บรรจุอยู่ในระเบียบวาระการประชุมเรียบร้อยแล้วสำหรับร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญที่มี วิสาร เตชะธีราวัฒน์ เป็นประธานกรรมาธิการฯ พิจารณาเสร็จแล้ว แต่ยังต้องลุ้นว่า จะได้ฤกษ์พิจารณาในวาระ 2-3 กันวันไหน...
nn เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา มีการเสวนาวิชาการ เรื่อง “ชำแหละร่างพ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์…สังคมไทยได้อะไร” จัดโดยมูลนิธิสื่อเพื่อสุขภาวะ (มสส.) ร่วมกับศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) และเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง...
nn โดย วิเชษฐ์ พิชัยรัตน์ กรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ด้านสื่อสารมวลชน ระบุว่าการแก้ไขปรับปรุง ร่างพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่..) พ.ศ. ... มีความจำเป็น เนื่องจากกฎหมายฉบับเก่ามีการประกาศใช้มาตั้งแต่ปี 2551 จึงต้องปรับปรุงให้มีความทันสมัย ทันต่อโลกในปัจจุบัน แต่ยังต้องคงไว้ซึ่งความสมดุลระหว่างมิติเศรษฐกิจและมิติสังคม...
nn โดยจุดดีของการแก้ไขกฎหมายครั้งนี้ คือ การกำหนดสัดส่วนของคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระดับจังหวัด ที่เพิ่มตัวแทนจากสภาเด็กและเยาวชน ขณะเดียวกันได้เพิ่มตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เป็นรองประธานคณะกรรมการฯ ซึ่งอาจทำให้มีความเสี่ยงต่อการแทรกแซงนโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้...
nn ศ.ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ ผอ.หลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ กล่าวว่า ภาพรวมของร่างพ.ร.บ. ที่อยู่ระหว่างดำเนินการแก้ไขถือว่าดีขึ้นในบางประเด็น เช่น การควบคุมการโฆษณาที่มีความชัดเจนเรื่องการควบคุมแบรนด์เสมือน แต่ก็ยังข้อมีห่วงใย โดยเฉพาะการเปิดช่องให้ตัวแทนเอกชน ไม่ว่าจะเป็น สภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้า สมาคมด้านการท่องเที่ยว และตัวแทนผู้ประกอบการธุรกิจแอลกอฮอล์เข้ามาเป็นคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งมีโอกาสที่คนกลุ่มนี้จะเจือสมผลประโยชน์ร่วมกัน...
nn รศ.ดร.วิทย์ วิชัยดิษฐ นักวิชาการ ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) ระบุว่า “ข้อสำคัญการห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์คือ ห้ามที่ตัวบุคคล แต่ปัจจุบันมีเทคโนโลยี AI ที่สามารถสร้างเนื้อหาต่างๆ ได้เอง แต่ไม่ได้เป็นตัวบุคคลที่ทำการโฆษณา จะเกิดความผิดที่ผู้ใช้คำสั่ง AI อย่างไร รวมถึงกรณีห้ามโฆษณาในไทย แล้วกรณีที่มีบริษัทนายทุนจากต่างประเทศทำการโฆษณาเข้ามาในราชอาณาจักร จะถือเป็นความผิดตามกฎหมายฉบับนี้หรือไม่ เป็นสิ่งที่อยากฝากให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้ตรากฎหมายเพื่อให้ครอบคลุม ลดการตีความ เพื่อให้การเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำได้น้อยที่สุด”...
nn นพ.วิธู พฤกษนันต์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ระบุว่า ประโยชน์ของกฎหมายฉบับใหม่ต่อสังคมทั่วไป คือ การมีบทบัญญัติระบุถึงกรณีที่ผู้ดื่มแอลกอฮอล์ไปก่อเหตุต่อผู้อื่นนำมาสู่ความสูญเสียต่อชีวิตหรือทรัพย์สิน ผู้ขายต้องร่วมมีความผิดในทางแพ่ง ผู้เสียหายสามารถฟ้องร้องผู้ขายให้ร่วมเป็นจำเลยได้...
nn ซึ่งกรณีแบบนี้เกิดขึ้นแล้วในประเทศแคนนาดา และสหรัฐอเมริกาดังนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ ทำให้ร้านจำหน่ายจะต้องเพิ่มมาตรการส่วนตัวขึ้น เช่นติดกล้องวงจรปิดบันทึกภาพการซื้อขาย การตรวจบัตรประชาชน การตรวจสอบภาวะมึนเมาของผู้ที่มาซื้อ...
nn ขณะเดียวกัน เนื่องจากองค์การอนามัยโลก(WHO) ก็ได้ออกมายืนยันว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคมะเร็ง ทำให้มีคุณหมอและผู้เกี่ยวข้องออกมาแสดงความเห็นเป็นจำนวมาก...
nn เริ่มจาก สงกรานต์ ภาคโชคดี ประธานเครือข่ายงดเหล้า ระบุว่า “ขณะนี้ที่น่าเป็นห่วงคือ สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำรวจพบว่านักดื่มหน้าใหม่เป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และส่วนใหญ่ไม่รู้ว่ามะเร็งเต้านมมีแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุ ดังนั้น ควรจะต้องระบุเรื่องนี้เอาไว้ในฉลากผลิตภัณฑ์เพื่อให้ประชาชนทราบ แต่ผมกลับพบว่าการยกร่างพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฉบับใหม่ขณะนี้มีแนวโน้มว่าจะมีการลดมาตรการควบคุมลง จึงได้แต่หวังให้คนปลอดจากโรคมะเร็งและผลกระทบอื่นๆ ที่เกิดจากแอลกอฮอล์ด้วย”...
nn รศ.ดร.พญ.ภัทรพิมพ์ สรรพวีรวงศ์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ระบุว่า มะเร็งเต้านมนั้นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะไปเพิ่มปริมาณเอสโตรเจน หรือฮอร์โมนเพศให้มากขึ้น เกิดความผิดปกติของฮอร์โมนกระตุ้นการเกิดมะเร็งเต้านม เป็นต้น ดังนั้น แพทย์จะแนะนำผู้ป่วยที่ผ่านกระบวนการรักษาจนหาย หรือโรคสงบแล้วให้เลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และพยายามสร้างความตระหนักรู้ในระดับบุคคล ครอบครัว และสังคมให้รู้เท่าทันพิษภัยของแอลกอฮอล์ที่เกี่ยวกับมะเร็งและโรคอื่นๆ...
nn รศ.ดร.นพ.พลเทพ วิจิตรคุณากร รอง ผอ.ศูนย์วิจัยปัญหาสุราก็ระบุว่า วันนี้เรามีคนดื่มประมาณ 30% คนไม่ดื่ม 70%เลยอยากฝากคนที่ไม่ดื่มให้ช่วยบอกคนรอบข้างว่า นอกจากเสี่ยงเสียชีวิตโดยรวมแล้ว ยังเสี่ยงเป็นมะเร็งด้วยส่วนคนดื่มอยู่ ดีสุดคือหยุดดื่ม เพราะไม่มีการดื่มที่ปลอดภัย ที่บอกว่าดื่มแล้วดีนั้นน่าจะเป็นเฟคนิวส์มากกว่า ส่วนผู้มีอำนาจทางกฎหมาย ซึ่งปัจจุบันเราเริ่มมีการแก้พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หลายอย่างเริ่มหย่อนลง เรื่องติดฉลากเป็นเรื่องหนึ่งในตัวอย่างที่อเมริกาเขาพูดขึ้นมา แล้วเราพยายามออกเสียง แต่ยังมีอีกหลายประเด็นที่หย่อนลง ขอให้ภาครัฐต้องยึดถือความปลอดภัยของประชาชนเป็นหลัก เห็นประโยชน์ทางเม็ดเงินเป็นรอง ซึ่งบางอย่างไม่สามารถเปรียบเทียบเป็นตัวเงินได้...
nn “มือปราบ” ก็เห็นด้วยว่า “ดีที่สุดคือหยุดดื่ม”เพราะยิ่งดื่มก็ยิ่งสะสมสารก่อมะเร็งในร่างกาย ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิตอย่างมาก ซึ่งนอกจากตัวเราจะต้องคอยกระตุ้นเตือนไม่ให้เข้าไปอยู่ในจุดเสี่ยงแล้ว ก็จำเป็นที่จะต้องให้กลไกทางกฎหมายที่ดีพอในการควบคุมป้องกันไม่ให้ผู้คนตกเป็นทาสของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์...
nn ซึ่งขณะนี้ยังมีเวลาพอที่จะให้บรรดาผู้ทรงเกียรติ ได้กลับไปคิดพิจารณาในการอ่านรายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ แล้วลองมาชั่งน้ำหนักรับฟังการอภิปราย ก่อนโหวตรายมาตรา...
nn โดยต้องพิจารณาถึงประโยชน์ของประชาชนมากกว่าเรื่องผลประโยชน์เพียงคนบางคนเท่านั้น เพราะประชาชนที่มีสุขภาพกายใจสมบูรณ์ ถือเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า โดยไม่ต้องพึ่งพาเงินบาปจากอบายมุขชนิดต่างๆ ด้วย...nn สวัสดีครับ
มือปราบ
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี