ประเทศไทยได้ชื่อว่า เป็นม้าอารีที่รองรับผู้ลี้ภัยปลอมมากว่าสี่สิบปี ตั้งแต่ยุคสงครามเย็น ที่สหรัฐอเมริกาใช้ประเทศไทยเป็นฐานที่มั่นต่อต้านคอมมิวนิสต์ซึ่งคุกคามในอินโดจีน และประเทศเพื่อนบ้านรอบด้าน
แต่หลังจากสหรัฐอเมริกาถอนตัวออกจากเวียดนามในปี 1975 อเมริกาทิ้งภาระให้ประเทศไทย เป็นที่รองรับผู้ลี้ภัยจากประเทศเพื่อนบ้านกัมพูชา ลาว เวียดนาม และ เมียนมา นับล้านคนมาพักพิงอาศัยในค่ายอพยพที่เรียกอย่างสวยหรูว่า ศูนย์พักพิงชั่วคราว
ที่ต้องเรียกค่ายผู้ลี้ภัยปลอมเหล่านี้ เป็นศูนย์พักพิงชั่วคราว เนื่องจากว่า ประเทศไทยมิได้ลงนามเป็นภาคีอนุสัญญายูเอนที่ 151 ว่าด้วยผู้อพยพผู้ลี้ภัย ประเทศไทยจึงไม่มีพันธกรณีใดๆ ในการรองรับผู้ลี้ภัยผู้อพยพไว้ในประเทศ
แต่เนื่องจากสหรัฐอเมริกา สร้างความหายนะทางด้านมนุษยธรรมในสงครามต่อต้านคอมมิวนิสต์ เป็นเหตุให้คนจากประเทศเวียดนาม กัมพูชา ลาว หลายล้านคน ที่บ้านแตกสาแหรกขาด ต้องหนีจากบ้านเกิด เพื่อความปลอดภัย และไปแสวงหาชีวิตใหม่ที่ดีกว่าตามคำยุยงปลุกปั่นของอเมริกา และเมื่อสร้างความหายนะไว้ และปลุกปั่นให้ผู้ฝักใฝ่ตะวันตกให้หนีออกจากบ้าน วอชิงตันก็รับโต้โผใหญ่ ในการเลี้ยงผู้ประสงค์จะลี้ภัย
แต่อเมริกันผู้เห็นแก่ได้ ช่วยเหลือเฉพาะปัจจัย ส่วนผู้ลี้ภัยนับล้านคน ฝากไว้ในค่ายต่างๆของประเทศไทย ในศูนย์พักพิงชั่วคราวนานกว่าสี่สิบปีที่อเมริกันส่งคนมาบริหารศูนย์พักพิงชั่วคราวในประเทศไทยโดย ใช้เงินงบประมาณในการเลี้ยงดูผู้อพยพปลอม จากองค์กรเพื่อการพัฒนานานาชาติ หรือที่รู้จักทั่วไปว่า “ยูเสด” (USAID) ยูเสดก่อตั้งในปี 1960 เพื่อเหลือด้านการศึกษาและมนุษยธรรมทั่วโลก
แต่ต่อมายูเสด เน้นช่วยเหลือมนุษยธรรม ที่พัวพันกับการเมือง และผลประโยชน์ของอเมริกา มากกว่าช่วยเหลือการศึกษาและวัฒนธรรมเป็นเหตุให้ลูกจ้างยูเสด นับหมื่นคนทั่วโลก ใช้งบประมาณผิดประเภท และมีข้อครหาคอร์รัปชั่นกันถ้วนหน้า เนื่องจากว่าพนักงานรัฐ ที่ยูเสดจ้างโดยตรงมีประมาณ 500 ตำแหน่ง เท่านั้นที่เหลือนับหมื่นคนเป็นลูกจ้างตามสัญญาที่เรียกว่า Outsource
ตัวอย่างเช่น ในประเทศไทย หน่วยงานบรรเทาภัยนานาชาติ หรือ IRC เป็นลูกจ้างตามสัญญาของยูเสดเพื่อดูแลบริหารศูนย์พักพิงชั่วคราว (ค่าอพยพ) แปดแห่งค่ายละ 10 คน ICR ที่เป็นฝรั่งจ้างคนไทยต่อเป็นเจ้าหน้าที่ดูแลศูนย์พักพิงค่ายละ 10 คน และ ผู้อพยพที่อยู่ในค่ายที่อยู่นานช่วยงานอีกค่ายละ 5 คน กล่าวสรุปคือลูกจ้าง Outsource ของยูเสดค่ายละประมาณยี่สิบ ถึงสามสิบคน ได้เงินงบประมาณ เงินบริจาค ตลอดถึงเงินสนับสนุนจากประเทศเจ้าของบ้านอยู่ในอำนาจบริหารของ IRC และ UNHCR ที่เป็นลูกจ้าง ยูเสดตามสัญญา
เมื่อประธานาธิบดีทรัมป์ เข้ารับตำแหน่งสมัยสองที่ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม ประธานาธิบดีทรัมป์ ลงนามคำสั่งผู้บริหาร 78 ฉบับหนึ่งในนั้น คือ ลงนามในคำสั่งพัฒนาประสิทธิภาพหน่วยของรัฐ หนึ่งในนั้นเป็นคำสั่งให้หยุดจ่ายเงินให้ยูเสด 90 วัน
ในเวลาเดียวกัน มีหนังสือเวียนภายใน (ทางอีเมล) ส่งไปถึงพนักงาน และลูกจ้างยูเสดทุกคนทั่วโลกให้เหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่า จะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง หนังสือเวียนภายในสร้างความโกลาหล กังวลใจให้ลูกจ้างโดยตรง และ Outsource ของยูเสด เพราะหนังสือเวียน ระบุว่า ลูกจ้างส่วนใหญ่จะให้พักงานถาวร หรือ ไม่ก็ถูกไล่ออก แต่อเมริกันชนไม่ใช่จะก้มหัวให้ผู้มีอำนาจง่ายๆ
สำนักข่าว CNN รายงาน เมื่อวันที่ 7 มกราคม ว่า พนักงานและลูกจ้างยูเสด รวมตัวกันฟ้องประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ในข้อหา พยายามล้มล้างองค์กรสิทธิมนุษยชนที่ก่อตั้งมากว่า 60 ปี แหล่งข่าวหลายคนบอก CNN ว่า ยูเสด ยังคงเก็บพนักงานที่จ้างโดยตรงไว้ประมาณ 300 คน จากจำนวนลูกจ้างนับไม่ถ้วน ที่ต้องพักงานอย่างไม่มีกำหนดหรือไม่ถูกไล่ออก
การฟ้องร้องทางกฎหมายมุ่งเป้าไปที่คำสั่งฝ่ายบริหาร ให้หยุดการช่วยต่างชาติเกือบทั้งหมดคำสั่งฝ่ายบริหารได้สร้างวิกฤตทำงานด้านมนุษยธรรมทำให้พนักงานจำนวนมากถูกพักงานหรือเลิกจ้าง
การฟ้องร้องครั้งนี้ มีขึ้นที่ศาลกลางแห่งสาธารณรัฐใน วอชิงตัน ดี.ซี.โดยมีกลุ่มพลเมืองจิตอาสาเป็นโจทย์ฟ้องในนามสมาคมอเมริกันบริการสาธารณะ (AFSA) และ สมาพันธ์อเมริกันพนักงานของรัฐ (AFGE) แต่ยังไม่ชัดเจนว่าศาลจะใช้วิธีการสอบสวนฉุกเฉินก่อนเวลา 23.59 น.ของวันศุกร์ที่ (9) ซึ่งเป็นเส้นตายให้ลูกจ้างโดยตรงของยูเสด ไม่รวมผู้ที่ได้รับการยกเว้น (ประมาณ 300 คน) ต้องออกจากที่ทำงาน และให้หยุดการทำงาน
ผู้ถูกฟ้องรวมทั้งประธานาธิบดี ทรัมป์ รัฐมนตรีต่างประเทศ มาร์โก รูบิโอ และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สกอตต์ เบสเซนต์ ตลอดถึงหน่วยงานเกี่ยวข้อง ตามคำฟ้องที่ว่า “ประธานาธิบดีทำเกินหน้าที่ในการละเมิดกฎหมาย และรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธรัฐ”
ทนายของกลุ่มลูกจ้าง ขอให้ศาลมีคำสั่ง ให้ฝ่ายบริหารเปลี่ยนแปลงคำสั่ง และ “ยกเลิกขั้นตอนยุบองค์กร” ในระหว่างดำเนินคดี “การกระทำของผู้ถูกฟ้อง ที่พยายามยุบ ยูเสด โดยไม่ผ่านกระบวนการสภาคองเกรส” ส่วนหนึ่งของคำฟ้องกล่าว “ดำเนินการผ่านกระบวนการพิจารณาของวุฒิสภาแห่งสาธารณรัฐเป็นทางเดียวที่สามารถยุบหน่วยงานรัฐได้ถูกกฎหมาย”
คำฟ้องกล่าวด้วยว่าพฤติกรรมของทรัมป์ ผิดกฎหมายที่ยึดอำนาจวุฒิสภา มาใช้อำนาจเสียเอง “การกระทำของประธานาธิบดีทรัมป์ ในความพยายามยุบยูเสด เกินอำนาจหน้าที่ของประธานาธิบดี และแย่งชิงอำนาจนิติบัญญัติมาจากวุฒิสภาในการแบ่งแยกอำนาจตามรัฐธรรมนูญ” คำฟ้องกล่าวสรุป
ร่ายยาวมาทั้งหมด เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นธาตุแท้ของอเมริกัน ว่าเห็นแก่ตัวมากอย่างไร ในขณะที่พนักงานและลูกจ้างยูเสด ฟ้องร้องประธานาธิบดี เพื่อปกป้องสิ่งที่ตัวเองอยากได้ ในเวลาเดียวกันก็ทิ้งภาระไว้ให้ประเทศไทยเลี้ยงดูผู้ลี้ภัยผู้อพยพปลอมต่อไป
มีรายงานจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน ว่า ทันทีที่ประธานาธิบดีทรัมป์ ลงนามยุติช่วยเหลือต่างชาติ เจ้าหน้าที่ UNHCR และ IRC เข้าพบผู้ว่าฯ และบอกให้ผู้ว่าฯรับหน้าที่รักษาคนป่วยในค่ายผู้อพยพบ้านในสอย ค่ายอพยพแม่ริม ที่อำเภอขุนยวม และผู้อพยพสบเมย แทน IRC และ UHNCR
ส่วนผู้พลัดถิ่นในประเทศเมียนมา อดีตทหารอเมริกันผู้ก่อตั้งหน่วยเบอร์มาเรนเจอร์ เป็นผู้ดูและเองต่อไป
กล่าวสรุปคือ ผู้ลี้ภัยปลอม ในค่าย รัฐบาลไทยต้องรับภาระแทน UNHCR และ IRC ที่เงินช่วยเหลือจากยูเสด ถูกตัดไป ส่วนผู้พลัดถิ่นในประเทศเมียนมาที่อ้างว่ามีถึงห้าแสนคน อดีตทหารอเมริกันรับผิดชอบเองเพราะเงินสนับสนุน เงินบริจาคไม่ได้มาจากยูเสดโดยตรง
จึงมีคำถามว่า รัฐบาลไทยจะเอายังไงต่อไปกับผู้ลี้ภัยปลอม ที่เรียกผู้ลี้ภัยปลอม เพราะในพื้นที่ของกลุ่มชาติพันธุ์ใกล้ชายแดนไทยส่วนใหญ่ไม่ได้มีการสู้รบจริง คนที่เข้ามาในค่ายส่วนใหญ่ ถูกอเมริกันปั่นหัว ชักจูงให้เข้าศูนย์พักพิงชั่วคราวด้วยความหวังลมๆ แล้งๆ ว่า จะไปประเทศที่สาม หรือไม่ก็ได้ทำงานในประเทศไทย และสุดท้ายลูกหลานที่เกิดในค่ายอาจได้สัญชาติไทย
ประเทศไทยเลี้ยงคนพวกนี้แทนยูเสดUNHCR และ IRC ต่อไป หรือพิจารณาหาทางส่งพวกเขากลับบ้าน คอลัมน์ทวนกระแสข่าว ยืนยันว่าหมู่บ้านในป่าปลอดภัยกว่าอยู่ในศูนย์พักพิงชั่วคราว เมื่อถึงคราวที่คนไทยส่วนใหญ่ไม่ทน
สุทิน วรรณบวร
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี