แนวหน้าหนังสือพิมพ์คุณภาพ ทุกบรรทัดคือสาระ และข้อเท็จจริง...
nn ปัญหาที่ดินอัลไพน์ เดินทางมาถึงจุด หัวเลี้ยวหัวต่ออีกครั้ง หลังจาก “ชํานาญวิทย์ เตรัตน์” รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้เซ็นเพิกถอนการจดทะเบียนฯและนิติกรรมต่างๆ ในที่ดินสนามกอล์ฟอัลไพน์กลับคืนเป็นที่ธรณีสงฆ์แล้ว ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคมที่ผ่านมา และก็ยังได้วางแนวทางเอาไว้ให้ “กรมที่ดิน” ปฏิบัติหลังจากนี้ด้วยกันทั้งสิ้น 4 ข้อ...
nn ที่น่าสนใจก็คือ แนวทางปฏิบัติข้อที่ 4 ซึ่งระบุว่า “เมื่อที่ดินตกเป็นของวัดธรรมิการามวรวิหารแล้ว วัดสามารถนำที่ดินดังกล่าว ให้ผู้ครอบครองคนปัจจุบันเช่า หรือออกหนังสือรับรองทรัพย์อิงสิทธิ เพื่อโอนสิทธิให้แก่ผู้ครอบครองคนปัจจุบัน หรือโอนที่ดินโดยการตราเป็นพระราชบัญญัติ ตามมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตามหนังสือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาที่ นร 0601/908 ลงวันที่ 1 เมษายน 2545 ข้อ 6...
nn ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเพิกถอนรายการจดทะเบียนที่ดินและโฉนดที่ดิน ตามคำสั่งอธิบดีกรมที่ดิน ที่ 2308/2544 ลงวันที่ 20 ธันวาคม 2544 สามารถใช้สิทธิยื่นคำฟ้อง พร้อมขอทุเลาการบังคับคำสั่งทางปกครองต่อศาล หรือยื่นคำขอให้กระทรวงมหาดไทย และกรมที่ดิน ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 ได้...
nn “คชสีห์” ว่า ไม่ต้องตีความกันให้ยุ่งยาก เพราะผู้ครอบครองปัจจุบัน คงไม่อยากมีใครอยากเปลี่ยนสถานภาพจากเจ้าของที่ดินกลายเป็นผู้เช่าแทน ฉะนั้น ต้องลุยฟ้องกรมที่ดินเพื่อเรียกร้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแน่นอน...
nn ที่น่าสนใจก็คือ กรมที่ดิน ได้เคยประเมินค่าเสียหายที่อาจเกิดขึ้นโดยข้อมูล ณ วันที่ 2 กันยายน 2567 โดยมูลค่าตามราคาตลาดโดยการประมาณและทุนทรัพย์จำนองอยู่ที่ 7,700 ล้านบาทแบ่งเป็นทรัพย์ตามมูลค่าตลาดประมาณ 7,228 ล้านบาท และทุนทรัพย์จำนอง 439.05 ล้านบาท ปัจจุบัน เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินอัลไพน์ มีจำนวน 533 ราย และผู้รับจำนองอีก 30 ราย...
nn “อธิบดีกรมที่ดิน” ซึ่งถือเผือกร้อนอยู่ในมือเต็มๆ ยืดอกอธิบายถึงความเป็นไปได้ที่กรมที่ดินจะต้องหาเงินเพื่อนำมาชดเชยในกรณีนี้หากถูกฟ้องร้องว่า “ต้องพิจารณาตามข้อเท็จจริง รวมถึงอยู่กับคำตัดสินของศาลว่ามีผลอย่างไร ซึ่งจากรายละเอียดและหลักฐานค่อนข้างเยอะ คาดว่าการฟ้องร้องจะต้องใช้เวลานานเป็นปีๆ ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายอย่าง และตามหลักการในเรื่องงบประมาณของระบบราชการ หากไม่มีแผนงานโครงการรองรับไม่สามารถตั้งงบประมาณได้เพราะกรมฯไม่ได้ตั้งงบประมาณในส่วนนี้ไว้ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ อาจมีการขอในแผนงานงบประจำปี แต่ถึงอย่างไรขณะนี้ยังไม่สามารถตอบชัดเจนได้”...
nn ฟังจากอธิบดีกรมที่ดินอธิบาย “คชสีห์” เข้าใจว่า แนวทางเดียวที่กรมที่ดินจะหาเงินได้ก็คือ ตั้งเป็นงบประจำปี ซึ่งก็มาจากงบประมาณแผ่นดินภาษีของคุณๆ ท่านๆ นั่นเอง ส่วน
จะเรียกว่า “ค่าโง่” ได้หรือไม่ ก็สุดแท้แล้วแต่จะมองกันมุมไหน และใครเป็นคนมอง...
nn เพราะหากให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินอัลไพน์ในปัจจุบัน ซึ่งมีถึง 533 ราย ก็ต้องมองว่า ถ้าถูกยึดเอาที่ดินกลับไปเป็นของสงฆ์ ก็ต้องได้รับค่าชดเชย เพราะซื้อที่ดินมาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ส่วนคุณๆ ท่านๆ ที่อยู่ดีๆ ก็ถูกเอาเงินภาษีไปจ่ายเป็นค่าชดเชย ก็คงไม่สบายใจนัก...
nn แต่ที่แน่ๆ งานนี้ เจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมไม่น่าจะมีใครเจ็บตัว แถมบางคนอาจจะได้กำไรติดปลายนวมจากมูลค่าที่ดินที่เพิ่มขึ้นไปด้วย ตัวอย่างเช่น “เมียป๋าเหนาะ” และ“ชูชีพ” ซื้อที่ดินมา 130 ล้านบาท ต่อจากนั้น ปี 2540 ขายที่ดินให้กับ “พจมาน” ในราคา 500 ล้านบาท ซึ่งทุกคนต่างแฮปปี้กันหมด เพราะได้กำไรกันถ้วนหน้า กรณีนี้ก็ต้องมารอดูราคาประเมินและราคาจ่ายจริงในท้ายที่สุดกันว่า ราคา 500 ล้านบาทที่ “พจมาน” จ่ายไปนั้น จะได้กำไรจากเงินชดเชยกันสักกี่บาท?...nn
คชสีห์
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี