l มีเรื่องใหญ่ 3 เรื่อง อย่างน้อย ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของชราชน วัย ๗๖ ปี
1.ชีวิตการทำงานเพื่อส่วนรวม เพื่อบ้านเมือง มิใช่เรื่องง่ายๆ แต่ “ยากเอาการทีเดียว” เพื่อนเอยยิ่งในปัจจุบันยิ่งนักหนาสาหัส โดยเฉพาะ “เรื่องข่าวสารข้อมูลทางการเมือง” ที่ออกมาทางสื่อ การนำเสนอออกมาจากฝ่ายการเมือง และนักเคลื่อนไหวฯคนทั่วไป และแม้แต่ “ผู้นำทางสังคม ผู้นำทางการเมืองฯ ยังไม่แน่ใจ ยังไม่มั่นใจ และยังไม่รู้ชัด”
ความจริง คืออะไร?
2.ทางออกของสังคมไทย การแก้ไขเปลี่ยนแปลงประเทศให้ไปสู่ประชาธิปไตยเพื่อคนส่วนใหญ่ของประเทศยังไม่รู้กัน ยังไม่มีทางออก ที่เป็นรูปธรรม จากผู้นำทางการเมือง ผู้นำทางสังคม นักวิชาการใหญ่น้อย และนักเคลื่อนไหวในการติดตามทางการเมืองมายาวนาน ตั้งแต่ “เหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖” มาถึงปัจจุบัน ยังไม่เห็นทางออก ยังไม่เห็นทางใหม่เห็นแต่ภาพเก่าๆ ที่ซ้ำเดิม คุ้นตา “แนวทาง” ที่ถูกนำเสนอขึ้นมาเป็นการเดินทางซ้ำรอย ย่ำอยู่กับที่ วนเวียนอยู่ในถ้ำแห่งอวิชชา หรือ “วงจรอุบาทว์ทางการเมืองไทย”
๑. เลือกตั้ง ซื้อเสียงใช้ทุนมหาศาล ทำผิดกติกาการเลือกตั้ง : เป็นการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรมได้ผู้นำ นายทุนใหญ่การเมือง เข้ามาเป็นเสียงข้างมากในรัฐสภา แล้วผู้นำขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีฯ จัดสรรแบ่งสมบัติการเมือง ไปยังพรรครัฐบาล พรรคร่วมรัฐบาลนี่เป็นขั้นตอนแรกของการเมือง คือ การเข้าสู่อำนาจรัฐ : ที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม
๒.แล้วต่อมา ในขั้นที่สอง นายกรัฐมนตรีรัฐมนตรีฯ ก็ “ใช้อำนาจรัฐ” เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของตน พวกพ้อง นายทุนการเมืองฯ เพิ่มพูนอำนาจ ขยายอำนาจของตนและพวกพ้อง ให้ใหญ่โต ไม่หยุด “ประชาชน” เป็นเพียงข้ออ้าง หรือ ผู้คอยรับส่วนบุญจาก “นักการเมือง นายทุนการเมือง”
๓.และในขั้นที่สาม คือ ขั้นสุดท้าย คือ “การตรวจสอบอำนาจรัฐ” ก็โบ๋เบ๋ ว่างเปล่า ไม่สามารถทำได้จริงความผิดใหญ่ของนักการเมือง นายกรัฐมนตรีรัฐมนตรี “หาได้ยากมาก” ถ้าจะมีก็เป็นเพียง“ตัวประกอบ ผู้ร่วมสมคบคิด เป็นตัวรอง” ใช่ตัวจริง
สภาพเช่นนี้ เริ่มปรากฏ ตั้งแต่การฟอร์มรัฐบาล การขึ้นมาเป็นรัฐบาลกระบวนการยุติธรรม เป็นตัวปัญหาใหญ่ ก็เป็นได้เพียง “ไม้เลียว ตีก้นเด็กนักเรียน” ไม่สามารถทำหน้าที่ของตนได้จริงจังบางกรณีความผิดใหญ่ทางการเมือง มีเพียงบางกรณีที่ตกหล่น ถูกตัดสินเพราะ “อยู่กันคนละข้างของอำนาจทางการเมือง” หรือเป็นเพียงตัวประกอบ แล้วสภาพเหล่านี้ กลายเป็นความอึดอัด ความไม่พอใจของประชาชน ที่สะสมมากขึ้นเรื่อยๆ
@ มาถึงจุดหนึ่ง ประชามหาชน อดทนไม่ไหวก็มีการชุมนุม เคลื่อนไหวทางการเมืองใหญ่ : ซึ่งไม่สามารถสร้างขึ้นมาได้ง่ายๆ
ถามว่า “ได้ผลไหม” ต้องตอบตามความจริงว่าได้ผลน้อย หรือเป็นเพียงตัวประกอบ “ตัวหลัก ต้องเป็นผู้มีอำนาจจริง เป็นอำนาจที่เหนือ” อำนาจของรัฐบาลฯ “ซึ่งก็คือ “กองทัพ” ซึ่งจะออกมา “กำจัดรัฐบาลทรราช รัฐบาลที่ขาดความชอบธรรมจากประชาชนฯ” ซึ่งจะได้รับเสียงเชียร์ใหญ่จากประชามหาชนฯ เป็นศัพท์ทางการเมือง ที่ถูกเรียกว่า“รัฐประหารฯ”
ซึ่งผู้นำรัฐประหาร ทั้งดีและไม่ดี ก็จะคงทำแบบเดิมๆ คือ
๑.รัฐประหาร ยึดอำนาจรัฐ จากรัฐบาลที่กอบโกย โกงกิน ใช้อำนาจมิชอบ แทรกแซงกระบวนการยุติธรรม
๒.ยกเลิกรัฐธรรมนูญ ตั้งคณะกรรมการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ลงประชามติ
๓.เมื่อได้รัฐธรรมนูญ ก็จัดให้มีการเลือกตั้งใหม่
๔.แล้วก็เดินไปเส้นทางสายเดิม กลับเข้าไปสู่วงจรอุบาทว์
ผู้นำรัฐประหาร ทำดีได้แค่สองคืบ คือ การขจัดรัฐบาลที่มิชอบธรรมพ้นจากอำนาจไป แต่ “ไม่มีกึ๋นเพียงพอ” ที่จะใช้ “โอกาสพิเศษ” แห่งการมีอำนาจเดียวของอำนาจรัฐ“ปฏิรูปแก้ไขวิกฤตของชาติบ้านเมืองและประชาชน สร้างประชาธิปไตยที่แท้จริง เสมอภาค เท่าเทียมกันฯ”
นี่คือ “วิกฤตของประเทศ” ที่เราเคยเจอมากันแล้ว
3.เพื่อนมิตรสหาย ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต
เป็นเรื่องเล็ก ที่เป็นเรื่องใหญ่ ในชีวิตของคนทั่วไป และผู้นำในระดับต่างๆ คนเรา แม้จะเล็ก ใหญ่ มีบทบาทมากน้อยอย่างไร เป็นผู้นำระดับใดในสังคม ก็ต้องมี “เพื่อน” เพราะ มนุษย์เป็นสัตว์สังคม อยู่คนเดียวไม่ได้ ต้องอยู่ร่วมกับผู้คนในสังคม และ “ผู้ที่สำคัญในชีวิต นอกจากพ่อแม่พี่น้อง เครือญาติฯ” ก็คือ “เพื่อน มิตร สหาย” การมีเพื่อนที่ดี มิตรแท้สหายจริง เป็นสิ่งที่ต้องการในสังคมของมนุษย์เป็นสิ่งที่คนค้นคว้าเสาะหามาในชีวิต ตั้งแต่วัยเด็ก จนถึงวัยชรา ฯลฯ
แต่คนส่วนใหญ่ ที่มีเพื่อน มักจะได้เพื่อนที่ดีไม่ดีแต่มิใช่ “มิตรแท้ ที่ร่วมเป็นร่วมตาย” เป็นเพื่อนไปตลอดกาลไม่ยักย้ายถ่ายหนี ทั้งในยามดี ยามร้าย ยามมีสุข ยามทุกข์ การจะได้มา ซึ่ง “มิตรแท้เพื่อนตาย” ยากมาก ที่จะอยู่ตลอดการมีลมหายใจ
เพราะ “คนเรา คบคนอื่น คบมิตร” เป็นไปตามสภาพปัจจัยของชีวิตเพื่อนนักเรียน เพื่อนมหาวิทยาลัย เพื่อนทำงาน เพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมอุดมการณ์ แต่ “มิได้” ค้นคว้า แสวงหา ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ แต่เรื่องสำคัญที่แท้จริงอยู่ที่ “ตัวเรา” มีความคิดและปฏิบัติต่อมิตร อย่างไร?
ทั้ง ๓ เรื่องใหญ่นี้ เป็นเรื่องที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของคนเรา รวมทั้ง ชราชน ๗๖ คนนี้
การผ่านเรื่องราวต่างๆ หลากหลายในชีวิต ๗๖ ปีไม่ง่าย ไม่ธรรมดา
เท่าที่สรุปทบทวนครั้งแล้วครั้งเล่า พอประเมินสำหรับตัวเอง ได้สังเขปดังนี้ (การสรุปบทเรียน ทบทวน นำมาแก้ไขปรับปรุงและพัฒนา เป็นความจำเป็น
เป็นเรื่องสำคัญของผู้นำและผู้คนทั่วไป ที่ต้องผ่าน ไม่มีข้อยกเว้นใดๆ )
๑.การมีพื้นฐานชีวิตที่จัดว่าดีพอเพียง จาก“บรรพบุรุษ พ่อแม่ ครู พระฯ”
๒.ชีวิตที่ผ่านมา เป็นชีวิตต้องสู้ ฝ่าฟันความเพียรพยายาม เอาจริง ไม่หยุด ไม่ยอมแพ้เดินหน้าต่อไม่ว่า ในสนามรบใด ในเมือง ในป่าในอดีต ในปัจจุบันฯ
๓.ผ่านมาได้อย่างเป็นระบบ และกระบวนการของการต่อสู้ (เริ่มต้น ท่ามกลาง สุดท้าย) รู้ภาพใหญ่ ด้านหลัก ด้านรอง เรื่องเฉพาะ เรื่องทั่วไปฯ
๔.ผ่านทุกข์ อุปสรรค ล้มลุกคลุกคลาน ไม่ชนะ ยังก้าวไปไม่ถึง ความสำเร็จตามอุดมคติเป็นหัวใจสำคัญ ไม่น้อยไปกว่า “ความสุข ความสำเร็จ ชัยชนะ” และได้อะไรใหญ่ยิ่ง นำมาซึ่งความเข้าใจในชีวิต ที่เป็นจริง
๕.มีหลักคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ และหลักธรรมของชีวิตและโลก ฯลฯ
๖.สุดท้ายที่สำคัญยิ่ง คือ “การตื่นรู้” ยึดหลักแสวงหาสัจจะจากความจริงด้วยสติปัญญา การให้ ฯลฯ อันเป็นความสุข สงบ ในชีวิต
l ติดตามตอนต่อไป
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี