1.จากชีวิตที่ผ่านมา ด้วยความรัก มุ่งมั่น เอาจริง เพื่อพัฒนาตนเอง ส่วนรวมและบ้านเมือง เรื่องราวและงาน ตามข้างนี้มาทบทวนเป็นประจำ และมีส่วนสำคัญให้เข้าใจ “พุทธธรรม”ในชีวิตดีขึ้น เพราะการผ่านมาได้ และส่วนที่ประสบผลสำเร็จ เกิดมาจาก “การมี และ เข้าใจ เข้าถึง ธรรม”
๑.ป๋าแม่ บรรพบุรุษ ตายาย ฯ ร้านชัยประสาน ณ จังหวัดลำปางฯ ที่เป็นแบบอย่าง รูปธรรม ในการดำเนินชีวิต ด้วยความรักมุ่งมั่นเองจริง เรียบง่ายฯ ผ่าน โรงเรียนอรุโณทัย โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง ปี ๒๕๐๗
๒. การพึ่งตนเอง เรียนรู้ ด้วย ความวิริยะ อุตสาหะ “นำมาซึ่งความสำเร็จ” ณ กรุงเทพมหานคร ผ่านกิจกรรมในโรงเรียนเตรียมอุดมพญาไท คณะวิศวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และการใช้ชีวิตท่องเที่ยวชมสถานที่ต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร เป็นการเรียนรู้ชีวิตที่เป็นจริง
ปี ๒๕๐๘ - ๒๕๑๐ – ๒๕๑๕ = ๒ + ๖ = ๘ ปี
๓. การได้คิด ทำงานบุกเบิก อย่างค่อยเป็นค่อยไป เป็นกระบวนการ ในเรื่องของสังคม การเมืองไทย
หลังจากจบการศึกษา โดยใช้เวลา ๖ ปี จากหลักสูตร ๔ ปี (ทั้งเรียน และ ทำกิจกรรม)
กิจกรรมเกี่ยวข้องกับประชาธิปไตยไทย : จาก“เริ่มต้น > ท่ามกลาง > สุดปลายทาง”
(๑) กลุ่ม ปช.ปช. : กลุ่มประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
(๒) กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ
(๓) โรงเรียนพลตำรวจบางเขนฯ
(๔) เหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖
(๕) ร่วมก่อตั้ง พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย
เวลาที่ผ่านไป ๒๕๑๖ - ๒๕๑๙
๔.ชีวิตแนวร่วมฯการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ในชนบท ๗ สิงหาคม ๒๕๑๙-เมษายน ๒๕๒๔ในนามพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย ในสถานการณ์ ปฏิวัติ
ผู้ที่มี ธรรม จะใช้ชีวิต ร่วมภารกิจกับ “ผู้อื่น” ได้ด้วยใจสงบสุข รับความเป็นจริงได้ดี
๕.ชีวิตในเมืองหลังจาก คืนป่าสู่เมือง : งานอาชีพ สร้างครอบครัว บุตร หลาน
เมษายน ๒๕๒๔ - มกราคม ๒๕๖๘
สร้างเสริมประสบการณ์ที่เป็นจริง จากการทำงานหนัก เอาจริง ด้วยความรักและความสุข
(๑) งานอาชีพวิศวฯ นายช่างโครงการ
(๒) งานประกันชีวิต กับภรรยาฯ
(๓) งานภาคประชาชน หลากหลาย เคลื่อนไหวทั้งในและต่างประเทศ
(๔) เข้าร่วมกับพรรคพลังธรรม
(๕) การศึกษาดูงานในต่างประเทศ หลายประเทศ หลายทวีปฯ
(๖) งานการเมืองประชาธิปไตย แทบทุกเหตุการณ์
(๗) งานนักวิชาการ การข่าวสาระอิสระ (ปัจจุบัน)
๖.งานเกี่ยวกับชีวิต ธรรม สุขภาพ กายใจ ด้วยความคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ มีเหตุปัจจัยอธิบายได้จากการได้ผ่านงานต่างๆ มา ได้ศึกษาเรียนรู้ มาสรุปทบทวนเป็นระยะ
-การได้รับรู้ใน ระหว่างการทำงาน
-การได้กลับมาสรุปทบทวน
-การนำมาพัฒนาต่อยอดใช้ในชีวิต
(๑) ชีวิตที่เป็นแบบอย่าง จากพ่อแม่ครูพระ และผู้นำสังคมที่เป็นแบบอย่างและกัลยาณมิตร
(๒) การทำงานอย่างเป็นกระบวนการ จากงานทั้งหมดที่ผ่าน ทำให้เข้าใจภาพรวม
(๓) การบวช เป็นพระภิกขุ (พระชัยวัฒน์ อิสรธัมโม) ในช่วงเข้าพรรษา ปี ๒๕๑๗
บวช ที่วัดเชียงราย ลำปาง จำพรรษา ที่วัดชลประทานรังสฤษดิ์ กับหลวงพ่อปัญญา
(๔) การได้ร่วมรับฟังคำสอนและการปฏิบัติของท่านพุทธทาส ท่านปัญญา พ่อครูโพธิรักษ์ ท่านประยุทธโตฯ
การศึกษา แนวทางและ หลักการ “พุทธศาสนา” จากหนังสือ ตำรา และการแลกเปลี่ยนที่หลากหลาย
(๕) การศึกษา การเข้าใจธรรม จากการยึดหลัก“ทิ้งกากเอาแก่น” ด้วยหลักคิดที่สำคัญของชีวิตที่เป็นจริง
ด้วยสติปัญญา ความจริง ที่พิสูจน์ที่ไปที่มา
(ให้ได้มากที่สุด)
(๖) ด้วยหลักคิดที่สำคัญของชีวิตที่เป็นจริง
หลักคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์
หลักคิดวิศวกรรมศาสตร์ (Engineering Thought) INPUT > PROCESS > OUTPUT
การกำเนิดของมนุษย์ และสิ่งมีชีวิต
การพัฒนาของความรู้และความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีต่างๆ
หลักพุทธธรรม
หลักสามัญสำนึก
2.กลับมาคุยแลกเปลี่ยนกัน ในเรื่อง “หลักของพระพุทธศาสนา”
l ๑ l ศาสนาพุทธ คืออะไร? : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้างและเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่า “ทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ด้วยความเพียรของตน” กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตามกฎแห่งกรรม
(๑) มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายคือ
(๒) ให้พึ่งตนเอง
(๓) เพื่อพาตัวเองออกจากกอง ทุกข์
มีจุดมุ่งหมายคือการสอนให้มนุษย์หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงในโลก ด้วยวิธีการสร้าง ปัญญา ในการอยู่กับความทุกข์อย่างรู้เท่าทันตามความเป็นจริง
วัตถุประสงค์สูงสุดของศาสนา
คือการหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงและวัฏจักรการเวียนว่ายตายเกิด เช่นเดียวกับที่พระศาสดาทรงหลุดพ้นได้ด้วยกำลังสติปัญญาและความเพียรของพระองค์เอง ในฐานะที่พระองค์ก็ทรงเป็นมนุษย์ มิใช่เทพเจ้าหรือทูตของพระเจ้าองค์ใด
นิกาย
(๑) เถรวาท :
ที่ยึดหลักไม่ยอมเปลี่ยนแปลงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าพระธรรมวินัยที่พระองค์ทรงสั่งสอน ได้ถูกรวบรวมเป็นหมวดหมู่ด้วยการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งแรก จนมีการรวบรวมขึ้นเป็นพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นหลักการสำคัญที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาตลอด
(๒) มหายาน :
ในการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่สอง ได้เกิดแนวคิดที่เห็นต่างออกไปว่าธรรมวินัยสามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ตามเวลาและสถานการณ์เพื่อความอยู่รอดแห่งศาสนาพุทธ
หลักพื้นฐานสำคัญของปฏิจสมุปบาท เป็นเพียงหลักเดียวที่เป็นคำสอนร่วมกันของคติพุทธ ด้วยมีผู้นับถือในหลายประเทศ ศาสนาพุทธจึงเป็นศาสนาสากล
l ๒. ความคิดความเชื่อ ตามหลักของพุทธศาสนา
(๑) ความโดดเด่น ของพุทธศาสนา
พระพุทธเจ้า เป็นมนุษย์ เช่นเดียวกับคนทั่วไป
คำสอน เป็นการค้นพบสัจธรรมความจริงของชีวิตโดยเฉพาะมนุษย์ ในการแก้ทุกข์สู่สุขสงบฯ
เมื่อคนศึกษา เรียนรู้ ปฏิบัติ สามารถ เข้าใจ เข้าถึงและพัฒนาความคิดจิตใจได้ด้วยตนเอง
มีศาสดา คือ พระพุทธเจ้า
มีธรรม หลัก คือ พระไตรปิฎก และพระธรรม คำสั่งสอนฯ เป็นธรรมชาติของมนุษย์ (ไม่มีปาฏิหาริย์ เหนือธรรมชาติใดๆ)
(๒) ความคิดหลากหลายของคนที่นับถือพุทธศาสนา
หนึ่ง ยึดหลักธรรม เป็นหลักการปฏิบัติ การสั่งสอนฯ
สอง ยึดหลักธรรม ที่ควบคู่กับ สภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
สาม ยึดหลักธรรม คู่ไป กับวัตถุ
สี่ เน้นวัตถุ มากกว่าหลักธรรม
(๓) ความเชื่อของผู้คนในบางเรื่องต่อพุทธศาสนา ถูก หรือ ผิด
หนึ่ง พระพุทธเจ้า เน้น การคิด การกระทำ ในปัจจุบัน เป็นหลัก
สอง มีชาตินี้ ชาติหน้า
สาม ชีวิตเป็นไปตามสภาพความเป็นจริงของโลกและสังคม
สี่ มีปาฏิหาริย์
ห้า มีไสยศาสตร์
(๔) หลักคิด หลักปฏิบัติของพระ และฆราวาสบางส่วน
หนึ่ง ยึดหลักธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นหลัก
สอง ให้ความเคารพ ต่อ “วัตถุที่สำคัญ” ที่เกี่ยวโยงกับพระพุทธเจ้าและศาสนาพุทธซึ่งมีทั้ง “ให้ความเคารพ” แต่ปฏิบัติตามหลักธรรมฯ และเชื่อ ให้ความสำคัญต่อ “วัตถุที่สำคัญฯ” เทียบเท่า “หลักธรรมฯ”
สาม คล้อยตามสังคมฯ ที่มีแนวโน้ม ไปในเรื่อง “วัตถุ” มากกว่า “หลักธรรม”
สรุป การนับถือ “พุทธศาสนา” ขึ้นกับ
(๑) ความรู้ ความคิด และหลักคิดของ ศาสนา นิกาย พระ วัด และบุคคล ต่างๆ
(๒) สภาพของสังคมที่แตกต่างกัน
(๓) คนที่ยึดหลักธรรมฯ จะมุ่งไปยัง “การปฏิบัติ” ที่ทำให้ตน ลดทุกข์ สุขสงบ
(๔) พุทธศาสนา ที่ยึดแก่นธรรม มีแนวโน้มจะได้รับการยอมรับมากขึ้นด้วยสามารถ เข้ากับ หลักวิทยาศาสตร์ และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีฯและขึ้นกับคุณภาพมากขึ้นของประชาชน ที่สามารถเรียนรู้และเข้าใจ รวมทั้งนำมาปฏิบัติได้จริงในชีวิต
(๕) การคิด และการปฏิบัติ เกิดสุขสงบ และพัฒนาชีวิตและใจ ให้ดีขึ้นได้จริง
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี