(5) “คู่มือมนุษย์” ของท่านพุทธทาส ฉบับย่อให้ท่านทั้งหลายได้เข้าใจโดยสังเขป โดย คุณปุ่น จงประเสริฐ
มีบทความ ๙ ตอน และสรุป ๑ ตอน
๑ .ชอบพุทธศาสนาในเหลี่ยมไหน..
สรุปว่า ศาสนาเกิดมาจากความกลัวภัยธรรมชาติ ต่อมาก็กลัวทุกข์จากความเกิดแก่เจ็บตาย และมีศาสนาในเหลี่ยมมุมต่างๆ มาเพื่อบำบัดทุกข์ เช่น การถือพิธีรีตอง บูชาบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งพระพุทธเจ้าไม่รับมาไว้ในพุทธศาสนา โดยเหลี่ยมที่สำคัญที่สุดคือ เหลี่ยมที่เป็นศาสนาซึ่งหมายถึงวิธีปฏิบัติโดยรวบรัด เพื่อให้รู้ความจริงในสิ่งทั้งปวงคืออะไรจนถอนความยึดถือหลงใหลออกมาจากสิ่งทั้งปวงได้ หรือถือในแบบศิลปะแห่งการครองชีวิตที่แยบคาย สุขุมมีชีวิตที่น่าชื่นชมบูชาแก่คนทั้งหลาย
๒.พุทธศาสนามุ่งชี้อะไร...
พุทธศาสนามุ่งกำจัดกิเลสโดยสิ้นเชิง รู้อะไรตามความเป็นจริง แล้วความเบื่อหน่าย คลายความอยากและความหลุดพ้นย่อมเกิด เนื่องจาก
(๑) สิ่งปรุงแต่งทั้งปวงเป็นทุกข์
(๒) ความอยากด้วยความไม่รู้เป็นทุกข์
(๓) นิโรธคือดับทุกข์ และ
(๔) มรรคคือแนวทางการดับทุกข์ ความรู้ว่าอะไรเป็นอะไรตามจริงอย่างบริสุทธิ์คือตัวพระพุทธศาสนา
๓.ลักษณะสามัญของสิ่งทั้งปวง...
คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เปลี่ยนแปลงเสมอมีลักษณะเป็นทุกข์ ไม่มีความหมายแห่งตัวตน ไม่น่าเอาน่าเป็น ด้วยตัณหา และติดในวัฏสงสาร ควรกระทำสิ่งทั้งปวงด้วยปัญญาจึงจะไม่ทุกข์
๔.อำนาจของความยึดติด
คือยึดติดในกาม รูปเสียงกลิ่นรสสัมผัสธรรมารมณ์ ยึดความเห็นเดิมๆ ยึดติดในวัตรปฏิบัติที่มุ่งหมายผิดทาง ยึดมั่นในความเป็นตัวตนต้องทำความเข้าใจ เมื่อจิตหลุดพ้นจากอุปาทานได้ก็จะบรรลุอรหันต์ได้...
๕.ขั้นของการปฏิบัติศาสนา
ซึ่งประกอบด้วย ศีล สมาธิ และปัญญา
(๑) ศีลคือการปฏิบัติเพื่อความเรียบร้อยของสังคมทางกายวาจา
(๒) สมาธิ คือการบังคับจิตใจของตัวเองให้อยู่ในสภาพที่จะทำประโยชน์ได้...มากที่สุดตามที่ต้องการ และ
(๓) ปัญญาหมายถึงการฝึกฝนทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจอันถูกต้องและสมบูรณ์ถึงที่สุดในสิ่งทั้งปวงตามความเป็นจริง และสมาธิและปัญญาเป็นสิ่งที่ต้องพึ่งพาอาศัยกัน เมื่อมีสมาธิมากขึ้น ปัญญาก็มากขึ้นตาม เมื่อมีปัญญามากขึ้นสมาธิก็มากขึ้นตาม ดังนี้...
๖.คนเราติดอะไร...
สิ่งที่เป็นที่ตั้งยึดของอุปาทานคือ เบญจขันธ์ ซึ่งหมายถึง ส่วน ๕ ในการประกอบเป็นโลก คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
(๑) รูปคือกายมนุษย์
(๒) คือความพอใจ ไม่พอใจ และเฉยๆ
(๓) สัญญา แปลว่า รู้ตัว ความรู้สึกขณะตื่นอยู่ และจำได้
(๔) สังขาร แปลว่า ปรุง เช่น คิดจะทำ คิดจะพูด คิดดี คิดเลว ความรู้สึกที่เป็นความคิดขึ้นมาเรียกว่าสังขาร...
(๕) วิญญาณ หมายถึง จิตที่ทำหน้าที่รู้สึกทางตา หู จมูก ลิ้น และกายทั่วๆ
รู้ดับทุกข์
(๑) ทั้งรูปกาย
(๒) เวทนาความพอใจ ไม่พอใจ
(๓) ความจำได้หมายรู้
(๔) ความคิดปรุงแต่ง และ
(๕) ความรู้สึกที่จิตได้สัมผัสสิ่งต่างๆ ด้วยอายตนะ
• เป็นสิ่งที่มนุษย์ยึดติดว่าเป็นตัวกูของกู หากพิจารณาแยกตัวมนุษย์ว่าประกอบด้วยขั้น ๕ แล้ว แยกรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ออกมาทีละส่วนก็จะเกิดความรู้แจ้งมากขึ้นว่า ไม่สามารถยึดเอาเป็นตัวตนได้เลย
๗.การทำให้รู้แจ้งตามวิธีธรรมชาติ การทำให้รู้แจ้งโดยวิธีปฏิบัติสมาธิวิปัสสนาทำให้เกิดความสงบระงับมีความผ่องใสเยือกเย็น พร้อมที่จะรับรู้ความรู้แจ้งที่ตรงตามความเป็นจริง ไม่เอา อะไรไม่เป็นอะไร ด้วยกิเลส ตัณหา ที่ทำให้ต้องร้อนใจหนักใจ ช้ำใจ มีสติสัมปชัญญะคุ้มครองจิต มีปัญญาอยู่เหนือสิ่งต่างๆ...ก็จะสามารถนำไปสู่สันติและนิพพานปราศจากเครื่องทิ่มแทงให้เกิดทุกข์ในที่สุด
๘ .การทำให้รู้แจ้งตามหลักวิชา โดยใช้ชื่อว่าวิปัสสนาธุระซึ่งหมายถึงสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา ซึ่งเป็นตัวก่อศีล สมาธิ และปัญญา โดยวิปัสสนามีขั้นแห่งความบริสุทธิ์ ๗ ประการ คือ ...
(๑) สีลวิสุทธิ (ความประพฤติ)
(๒) จิตตวิสุทธิ (จิต)
(๓) วิสุทธิ (ความเห็น)
(๔) กังขาวิตรณวิสุทธิ (สงสัย)
(๕) มัคคญาณทัสสนวิสุทธิ (เห็นแจ้ง)
(๖) ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ (ทางปฏิบัติ)
(๗) ญาณทัสสนวิสุทธิ (อริยมรรค)
และวิปัสสนามี ๔ ตัวที่จะกำจัดกิเลส ๔ ระดับ คือ
(๑) ทิฏฐิวิสุทธิ (หมดความเห็นผิด)
(๒) กังขาวิตรณวิสุทธิ (หมดความสงสัย)
(๓) มัคคญาณทัสสนวิสุทธิ (ความรู้อันสะอาดหมดจดเห็นทางและไม่ใช่ทางที่จะก้าวต่อไป)
(๔) ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งความรู้ความเห็นในตัวทางแห่งการปฏิบัติ)
• วิปัสสนาญาณ ๙ เป็นตัวที่
(๑) เพ่งพิจารณาความเกิด-ดับ
(๒) เพ่งพิจารณาความดับฝ่ายเดียว
(๓) ความน่ากลัวแห่งความมี ความเป็น
(๔) เห็นโทษของสังขาร (ปรุงแต่ง) ทั้งปวง
(๕) เกิดความเบื่อหน่าย (นิพพิทาญาณ)
(๖) ปรารถนาจะพ้นทุกข์
(๗) กำหนดพิจารณาหาทางหลุดรอด
(๘) วางเฉยในสิ่งทั้งปวง
(๙) ความเห็นพร้อมที่สุดที่จะรู้อริยสัจ
สุดท้าย วิปัสสนาตัวที่ ๕ และวิสุทธิอันดับ ๗ คือ ญาณทัสสนวิสุทธิ หมายถึง ความหมดจดแห่งความเห็นที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นที่สุดแห่งอริยมรรคญาณ และหน้าที่ของวิปัสสนา คือ กำจัดความโง่ ให้เกิดรู้แจ้งแทงตลอดในสิ่งทั้งปวง กำจัดกิเลสให้สิ้น หลุดพ้นโลก ไม่มีความอยากใดๆ อีกต่อไป....ยาระงับทุกข์
๙ .ลำดับแห่งการหลุดพ้นจากโลก...โลกแบ่งเป็นโลกียภูมิ และโลกุตรภูมิ...โลกียภูมิ เป็นภาวะจิตที่พอใจในสิ่งทั้งปวง
(๑) พอใจในกาม (กามาวจรภูมิ)
(๒) พอใจในรูป (รูปาวจรภูมิ)
(๓) พอใจในสิ่งที่เหนือกว่ารูป(อรูปามาวจรภูมิ) ชั้นนี้ยังยึดถือตัวตนและตัณหาอยู่...
• โลกุตรภูมิ เป็นภาวะจิตที่อยู่เหนือวิสัยชาวโลก เป็นขั้นที่ไปสู่อริยบุคคล แบ่งเป็น ๔ ชั้น คือ โสดาบัน สกนาคามี อนาคามี และพระอรหันต์ ซึ่งเป็นภาวะของอริยบุคคลทั้งสิ้น
• โดยมีขั้นที่ต้องละสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ลำดับให้ได้คือ
(๑) โสดาบัน ละ ๑.สักกายทิฏฐิ ๒.วิจิกิจฉา ๓.อตปรามาส ได้
(๒) สกนาคามี ละ ๑.สักกายทิฏฐิ ๒.วิจิกิจฉา ๓.สีลัพตปรามาส ได้ และโลภะ โทสะ โมหะ บางส่วน
(๓) อนาคามี ละ ๑.สักกายทิฏฐิ ๒.วิจิกิจฉา ๓.สีลัพตปรามาส ๔.กามราคะ ๕.ปฏิฆะ
(๔) พระอรหันต์ ละ เพิ่มจากอนาคามี และ ๖.รูปราคะ ๗.อรูปราคะ ๘.มานะ ๙.อุทธัจจะ และละอวิชชาเป็นตัวสุดท้าย...
• บุคคลในโลกุตรภูมิ มีจิตเหนือโลกทั้ง ๔ นั้น เป็นผู้มีทุกข์น้อยลงตามสัดส่วนจนหมดทุกข์ สิ่งต่างๆ ในโลกียภูมิ เป็นที่ตั้งของความพอใจ ไม่พอใจ จะไม่สามารถครอบงำท่านเหล่านี้ได้อีกต่อไป....
• คู่มือมนุษย์ของท่านพุทธทาสเล่มนี้ ... แม้จะมีศัพท์แสงทางพุทธศาสนาอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ก็นับว่าเป็นพื้นฐานการทำความเข้าใจพุทธศาสนาเป็นเบื้องต้นเป็นอย่างดี
หากทำความเข้าใจไปทีละน้อย ก็จะเหมือนการกำจัดกิเลส ความอยากในตัวเราไปทีละนิด จนกระทั่งนำไปสู่การรู้แจ้ง และทำให้ทุกข์ที่เกิดขึ้นกับเราเบาบางได้ในที่สุด
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี