พรรคประชาชน หรือพรรคส้ม คว้าชัยชนะเลือกตั้งนายก อบจ.ที่จังหวัดลำพูน
นายวีระเดช ภู่พิสิฐ ผู้สมัครพรรคส้ม ได้เป็นนายก อบจ.ลำพูน (ลูกชายของนายประเสริฐ ภู่พิสิฐ หรือ โกเก๊า อดีตนายก อบจ.ลำพูน บ้านใหญลำพูน เคยถูกศาลจังหวัดลำพูนพิพากษาจำคุกคดีลำไยอบแห้ง 50 ปี)
1. นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า ผู้ช่วยหาเสียงการเลือกตั้ง อบจ.ของพรรคประชาชน ยืนยันว่า มั่นใจว่าจะสามารถทำให้ลำพูนดีกว่านี้แน่นอน เช่น เรื่องการศึกษาที่มีโรงเรียนในสังกัด อบจ. 6 โรงเรียน ภายใน 4 ปี โรงเรียนเหล่านี้จะดีขึ้นแน่นอน
2. ไปดูนโยบายหาเสียงของผู้สมัครพรรคส้มที่ลำพูน ไม่ได้มีเฉพาะเรื่องการศึกษา แต่ยังมีอีกสารพัดเรื่อง
พอชนะแล้ว ใครจะมาตัดตอนเหลือแค่ไม่กี่เรื่อง คงจะไม่ได้
หรือว่าจะเริ่มออกลายเสียแล้ว?
3. ความจริง จังหวัดลำพูน แม้เป็นจังหวัดที่มีขนาดเล็กที่สุดของภาคเหนือ
มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 4,505.882 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 2,815,675 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 4.85 ของพื้นที่ ภาคเหนือตอนบน
แต่เป็นจังหวัดที่มีระดับรายได้สูงลำดับต้นๆ ของประเทศ
เพราะเป็นเมืองที่มีโรงงานอุตสาหกรรมเยอะ
เพราะฉะนั้น พรรคส้มก็จะได้มีเวทีแสดงผลงานให้คนไทยได้เห็น
อย่ามาอ้างโน่น อ้างนี่อีกเด็ดขาด
ถ้าพัฒนาเมืองที่มีศักยภาพสูง มีพื้นที่เล็ก อย่างลำพูนไม่สำเร็จ จงเลิกคุยโม้ หุบปากไปเสีย
4. ภาพรวมเศรษฐกิจ ศักยภาพ ปัญหา และความท้าทายของลำพูน
หลังจากนี้ สังคมควรช่วยกันติดตามว่าจังหวัดลำพูน ได้รับการพัฒนาดีขึ้น หรือแย่ลงภายใต้การดูแลของพรรคส้ม ที่ชอบคุยโม้ ถ่มถุยด้อยค่าคนอื่นเขามาโดยตลอด
4.1 เครื่องชี้เศรษฐกิจจังหวัดในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2567
เศรษฐกิจของจังหวัดลำพูนขยายตัวร้อยละ 9.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
มีการขยายตัวทั้งในภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ
ด้านการจ้างงานของจังหวัดลำพูน ภาพรวมขยายตัวดีอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ช่วงต้นปีสอดรับกับการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนของรัฐบาลเป็นสำคัญ
ด้านรายได้เกษตรกรในจังหวัดเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2567 ขยายตัวร้อยละ 21.1 จากดัชนีผลผลิตภาคเกษตรกรรมที่ขยายตัวร้อยละ 14.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ประกอบกับด้านราคาในภาพรวม มีแนวโน้มขยายตัวดีต่อเนื่องจากปีก่อน โดยในเดือนนี้มีการขยายตัวที่ร้อยละ 5.8
ดัชนีผลผลิตภาคเกษตรกรรม ขยายตัวร้อยละ 14.5 สะท้อนจากการขยายตัวของปริมาณการผลิตภาคเกษตรกรรมและภาคปศุสัตว์ที่ขยายตัว
ขณะที่การขยายตัวของปริมาณผลผลิตลำไยขยายตัวร้อยละ 3.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการติดช่อดอกลำไย และมีปริมาณน้ำเพียงพอ ทำให้มีผลผลิตเพิ่มขึ้น ประกอบกับเกษตรกร มีการดูแลเอาใจใส่ที่ดี มีการนำความรู้ด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้เพื่อทำลำไยคุณภาพให้ได้มาตรฐาน ตามความ ต้องการของตลาด
ด้านดัชนีผลผลิตภาคบริการ ขยายตัวร้อยละ 10.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สะท้อนจากผลการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดโรงแรมและภัตตาคารและปริมาณการใช้ไฟฟ้าภาคบริการ ที่ขยายตัวร้อยละ 43.6 และ 23.2 ตามลำดับ จากมาตรการสนับสนุนตามนโยบายรัฐบาลเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว เช่น ฟรีวีซ่า การใช้ Soft Power เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยว ส่งผลให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและนักท่องเที่ยว ชาวไทยเพิ่มขึ้น
ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ขยายตัว ร้อยละ 6.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สะท้อนจากปริมาณการใช้ไฟฟ้าภาคอุตสาหกรรม ทุนจดทะเบียนของโรงงานอุตสาหกรรม และยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดอุตสาหกรรม ที่ขยายตัวร้อยละ 12.8, 9.3 และ5.4 ตามลำดับ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าทำให้การขยายตัวด้านการส่งออกเพิ่มขึ้น ผู้ประกอบการมีการเปิดตลาดใหม่ๆ
ด้านการเงิน พบว่า สภาพคล่องในระบบสถาบันการเงินมีปริมาณเงินฝากรวม สูงกว่าปริมาณสินเชื่อรวม
โดยปริมาณเงินฝากรวมมียอดสะสมรวม 47,944.7 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 0.7
ขณะที่ด้านปริมาณสินเชื่อรวม มียอดสะสมรวม 44,268.5 ล้านบาท หดตัวร้อยละ -0.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
4.2 สิ่งแวดล้อม ฝุ่น จุดความร้อน
ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ปี พ.ศ. 2566 - 2567 ในห้วงวันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม สถานการณ์ปี พ.ศ.2567 ดีกว่าปี พ.ศ.2566
โดยสถานีตรวจวัด ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน มีจำนวนวันที่ค่าฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐาน จำนวน 85 วันลดลงจากปี พ.ศ.2566 จำนวน 13 วัน หรือลดลงร้อยละ 14 (ปี พ.ศ.2566 เกินค่ามาตรฐาน จำนวน 96 วัน)
สำหรับสถานีตรวจวัด ชั่วคราวที่ ตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน มีจำนวนวันที่ค่าฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐาน จำนวน 98 วัน ลดลงจาก ปี พ.ศ. 2566 จำนวน 14 วันหรือลดลงร้อยละ 13 (ปี 2566 เกินค่ามาตรฐาน จำนวน 112 วัน)
สถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันในพื้นที่จังหวัดลำพูน จำนวนจุดความร้อน ระบบ VIIRS ปี พ.ศ. 2567 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เกิดจุดความร้อนในพื้นที่จังหวัดลำพูน จำนวน 2,325 จุด ซึ่งน้อยกว่าปี 2566 ในช่วงเวลาเดียวกัน ที่มีจำนวน 2,699 จุด
เปรียบเทียบข้อมูลพื้นที่เผาไหม้ของจังหวัดลำพูน ปี พ.ศ. 2566 – 2567 ในช่วงเวลา เดียวกัน (ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 พฤษภาคม) ปี พ.ศ. 2567 มีจำนวน 97,446 ไร่ ซึ่งลดลงจากปี พ.ศ.2566 จำนวน 259,333 ไร่ หรือลดลงร้อยละ 73
ทั้งหมด เขาทำดีขึ้นก่อนหน้านี้ เพราะฉะนั้น รอดูยุคพรรคส้ม จะดีขึ้นต่อหรือไม่?
4.3 สังคม การศึกษา สาธารณสุข
ยกตัวอย่าง จังหวัดลำพูนมีหน่วยบริการสาธารณสุข ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน จำนวนทั้งสิ้น 104 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลทั่วไป 1 แห่ง โรงพยาบาลชุมชน 7 แห่ง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ 8 แห่งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 71 แห่ง อื่นๆ 12 และโรงพยาบาลสังกัดเอกชน 5 แห่ง
จำนวนประชากรต่อแพทย์ คิดเป็นประชากร 2,213 คน ต่อแพทย์ 1 คน ในปีพ.ศ. 2566
รอดูจะแก้ปัญหาอย่างไร คงจะไม่อ้างว่าเกินอำนาจหนเที่ เพราะเวลาคุยโว ไม่ใช่อย่างนั้น
4.4 แรงงาน และการค้ามนุษย์
แรงงาน เป็นด้านที่พรรคส้มพยายามเอาใจ มุ่งเน้น
จังหวัดลำพูน มีอัตราการว่างงานในปีพ.ศ. 2563 ที่ 0.9 ในปีพ.ศ. 2564 ที่ 1.2 และในปีพ.ศ. 2565 อัตราการว่างงานลดลงคงเหลือที่ร้อยละ 1.0
แสดงว่าคนลำพูนมีงานทำเพิ่มขึ้นในปีพ.ศ. 2565 หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ดีขึ้น สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ การค้าขาย การลงทุนและการจ้างงานเริ่มเข้าสู่สภาวะปกติ
การทำงานของคนต่างด้าว จังหวัดลำพูนมีคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานคงเหลือในปีพ.ศ. 2563 ที่ 11,698 คน ปีพ.ศ. 2564 ที่ 10,865 คน และในปีพ.ศ. 2565 ที่ 14,238 คน
ลำพูนเป็นจังหวัดที่จัดอยู่ในกลุ่มพื้นที่เฝ้าระวังปัญหาการค้ามนุษย์ เนื่องจากจังหวัดลำพูน มีโรงงานอุตสาหกรรม การส่งออกด้านเกษตรกรรม สถานประกอบการ สถานบันเทิง ร้านคาราโอเกะอีกทั้ง ปัจจัยด้านต่างๆ เช่น ด้านความเจริญทางเศรษฐกิจของจังหวัด ความต้องการด้านแรงงานในสถานประกอบการ สถานบริการต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดแรงงานผิดกฎหมาย การล่อลวงเพื่อแสวงประโยชน์จากกลุ่มแรงงานที่ต้องการทำงาน หรือถูกล่อลวงมาจากต่างถิ่น โดยจากการดำเนินงานด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของจังหวัดลำพูน ในปีพ.ศ. 2566 พบว่า จังหวัดลำพูน มีสถานะเป็นทางผ่านและปลายทาง ของแรงงานเข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต เพื่อมาหางานทำจากสถิติการจับกุมแรงงานต่างด้าว ปีพ.ศ. 2566 มีจำนวน 88 ราย
5. แผนพัฒนาจังหวัดลำพูน ตามยุทธศาสตร์ชาติ
หวังว่า พรรคส้มจะทำได้ดีกว่าการเดินหน้าตามแผนอันเนื่องมาจากยุทธศาสตร์ชาติที่มีอยู่เดิม
เพราะถ้าทำออกมาแย่กว่า ลงเหว คนลำพูนคงจะไม่ให้อภัย
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 65 กำหนดให้รัฐพึงจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติ เป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาล และใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนในระดับต่างๆ ให้สอดคล้องและบูรณาการกันเพื่อให้เกิดเป็นพลังผลักดันร่วมกันไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้
จังหวัดลำพูน ได้กำหนดนโยบายให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมกันจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดลำพูน เพื่อใช้เป็นกรอบในการกำหนดทิศทาง แนวทางการดำเนินการในการพัฒนาจังหวัด โดยให้สอดคล้องกับการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติ
เริ่มตั้งแต่ การทบทวนวิเคราะห์ศักยภาพความพร้อม บริบทของจังหวัดลำพูน วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของพื้นที่ในจังหวัดลำพูน ครอบคลุม 8 อำเภอ ในทุกมิติของการพัฒนา และวิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินงานตามแผนที่ผ่านมา วิเคราะห์ข้อมูลสถิติในการพัฒนาในมิติต่างๆ ย้อนหลัง 5-10 ปี วิเคราะห์แผนพัฒนาของจังหวัดลำพูนของทุกภาคส่วนและทุกระดับ และเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน เพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อม จุดอ่อน จุดแข็งโอกาส และอุปสรรค จังหวัดลำพูน วิเคราะห์ประเมินสถานการณ์เชิงยุทธศาสตร์และทิศทางการพัฒนาจังหวัด ลำพูน และจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดลำพูน พ.ศ. 2566 – 2570 ฉบับทบทวน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 เป้าหมาย และตัวชี้วัดการพัฒนาร่วมกัน รวมทั้งเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นวิพากษ์แผนเพื่อรับฟังความคิดเห็น เกี่ยวกับแผนพัฒนาจังหวัดลำพูน รวมทั้งระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดลำพูน และ พิจารณาเสนอแนะความเห็นต่อแผนพัฒนาจังหวัดลำพูน
นำไปสู่การกำหนดทิศทางการพัฒนาจังหวัดลำพูนร่วมกันในระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 -2570)
โดยกำหนดวิสัยทัศน์ “เมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์ บนความพอเพียง” ให้ความสำคัญกับ การพัฒนาเมืองแบบองค์รวม สร้างสรรค์และสมดุลในทุกมิติทั้งเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และให้ความสำคัญกับการพัฒนา ชุมชนวิถีพอเพียงและยั่งยืน
โดยมีพันธกิจร่วมกันใน 4 ประเด็นคือ
1. LAMPHUN SMART CITY : มุ่งสืบสานต่อยอดการพัฒนาอัตลักษณ์วิถี บนฐานวัฒนธรรม ภูมิปัญญาสร้างสรรค์ เสริมสร้างศักยภาพเชื่อมโยงระบบและกลไกการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากสู่อัตลักษณ์การท่องเที่ยว
2. LAMPHUN CREATIVE LANNA : มุ่งยกระดับโครงสร้างระบบอุตสาหกรรมเชื่อมโยง หัตถอุตสาหกรรม เกษตรกรรมส่งเสริมการผลิต การบริโภค สร้างความเข้มแข็งพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากสู่การเป็น ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ
3. LAMPHUN FOOD VALLEY : มุ่งต่อยอด และพัฒนาเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่นส่งเสริมระบบ เกษตรอัจฉริยะให้เกิดเกษตรกรรมยั่งยืน สร้างมูลค่าสูงตลอดห่วงโซ่คุณค่า
4. LAMPHUN GREEN CLEAN AND CARE CITY : มุ่งเสริมสร้างพลังทางเศรษฐกิจ สังคม ชุมชนให้ทุกภาคส่วนร่วมกันสร้างเมืองแห่งความร่วมมือ ความสงบสุข สะอาดและ ความมั่นคงปลอดภัย ยกระดับคุณภาพชีวิตให้เศรษฐกิจครัวเรือนมีความมั่งคั่งบนวิถีพอเพียง อย่างยั่งยืน
ถ้าพรรคส้มได้โอกาสแล้ว ทำได้ดี ก็จะเป็นผลงาน
แต่ถ้าเข้ามาแล้ว ทำลายโอกาสดีๆ พาลำพูนลงเหว เสียโอกาส
คนลำพูน ต้องจับตา และมีส่วนร่วมให้บทเรียนหลังจากนี้
สารส้ม
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี