานเหลนฯ)
สอง. การสอนที่เป็นแบบอย่างของพ่อแม่ ครอบครัวที่พ่อแม่ เป็นแบบอย่าง และมีการสอนที่ดีแก่ลูกส่งผลอย่างสูง ต่อ “นิสัยใจคอ ความประพฤติของลูกๆ”
สาม. พ่อและแม่ ต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน พ่อแม่ต้องมีการปรึกษาหารือ ในการสอนลูก ให้ไปในทิศทางเดียวกันพ่อแม่ที่ขัดแย้ง ทะเลาะกัน คิดไม่ตรงกัน จะสร้างผลประทบด้านลบให้ลูก
สี่. ฐานะความเป็นอยู่ เป็นปัจจัย ที่ก่อให้เกิดความพร้อมในการอบรมเลี้ยงดู และการเรียนในโรงเรียนที่ดี รวมทั้งการมีครูดีที่สอนเป็น
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี