l การตื่นรู้ คือ “ใจที่บริสุทธิ์ สุข สะอาด สงบ สว่าง” ที่ไปรับรู้ และเชื่อมกับความจริงของโลก สรรพสิ่งและชีวิตจาก “ใจเดิม จิตเก่า” ไปสู่ “ใจใหม่ จิตใหม่” ที่มีคุณภาพใหม่เป็น ความเป็นอิสระ ทาง “ใจ” เป็นกระบวนการ ค่อยเป็นค่อยไป ก้าวไปอย่างช้าๆ ค่อยๆเข้าใจ สะสมไปทีละเล็กทีละน้อยจนมาถึง “จุดเปลี่ยนผ่าน” Turning Point จาก “จุดเก่า สถานะเก่า” ไปสู่“จุดใหม่ สถานะใหม่” (คำนิยามส่วนตัว : ตามความคิดความรู้สึก ที่ได้ผ่านมาจาก การปฏิบัติแล้วปฏิบัติอีก) การเข้าถึง “การตื่นรู้” ต้องมีหลักคิด แนวทาง วิธีการ
l ความตื่นรู้นั้นเกิดขึ้นภายในตนเอง ด้วยตนเอง เราไม่สามารถทำให้
-คนตื่นรู้ ตระหนักรู้ หรือมีสติ “โดยการบอก” ให้คนตื่นรู้
-บอกให้คนตระหนักรู้ บอกให้คนมีสติ
-เรา “ห้าม” ให้คนไม่ตระหนกไม่ได้
-เราไม่สามารถทำให้คนไม่ตระหนก โดยการบอก สิ่งที่เราทำได้คือทำให้ “รู้” โดยการให้ข้อมูล คำสอน ธรรม รวมทั้งแนวทางปฏิบัติหลังจากนั้น เป็นเรื่องของตัวเขา ที่จะต้อง “คิดต่อ” ปฏิบัติ ฯลฯ
l เรื่องที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของคนเรา รวมทั้ง ชราชน ๗๖ คนนี้
การผ่านเรื่องราวต่างๆ หลากหลายในชีวิต ๗๖ ปี ไม่ง่าย ไม่ธรรมดาการสรุปบทเรียน ทบทวน นำมาแก้ไขปรับปรุงและพัฒนา เป็นความจำเป็นเป็นเรื่องสำคัญของผู้นำและผู้คนทั่วไป ที่ต้องผ่าน ไม่มีข้อยกเว้นใดๆ สุดท้ายที่สำคัญยิ่ง คือ “การตื่นรู้” ยึดหลักแสวงหาสัจจะจากความจริงด้วยสติปัญญา การให้ ฯลฯ อันเป็นที่มาของ ความสุข สงบ ในชีวิตในการทำงาน
การตื่นรู้ ที่สมบูรณ์ ตามแนวคิดของฉัน(และฉันได้พยายามคิดทำอยู่ทุกวัน)
๑.ทำความเข้าใจความหมายของ “การตื่นรู้”ทางธรรม และการปฏิบัติตนของผู้ที่น่าเคารพ
๒.ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง เป็นประจำ
(๑) เน้นที่ “ตัวเอง” เป็นหลัก
(๒) นำหลักที่มี ไปปฏิบัติต่อผู้อื่น
(๓) สะท้อนกลับมาดูที่ตัวเอง
๓.นั่งสงบ สรุปบทเรียนของตนเองที่ผ่านมา และ ผลของการปฏิบัติที่ผ่านมา เราทำได้แค่ไหน
๔.ศึกษา เรียนรู้ ทั้ง “ทางธรรม” และ “การปฏิบัติ” (กลับไปทำ ตั้งแต่ ๑.-๔.)
๕.ช่วงสองปีหลังมานี้ “ใจ” สงบ สุข มากขึ้นทั้งการดำรงชีวิต ดูแลสุขภาพกายใจ และพัฒนาตนและ การลงมือปฏิบัติ กับ ผู้อื่น ส่วนรวม สังคม และบ้านเมือง
๖. ณ วันนี้ “ใจสงบสุข” อยู่ในระดับที่ “สุขใจ สงบ ใจมีสุข”
๗. นำไปปฏิบัติกับ ผู้อื่น ส่วนรวม สังคม และบ้านเมือง
ตัวชี้วัด
๑.โดยทั่วไป อารมณ์ สดชื่น แจ่มใส มีความสุขสงบ
๒.ต่อผู้คนที่มีความเห็นต่าง เข้าใจ สภาพของเขา
๓.ต่อส่วนรวม สังคม บ้านเมือง ไม่ได้ทุกข์ร้อนห่วงกังวล ด้วยเข้าใจสภาพสังคมไทย การเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมคิดและทำ เท่าที่ทำได้
๔. ทุกเช้าจะตื่นแต่เช้า ลุกขึ้นมาทำงาน “ข่าวสาระ” ใช้เวลาประมาณ ๓-๔ ชั่วโมง ทำมายาวนาน หวังให้เกิด “การพัฒนาคุณภาพ” ในหมู่เพื่อนมิตรและผู้อ่านเพราะ “ประเทศที่มีคุณภาพ ทั้งระบบโครงสร้าง และประชาชน” จะเป็นปัจจัยสำคัญ ในการเปลี่ยนแปลงประเทศ
๕.บางวัน ไปเยี่ยมเพื่อนมิตรที่ป่วย ไปงานศพงานสังสรรค์ที่จำเป็น ฯลฯ ช่วงมีฝุ่นสูง จะอยู่บ้านแต่ถ้าหากจำเป็นต้องออก จะสวมหน้ากาก (MASK) เป็นประจำ
๖.เขียนบทความเกี่ยวกับ “หลักธรรม”ที่เกี่ยว เชื่อมโยง กับ “การตื่นรู้”
๗.การออกไปร่วมชุมนุมใหญ่ คงจะต้องมีความจำเป็นและมีเงื่อนไขสำคัญในการเปลี่ยนแปลงผมชื่นชม “พระจีน พระเวียดนาม ฯลฯ” และ “ท่านโพธิรักษ์” ในการนำ “กองทัพธรรม” ออกมารักษาปกป้องบ้านเมืองฯ เพราะ “มองว่า” นี่คือ ส่วนหนึ่งของประชาชนทุกคน ไม่ว่าจะเป็นฆราวาส หรือพระฯ ได้ออกมาทำหน้าที่ของตน ต่อบ้านเมือง
l การตื่นรู้ : ตามแนวคิด คำสอน บางส่วน
การตื่นรู้เป็นธรรมชาติอีกอย่างหนึ่งของมนุษย์ ที่เกิดจากการเข้าถึงความจริง ความเป็นหนึ่งเดียวกันก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความรู้สึกนึกคิด เหมือนเป็นคนใหม่ สภาพเช่นนี้ เรียกว่า การตื่นรู้ มีความเป็นอิสระ เบาเนื้อเบาตัว มีความสุขอย่างลึกลับซึมซ่านไปทั้งเนื้อทั้งตัวทำให้จิตสำนึกซึ่งเคยติดอยู่ในความคับแคบของตนเองไปเชื่อมกับความจริงของโลก สรรพสิ่งและชีวิต การมีมิตรภาพอันไพศาลต่อเพื่อนมนุษย์และสรรพสิ่งอันเป็นไปเพื่ออยู่กันอย่างสันติ (แต่การเอาตัวเอง เป็นศูนย์กลาง เป็นสมมุติสัจจะ ไม่ใช่ความจริงตามธรรมชาติ สร้างความขัดแย้งในตนเอง และกับคนอื่น จนกระทั่งสร้างสภาวะวิกฤต)
l ลองมาพิจารณา “การเปลี่ยนแปลงของโลก” และความต้องการพื้นฐานของคน : บางตัวอย่าง
1.“จุดตัด” ในยุคเปลี่ยนผ่าน โดย สมคิดพุทธศรี
วิธีการหนึ่งที่ช่วยได้คือ การมองหา “จุดตัด”-จุดที่จะช่วยทำให้เราสามารถเปลี่ยนวิธีคิดหรือวิธีการมองสิ่งนั้นได้การเปลี่ยนผ่าน คือ การเปลี่ยนจากสิ่งที่เราอยู่กับมันมาอย่างยาวนานจนเราคุ้นชิน มองเห็นมันเป็นเรื่องปกติธรรมดาไปสู่สิ่งใหม่แม้การเปลี่ยนจาก “เก่า” ไปสู่ “ใหม่” ฟังดูเหมือนเป็นเรื่องง่าย เห็นได้ชัด ไม่ซับซ้อน แต่จริงๆ แล้ว เรากลับมองไม่ค่อยเห็น หรือไม่ค่อยรู้สึกถึงเท่าไหร่ รู้ตัวอีกที ก็ตามความเปลี่ยนแปลงไม่ค่อยทันแล้ว
ที่เป็นแบบนี้ เพราะการเปลี่ยนผ่านส่วนใหญ่แล้วไม่ได้เกิดขึ้นอย่างปุ๊บปับ แต่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทีละนิด ทีละหน่อย พูดอีกแบบคือ มันเป็นกระบวนการที่สะสมต่อเนื่องมากอย่างยาวนาน
ลองดูหาจุดตัดดู แล้วคุณจะเห็นว่า โลกกำลังเปลี่ยนผ่าน!
-2016 จุดตัดทางเทคโนโลยี เมื่อทุกคนมีมือถือ
-2015 จุดตัดรัฐแบบใหม่ รัฐ “เฟซบุ๊ก”
-2014 จุดตัดในเศรษฐกิจโลก เมื่อจีนผงาดเหนืออเมริกา
-2013 จุดตัดการเมืองโลก เมื่องบฯ ทหารของเอเชียแซงยุโรป
-2007 จุดตัดวิถีชีวิต เมื่อมนุษย์โลกกลายเป็น “คนเมือง” เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
2.จุดเปลี่ยนผ่าน Transition Point จุดเดียว ซึ่งสถานะต่างๆ ของสสาร สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล (เรียกอีกอย่างว่า “จุดผกผัน”) (Merriam- Webster)
3. 5 เคล็ดลับการรับมือ “จุดเปลี่ยนของเส้นทางชีวิต” ที่เราอาจจะคาดไม่ถึง! Clubhouse Addict Talk Club
๑.มีสติเพื่อรับมืออยู่เสมอ
๒.ฝึกสร้างกำลังใจให้ตัวเอง
๓.พาชีวิตไปนอก Comfort Zone
๔.มองหาเรื่องดีๆ ในเรื่องร้ายๆ
๕.ปล่อยให้เศร้าบ้างไม่ใช่เรื่องผิด
4.จิตวิทยาความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ 5 ด้าน
๑.ความรู้สึกปลอดภัย a sense of safety
๒.ความสงบ calming
๓.พลังความเข้มแข็งในตนเองและชุมชม self-and community efficacy
๔. ความผูกพันในชุมชน สังคม social connectedness
๕.ความหวัง hope
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี