บทความสองตอนที่แล้ว ได้เขียนถึงกฎหมายที่ออกมาในยุคเผด็จการตั้งแต่สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งมีลักษณะเป็นทั้งคำสั่งและประกาศของคณะปฏิวัติแต่ก็มีผลและสภาพเป็นกฎหมาย ซึ่งโดยทั่วไปมักจะมีรูปแบบในการเขียนดังนี้
อย่างไรก็ดี...รูปแบบของคำสั่งหรือประกาศคณะปฏิวัตินั้น หาใช่เป็นรูปแบบกฎหมายที่แท้จริงไม่
ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อได้มีการปรับปรุงระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน โดยเฉพาะกระบวนการยุติธรรมให้ทันสมัยเยี่ยงนานาประเทศ ศาลยุติธรรมได้วินิจฉัยคดีตามหลักนิติศาสตร์ของอารยประเทศ คือพระบรมราชโองการใดๆ ของพระมหากษัตริย์จะเป็นคำสั่งหรือ คำบังคับปวงชน ได้นั้นต้องตราเป็น “บทกฎหมาย” คือ พระราชบัญญัติพระราชกฤษฎีกา พระราชกำหนด ประกาศพระบรมราชโองการ และถ้าพระราชดำรัสหรือพระราชหัตถเลขา ซึ่งเป็นเพียงความเห็นของพระองค์นั้นขัดแย้งกับบทกฎหมายที่พระองค์ทรงบัญญัติขึ้นก็ดี หรือที่พระมหากษัตริย์ปางก่อนทรงบัญญัติขึ้นก็ดี ยังมิได้ยกเลิกนั้นก็ต้องเชื่อถือตามบทกฎหมายใหญ่ๆ มิใช่พระมหากษัตริย์ตรัสคำใด ก็แก้บทความหมายมิได้
ก่อนการประกาศใช้พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. ๒๔๗๕ รูปแบบในการประกาศใช้กฎหมายเป็นไปในทำนองรับพระบรมราชโองการมาประกาศ และไม่มีการลงนามในการประกาศด้วย ซึ่งพอจะอนุมานแบบได้ดังนี้
ภายหลังจากการประกาศใช้พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๗๕ แล้ว แบบกฎหมายได้เปลี่ยนไปตามพระราชบัญญัติ
ดังกล่าว โดยมีพระปรมาภิไธย และผู้รับพระบรมราชโองการ พออนุมานแบบได้ดังนี้
อนึ่ง เมื่อได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม (พุทธศักราช ๒๔๗๕) แล้ว “ผู้รับพระบรมราชโองการ” ได้เปลี่ยนเป็น “ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ” ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม ต่อมา เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๘ เสด็จกลับมาประทับในประเทศสยาม และปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้วยพระองค์เอง จึงได้มีการวางแบบกฎหมายเพิ่มเติม ตามรูปแบบดังนี้
ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ร่างพระราชบัญญัติที่ถือเป็นกฎหมายอันมีความสำคัญนั้นจะตราขึ้น ก็แต่โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภาเท่านั้น ซึ่งเมื่อได้ผ่านขบวนการนิติบัญญัติของรัฐสภา หรือในกรณีที่เป็นกฎหมายของฝ่ายบริหารอันได้แก่ พระราชกำหนด หรือ พระราชกฤษฎีกา นายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยและบทกฎหมายพระราชหัตถเลขาหรือพระบรมราชโองการใด อันเกี่ยวกับราชการแผ่นดินนั้น จะต้องมีนายกรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
จากตัวอย่างรูปแบบของกฎหมายข้างต้นนั้นจะเห็นได้ว่า ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ก็ดี สมัยระบอบประชาธิปไตยก็ดี รูปแบบกฎหมายนั้นจะต้องตราขึ้นโดยการลงปรมาภิไธยอันต่างจากคำประกาศหรือคำสั่งของคณะปฏิวัติ
อย่างไรก็ดี ขั้นตอนในการเสนอร่างกฎหมายต่อองค์พระมหากษัตริย์เพื่อทรงลงพระปรมาธิไธยจะต้องมีใบปะหน้ารูปแบบดังตัวอย่างต่อไปนี้แนบไว้ด้วย
ศาสตราจารย์พิเศษ
ดร.ปรีชา สุวรรณทัต
หมายเหตุ :
รายละเอียดเรื่อง การร่างกฎหมายไทย ดูเพิ่มเติมได้จากเอกสารวิจัยส่วนบุคคลของนายปลั่ง มีจุล อดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรีหลายสมัยที่ทำเสนอต่อวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ประจำปีการศึกษา ๒๕๐๘
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี