l 1. ชราชนวัย ๗๖ จะเดินต่อไปอีกก้าว.....ในปีใหม่ ๒๕๖๘ มีทั้ง ความง่าย และ ความยาก
๑.ความง่าย
ด้วยการมีประสบการณ์มาแทบทุกรูปแบบของชีวิตของคนมีอุดมคติในยุค ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ คือ
(๑) การมีประสบการณ์ ที่ “ไม่เคยมีอะไรที่ง่ายในชีวิต ในการเข้าถึงความสำเร็จ” และที่มีคุณค่าไม่น้อย คือ ในส่วนที่ยังไม่บรรลุเป้าหมายซึ่ง มิใช่ “ล้มเหลว” แต่ไปได้น้อยมาก และต้องล้มลงคลุกคลานในหลายกรณีหลายครั้ง ต้องเสียน้ำตาในใจ “เมื่อมิตรสหายผู้กล้า ต้องเสียสละไป” ต้องลุกขึ้นใหม่ เช็ดเลือดและบาดแผลทั้งกายและใจ ก้าวเดินต่อไปการเข้าร่วมเหตุการณ์ประชาธิปไตยที่สำคัญของบ้านเมืองอย่างเป็นกระบวนการเริ่มต้น ร่วมต่อสู้ในท่ามกลางสถานการณ์สู้ จนจบเหตุการณ์เป็นการทำงานอย่างช้าๆ คิดไปก้าวไป สรุปบทเรียนไป ไม่หยุดไม่ท้อถอย จนถึงปลายทางคงมาจาก “คำขวัญของโรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง”
วิริยะ อุตสาหะ นำมาซึ่งความสำเร็จ ด้วยชีวิต ไม่เคยได้อะไรมาอย่างง่ายๆ แต่ใช้ “สติปัญญา ความเพียร และความจริง”เป็นตัวผลักดัน ให้ก้าวไปทีละก้าว ของงานฯการทำงานเช่นนี้ทำให้เราเข้าใจ “งาน” ที่เป็นจริงเห็นภาพรวม ภาพเฉพาะตัวหลัก ตัวรองฯ
(๒) การสรุปบทเรียนไปทุกเรื่อง ของช่วงการเดินทางไกลที่ค่อยๆ เรียนรู้และพัฒนาไป ถูก ผิด
เสริมถูก : ให้ดีขึ้น
ลดผิด : ให้ผิดน้อยลง ไปสู่พยายามไม่ให้ผิดพลาดการใช้ปัญญา ความจริง นำ ช่วยให้เราเรียนรู้หลักคิดและการทำงานที่ดี ถูกฯ
แต่เมื่อได้ศึกษาเรียนรู้ “ธรรม” และ “หลักคุณธรรมประจำใจ”***รวมทั้งการมี “อิสระ” ในการทำงานทำให้เราได้พัฒนา “ใจ” ไปควบคู่กับ “กาย”
ทั้งสองข้อ ทำให้เรา “ทำงาน และทำงานต่อไป” ด้วยความง่ายขึ้น
๒.ความยาก
การทำความดี โดยเฉพาะในเรื่องอุดมคติ เพื่อสร้างสังคมประชาธิปไตยเพื่อคนส่วนใหญ่มีอุปสรรค ปัญหามากมายบนเส้นทางเดิน ทั้งที่ผ่านมา และกำลังจะก้าวต่อไป
(๑) กำลัง และ พลังแห่งความดี คนดี ที่ปรารถนาจะคิดและทำเรื่องที่ดีต่อส่วนรวมและบ้านเมือง
มีน้อย น้อยมาก เมื่อเทียบกับ “ฝ่ายอำนาจ” ที่ยังคงอำนาจและผลประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้องในหลายด้านหลายเรื่อง :อำนาจ ทุน สื่อ นักวิชาการ มวลชน และที่สำคัญ คือ ใช้ “กฎหมาย และกระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือ”ลฯ เขา : ทำ ทั้งถูกกฎหมาย และผิดกฎหมายและไม่ยอมรับกระบวนการยุติธรรม
(๒) ระบบโครงสร้างของสังคม ที่เหลื่อมล้ำ ไม่เสมอภาค เป็นธรรม เป็นเครื่องมือสำคัญ ที่ช่วยให้ “เขา และ เขา” ได้เปรียบในแทบทุกด้าน :-“การเข้าสู่อำนาจรัฐ” “การใช้อำนาจรัฐ”และ “การตรวจสอบอำนาจรัฐ”
(๓) คุณภาพของประชาชน ที่อ่อนแอ ไม่มีพลังในการเปลี่ยนแปลง มิได้เป็นพลเมือง (Active Citizen) คือ ไม่อิสระ พึ่งตนเองไม่ได้ ไม่มีส่วนร่วมฯ อันเกิดจากระบบและโครงสร้างไม่เป็นธรรม : ตามที่กล่าวมาใน (๒) และการไม่พัฒนา “คุณภาพของประชาชน” ในการบริหารประเทศอย่างที่มีคำกล่าวว่า : -
“พระราชาให้เบ็ด แต่นักการเมืองแจกปลา” นักการเมืองและทุนการเมืองที่ไม่ดี ไม่ต้องการให้ประชาชนมีคุณภาพ“ไม่คิดเอง ไม่อิสระ ทำตามที่เขาต้องการ เพราะเขาให้เงิน ให้ของและให้ไปตลอด” โดยที่ประชาชนเสียสิ่งที่มีคุณค่าใหญ่ยิ่ง คือ “สมบัติและทรัพยากรของชาติ” โดยแลกกับ “เบี้ย และเศษของเงินทอง” ที่นักการเมือง โยนมาให้
(๔) อีกทั้ง “เพื่อนมิตรสหายบางส่วนที่เคยมีอุดมคติ” เก็บอุดมคติ ไว้ในลิ้นชักก่อนหันกลับไป ร่วมกับ “พวกเขา” เพื่อการอยู่รอด การเข้าสู่อำนาจฯที่ต้องยอมไปรับใช้เขา รวมทั้ง“เพื่อนมิตรบางคน” ที่เข้าสู่วัยสูงอายุมีปัญหาสุขภาพ หรือต้องการหาความสุขในวาระสุดท้ายของชีวิตกับครอบครัวก็หยุดไปลฯ
(๕) ยุคสมัยที่แปรเปลี่ยนไป ซึ่งมีทั้งแง่บวกและลบ
พวกเขา ได้ชิงความได้เปรียบ ในการใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร และสื่อต่างๆ ไปใช้ได้มากกว่า
(๖) อีกเรื่องหนึ่ง คือ
“ความจำกัดทางความคิดของผู้นำในการเคลื่อนไหวไปสู่ประชาธิปไตยที่แท้จริง”
ในเรื่องของประสบการณ์ การติดตามข้อมูลข่าวสาร การวิเคราะห์การนำการเคลื่อนไหวฯทำให้ใช้กรอบคิดและการเคลื่อนไหวแบบเดิมๆ ไม่มีการวิเคราะห์ สรุปบทเรียน “ของเหตุการณ์ที่ผ่านมาในอดีต “ถึง” ข้อดีข้อเสีย จุดแข็งจุดอ่อนลฯ “ยังคงเดินย้อยรอยอดีต ที่ไม่สามารถนำพาไปสู่ทางออกได้”
(เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ ของสังคมไทย ที่เป็นมายาวนาน)
l 2. การจะก้าวไปข้างหน้า ต้องหันกลับไปดูข้างหลัง ที่เราก้าวผ่านมาในปีที่แล้ว
(๑) ชีวิตตัวเอง
ในวัยที่เข้าสู่ความชรา ร่างกายอาจจะเสื่อมทรุดลงไปไม่มากก็น้อยแต่ที่สำคัญ “พลังใจ พลังความคิด” เรายังคงอยู่ “ไม่เสื่อมทรุดลงไป แต่กลับจะมีมากขึ้น” ทำให้เรา “สามารถทำงานหนัก เอาจริง ต่อเนื่อง” ได้โดยทำมายาวนาน หลังเกษียณ หยุดงานอาชีพในการหารายได้มาทำงานตามอุดมคติ โดยใช้ “ทุน” ที่หามาได้ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตใช้อย่างประหยัดมัธยัสถ์ ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ในการดำรงชีวิตและการทำงาน
-การมีปัญหาสายตา มองถนนหนทางไม่ชัด อันอาจจะเสี่ยงกับอุบัติเหตุ
-การต้องการประหยัดในการเดินทางไปทำงาน จึงขายรถยนต์ส่วนตัว แล้วกลับมาเดินทางด้วย “เดินทาง รถเมล์รถทัวร์ฯ” การกินการอยู่อย่างง่ายๆ ทำกินที่บ้านเป็นส่วนใหญ่ กินอาหารราคาประหยัดฯทำให้ “ทุน” ที่มีอยู่ คงจะพอเพียงกับ การใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ได้
(๒) การมีอิสระในการใช้ชีวิตในวัยชรา
ด้วยการจัดการเรื่องลูกในบางส่วน ที่มีส่วนให้ลูก ก้าวเดินต่อไปได้ด้วยตนเองและ “แม่ของลูก” ซึ่งเป็นคนเก่ง มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ ซึ่งยังคงทำงาน และพัฒนายกระดับการทำงานไปได้ด้วยดี ทำให้เรา อยู่ในจุดยืน “ที่มีอิสระ” ที่จักทำตามความคิดของเราได้
ช่างเวลาร่วม ๒๐ ปีที่ผ่านมา เราสามารถทำงานได้อย่างอิสระ
-การใช้เวลาติดตามข่าวสารข้อมูลต่างๆ อย่างรอบด้านของบ้านเมือง
-การที่ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น จากเพื่อนมิตรที่หลากหลาย
-การได้รับข้อมูลและข้อแนะนำ จากผู้ใหญ่ที่ดี ในเรื่องข้อมูลเฉพาะ
-การไปงานศพเพื่อนมิตร รุ่นพี่ รุ่นน้อง ที่จากไป ทำให้เข้าใจสัจธรรมของชีวิตมากขึ้นซึ่งเราได้ทำอย่างสม่ำเสมอทำด้วยความรักความสุขทำในเรื่องที่สังคมขาดแคลน ในเรื่อง “ข้อมูลข่าวสารและการขับเคลื่อน”
(๓) การช่วยเหลือเพื่อนมิตรที่ทุกข์ ขาดแคลนในยามชรา และยามมีปัญหา
สิ่งหนึ่งที่ได้มาจาก “พ่อแม่ ครู พระ” รวมทั้งจากประสบการณ์ในการต่อสู้โดยเฉพาะ “อารมณ์รักต่อเพื่อนมิตร” มิตรภาพ จาก “การให้” ให้คำแนะนำ ให้ความช่วยเหลือ“มิตรสหาย” ในยามมีทุกข์ ช่วงเวลาที่เข้ากับคนอื่นไม่ได้ และในช่วงหลัง “เรื่องการเงิน” จากปัญหาสุขภาพ การขาดรายได้ในบั้นปลายชีวิตตัวเรา ที่มีเงินจำกัด แต่ก็ได้ใช้วิธี “ยิงปืนนัดเดียว ได้นกสองตัว”
หนึ่ง เขียนหนังสือที่ดีมีคุณค่า ด้วยหลักวิชาการ ที่ยึดข้อเท็จจริง
สอง นำรายได้จากการจำหน่ายและการสนับสนุนฯ มาตั้งเป็นกองทุนเพื่อนช่วยเพื่อน
ปี ๒๕๕๙ ทำมาครั้งหนึ่ง ได้เงินหลังจากหักค่าพิมพ์ค่าส่งหนังสือ ๑ ล้านบาท ช่วยเพื่อนได้ ๑๐๐ ราย (มีรายที่ซ้ำกัน)รายละ ๑ หมื่นบาท ในเวลา ๕ ปี
ปี ๒๕๖๗ ทำอีกครั้ง “หนังสือ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖” ได้เงินหลังจากหักค่าใช้จ่ายฯ ประมาณ ๕ แสนบาท คงจะเริ่มช่วย “เพื่อนที่ทุกข์และลำบาก” ได้อีกจำนวนหนึ่ง โดยจะเริ่มต้นปี ๒๕๖๘
ปี ๒๕๖๘ ทำอีกเล่มหนึ่ง ออกต้นปี ๒๕๖๘ เป็น “ข้อมูลแนวคิดการใช้ชีวิตและการทำงาน” เพื่อเพิ่มเติมให้ใกล้เคียงกับครั้งแรก แต่ก็ไปตามสภาพฯ
l 3. การเริ่มต้นปี ๒๕๖๘ เอาฤกษ์เอาชัยที่ดี งดงาม และสร้างพลังกำลังใจในการทำงานฯ
(๑) เริ่มจากปลายปี ได้ไปร่วมกิจกรรมที่ดี แห่งมิตรภาพ กับมิตรเก่าแก่ นักเรียนเก่าที่จังหวัดลำปาง
(๒) คุยแลกเปลี่ยนการใช้ชีวิตและงาน กับ “เพื่อนที่ร่วมอุดมคติ” มายาวนาน ในสวนทุเรียนฯได้ข้อสรุปขั้นต้น
ยามชราคิด&ทำอะไรมีคุณค่า
๑.เป็นหมอดูแลสุขภาพกาย
๒.เป็นครูคลายบทเรียนชีวิต
๓.เป็นต้นคิดทำงานอดิเรก
๔.เป็นผู้ร่วมเสกสร้างสังคมใหม่
๕.เป็นอะไรก็ได้ตอบแทนสังคม
(๓) วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๘ เดินทางไปพระบรมมหาราชวัง ด้วยรถเมล์ เพื่อไป “ลงนามถวายพระพรฯ ในนามของครอบครัว ๔ คน และรับปฏิทินหลวง พุทธศักราช ๒๕๖๘”พระราชทาน สำหรับความสุขปีใหม่
เป็นความงดงามของชีวิต ที่จักใช้เวลาอีก ๑ ปี (ตลอดปี ๒๕๖๘)
เพื่อส่วนรวมและบ้านเมือง
ด้วยสติปัญญา ความจริง และความรักความสุขสงบของชีวิตตามกำลังความสามารถของชราชนวัย ๗๖ คนหนึ่ง
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี