l (๒) โรงเรียน (การเรียน)
หนึ่ง. โรงเรียนที่มีหลักคิด หลักปฏิบัติที่ดี ในการอบรมสั่งสอนลูกศิษย์และโรงเรียนในเครือข่ายฯ ที่มีคุณภาพ ช่วยได้มาก ได้ทั้ง การเรียน การประพฤติปฏิบัติระเบียบวินัย หลักคิดที่ดี
สอง. ครูที่ดี สอนเก่ง สอนเป็น สอนหลักคิด ที่ดีที่ถูกแก่ ลูกศิษย์
สาม. เพื่อนร่วมเรียนที่ดี มีส่วนช่วยเสริมและหนุนให้นักเรียน ดี ด้วย
(๓) วัด หลักศาสนา(คำสอน)
วัดที่ดีมีคุณภาพ มีเจ้าอาวาส และพระที่ดี มีน้อยในสังคมไทย เราต้องพิจารณาเลือกวัดและพระ และทางรัฐและรัฐบาล ท้องถิ่น ต้องเข้มงวดเอาจริง ให้ทำหน้าที่ที่ถูกต้องสอนและเป็นแบบปฏิบัติแก่ชาวบ้าน
(๔) มีโอกาสสัมผัสกับผู้นำดีที่เป็นแบบอย่าง (การได้ร่วมปฏิบัติ)
หนึ่ง. เราควรศึกษาให้รับรู้อย่างแท้จริง ว่า“ใครเป็นผู้นำที่เป็นแบบอย่างที่ดี”
สอง. หาโอกาสศึกษาเรียนรู้ และเข้าพบ เพื่อรับฟังฯ
สาม. เราต้องสนับสนุน ปกป้องผู้นำที่ดี ที่ถูกคนไม่ดีรังแก
สี่. เมื่อได้รับคำแนะนำที่ดี นำมาปรับปรุงชีวิตและความคิดตน
ห้า. ร่วมลงมือปฏิบัติด้วย จะเกิดความแจ้งชัดถึงหลักคิดที่ดี การนำมาปฏิบัติฯ
l มนุษย์ กับ ความคิด
l (1) มนุษย์ จำเป็นต้อง มีหลักคิด ในการดำรงชีวิต ที่มีความคิดถูก คิดดีทำดี พัฒนาตนให้มีคุณภาพขึ้นสังคมมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลง ตามวิวัฒนาการของโลกการพัฒนาที่ก้าวหน้าขึ้นของยุคสมัย แต่หลักคิด ความเชื่อของมนุษย์และผู้คน มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปในหลายทิศทางทั้งที่ถูกต้อง ก้าวหน้าขึ้น หยุดนิ่ง หรือ ล้าหลัง ไปชั่วคราว......มนุษย์ จำเป็นจะต้อง ศึกษาเรียนรู้ “ความจริง” เกี่ยวกับ ตัวเอง-มนุษย์ - ชีวิต - และสังคมฯ ที่มีอุปสรรค ความยาก ลำบาก หลากหลายไม่น้อย เช่น
๑. ความจริง
๒. ตัวเอง
๓. ความคิด ความเชื่อ อุดมคติ อคติ อวิชชาฯ
๔. สังคม
๕. โลก
(2) มนุษย์ คิดอย่างไร ในแต่ละยุคสมัย เพราะอะไร?
จะเป็นตัวกำหนด การใช้ชีวิตของมนุษย์ได้หลายแบบ
๑. ใช้ได้อย่างถูกต้อง สอดคล้องกับความเป็นจริง มีเหตุมีผล พิสูจน์ได้
๒. ใช้ได้บางส่วน เพราะติดกับ “อวิชชา อคติ”ของสังคม และตัวคน
๓. ใช้ได้น้อยมาก ด้วยเหตุปัจจัยของ “อำนาจของรัฐ ศาสนา สังคมฯ”
สรุปคร่าวๆ ว่า
๑. ความจริง ที่ถูกต้อง ของความคิดที่ถูกต้อง ที่มีเหตุมีผล
๒. ความจริง ที่มนุษย์ สามารถปฏิบัติได้ ในแต่ละส่วน ที่ต่างกัน
l ซึ่ง ผู้เขียน ขอ นำเสนอ ๒ แนวทาง
๑. ความจริง ที่ถูกต้อง ของความคิดที่ถูกต้อง ที่มีเหตุมีผล
๒. สิ่งที่ มนุษย์ จะสามารถทำได้ ภายใต้เงื่อนไขที่จำกัดของแต่ละส่วน
l ข้อมูล และข้อคิด ประกอบ เรื่องนี้
(1.) “การเปลี่ยนแปลง” ( CHANGE )
(2.) ท่านมหาประยุทธ์ ปยุตฺโต
(3.) หลักคิดที่สำคัญในการดำรงชีวิตและการทำงานได้ดี : สรุปจากประสบการณ์จริงของชีวิต“ชัยวัฒน์ สุรวิชัย”
(4) 6 Change Management Models (โมเดล การบริหารการเปลี่ยนแปลง)
(5.) “คู่มือมนุษย์” ของท่านพุทธทาสฉบับย่อให้ท่านทั้งหลายได้เข้าใจโดยสังเขป โดย คุณปุ่น จงประเสริฐ
l (1) “การเปลี่ยนแปลง” (CHANGE)
มนุษย์ เช่นเดียวกับสรรพสิ่งในโลก ไม่หยุดนิ่งมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดีขึ้น แย่ลง “การเปลี่ยนแปลง” (CHANGE) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา และทำให้สิ่งต่างๆ ไม่อยู่นิ่ง แต่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมไม่ว่าจะเป็น “ความคิดความเชื่อเก่าๆ” ในยุคโบราณ ที่สังคมยังไม่เจริญ มนุษย์ยังล้าหลังหรือ ในสังคมที่เจริญขึ้นด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีใหม่ๆที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีคิด การทำงาน การใช้ชีวิตของผู้คนเปลี่ยนแปลง การเมืองเศรษฐกิจ ประเพณีวัฒนธรรม ความก้าวหน้าของเศรษฐกิจหรือแม้กระทั่งการแพร่ระบาดของโรคที่ส่งผลกระทบต่อองค์กรและแม้กระทั่งวิถีชีวิตของเรา การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ คำคมที่ว่า “ความแน่นอนเดียวในชีวิตคือความไม่แน่นอน” เป็นสิ่งที่สะท้อนถึงความจริงในโลกปัจจุบัน
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Social Change) หมายถึง
การที่ระบบสังคม กระบวนการ แบบอย่างหรือรูปแบบทางสังคม เช่น ขนบธรรมเนียมประเพณีระบบครอบครัว ระบบการปกครองได้เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นด้านใดก็ตาม การเปลี่ยนแปลงทางสังคมนั้นอาจจะเป็นไปในทางก้าวหน้าหรือถดถอย เป็นไปได้อย่างถาวรหรือชั่วคราว โดยการวางแผนให้เป็นไปหรือเป็นไปเองและที่เป็นประโยชน์หรือให้โทษก็ได้ทั้งสิ้น (ราชบัณฑิตยสถาน, 2524)
(2) ท่านมหาประยุทธ์ ปยุตฺโต
พระพุทธศาสนากับสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลง ความจริงสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลงนั้น เป็นเรื่องธรรมดา คือสังคมย่อมเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอตลอดทุกเวลา เราเชื่อในหลักพุทธศาสนา คือ หลักอนิจจัง ความไม่เที่ยง สิ่งทั้งหลายที่เป็นสังขารก็ย่อมมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
(3) หลักคิดที่สำคัญในการดำรงชีวิตและการทำงานได้ดี : สรุปจากประสบการณ์จริงของชีวิต“ชัยวัฒน์ สุรวิชัย” เป็นหลักคิดที่ดีถูกต้อง ปฏิบัติได้จริง
๑.มีความคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์
ความคิดที่มีเหตุมีผล หาที่มาที่ไปได้ พิสูจน์ได้
๒.ความคิดแบบ ENGINEERING THOUGHT INPUT > PROCESS > OUTPUT
๓.ความคิดสังคมนิยม ที่เน้นความเสมอภาค หลักคิดในการมองประวัติศาสตร์ (แบบวัตถุนิยมวิภาษ) การมองภาพรวม ภาพย่อย เรื่องหลัก เรื่องรองฯ
๔.ศักยภาพของความเป็นมนุษย์ ที่สามารถดัด ปรับ แก้ไข “กาย -ใจ” ให้ดีขึ้นได้ ด้วยการปฏิบัติให้ตรงกับอาการ และเงื่อนไขฯ
๕. มีพุทธธรรม คุณธรรม ศีลธรรม คิดดีทำดีสรุปจากความเป็นจริง
๖. ยึดหลักเดินทางสายกลาง ไม่สุดโต่งไม่ขวาจัด หรือ ซ้ายจัด
๗. มีสามัญสำนึกแบบชาวบ้าน
๘. มีความเข้าใจ “สภาพของสังคม ” ในส่วนที่ต้องการแสวงหาฯ อย่างดีถูกต้อง
๙. เคารพความจริง เคารพตนเอง เคารพผู้อื่น
๑๐. การทำให้สังคมดี จะเป็นประโยชน์ต่อตัวเรา และคนในสังคม นั้นๆ
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี