สถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์โลก กำลังเผยให้เห็นสิ่งที่เคยบิดเบือนทำลายบ้านเมืองไทย
1.สหรัฐต่อสายเจรจากับรัสเซีย เตรียมพบปะเจรจาระดับประธานาธิบดี
ผู้นำสหรัฐ และรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐ ยังประกาศชัดว่า ยูเครนจะไม่มีทางได้เข้าเป็นสมาชิกนาโต สหรัฐจะไม่ส่งกองกำลังเข้าไปช่วยทำสงครามกับรัสเซีย ความช่วยเหลือก็จะไม่ฟรี ยูเครนต้องจ่ายคืนในรูปแร่หายากและทรัพยากรอื่น และในการยุติสงคราม ยูเครนก็จะไม่ได้ดินแดนกลับมาเท่าเดิม ฯลฯ
2.ที่ผ่านมา USAID ได้ใช้จ่ายเงินไปในการแทรกแซงการเมือง แทรกซื้อสื่อ จัดตั้งกองกำลัง สนับสนุนการยึดอำนาจรัฐในหลายประเทศ
สื่อในยูเครนได้รับเงินอุดหนุนไปจำนวนมาก จึงไม่แปลกใจที่ปั่นให้สังคมยูเครนเป็นปฏิปักษ์กับรัสเซีย กระทั่งได้ตัวตลกขึ้นมาเป็นผู้นำ พาประเทศเข้าสงคราม และสูญเสียย่อยยับ
มีการกดกันคุกคาม เพื่อเปิดทางให้นโยบายผลประโยชน์ของสหรัฐ รวมทั้งเป็นปฏิปักษ์กับจีน
ในไทย ก็มีกลุ่มการเมือง นักกิจกรรม เอ็นจีโอ เครือข่ายม็อบสามนิ้ว การเมืองสีส้ม จำนวนมาก ได้รับการอัดฉีดของกองทุนดังกล่าว (รวมทั้ง NED และกองทุนโซรอส) นำมาซึ่งการทำกิจกรรมปลุกปั่น กัดเซาะบ่อนทำลายความมั่นคง สั่นคลอนสถาบันหลัก ให้ท้ายการโจมตีสาดโคลนมาตรา 112
อินฟลูฯด้อมส้ม พยายามเยินยอพิธา เปรียบกับเซเลนสกี สร้างภาพปั่นกระแสให้เลิศหรูเกินจริง โปรยูเครน มโนว่ารัสเซียกำลังจะแพ้ (ตอนนี้ความจริงปรากฏแล้ว)
มีการปลุกปั่นโจมตีลุงตู่ ด้อยค่าวัคซีนจีน ป้ายสีวัคซีนที่เรามี เชิดชูวัคซีนเทพ แซะหมอยง เยินยอคนอย่างหมอบุญ (หนีคดีไปแล้ว)
พรรคการเมืองสีส้มมุ่งนโยบายปฏิปักษ์จีน ทั้งประเด็นไต้หวัน ฮ่องกง (ผสมโรงกับม็อบสามนิ้ว)
ตีฟองขายฝันไฮเปอร์ลูป ด้อยค่ารถไฟความเร็วสูงจีน
การด้อยค่ากองทัพ ให้ร้ายทหาร ทหารมีไว้ทำไม เซาะกร่อนบ่อนทำลายสถาบัน เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
บัดนี้ ฟองสบู่ภาพลวงตาพังทลายลงแล้วที่ยูเครน ด้วยน้ำมือการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในสหรัฐ
อินฟลูฯในไทยหลายคนกระโดดหนี ไม่กลับไปพูดถึงภาพลวงตาที่เคยตีฟองปั่นหัวสามนิ้วและด้อมส้มอีกเลย
3.การเมืองไทยจะยังเป็นขั้วผสมตามรัฐบาลปัจจุบัน ไม่พลิกขั้วอีก
ขณะนี้ การเมืองในประเทศ ยังมีความพยายามดิ้นรนทางการเมือง เพื่อพลิกสถานการณ์ พยายามจุดกระแส สร้างความปั่นป่วนในสังคม หวังจะได้ควบคุมอำนาจรัฐ
แต่การแก้รัฐธรรมนูญที่ไม่สำเร็จ การเลือกตั้งครั้งต่อไปก็จะยังใช้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
พรรคเพื่อไทยจะต้องประนีประนอมกับพรรคร่วมรัฐบาลมากขึ้น เพื่อสร้างผลงานรูปธรรม
การเมืองในประเทศไทย จึงยังไม่เปลี่ยนข้ามขั้ว และรัฐบาลผสมหลังเลือกตั้งครั้งต่อไปก็มีแนวโน้มจะเป็นขั้วเดิมนี่เอง
4.ไทยต้องรับมือกับจักรวรรดินิยมสหรัฐอเมริกา
สหรัฐเดินหน้าทำสงครามการค้ากับจีน วางยุทธศาสตร์ปิดล้อมจีน กุมเข็มทิศมุ่งอินโด-แปซิฟิก
แน่นอนว่า จะมีมาตรการที่กระทบประเทศไทย ทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจต่อไป
ในด้านเศรษฐกิจ ไทยเราต้องเตรียมรับมือสถานการณ์เศรษฐกิจโลก ที่กระเพื่อมตามนโยบายทรัมป์ 2.0
4.1 จีนตอบโต้กลับสหรัฐฯ อาจมีผลบวกสุทธิต่อไทยเล็กน้อย
วิจัยกรุงศรีฯ ประเมินกรณีสหรัฐฯ ขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีนที่ 10% และจีนตอบโต้สหรัฐฯ ด้วยการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าในอัตรา 10% สำหรับน้ำมันดิบ เครื่องจักรทางการเกษตร และยานยนต์บางประเภท และในอัตรา 15% สำหรับถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG)
ผลกระทบต่อ GDP ของสหรัฐฯ และโลกจะอยู่ที่ -0.16% และ -0.05% ตามลำดับ
นอกจากนี้ ประธานาธิบดีทรัมป์เตรียมจัดเก็บภาษีนำเข้าเหล็กและอะลูมิเนียม 25% จากทุกประเทศ
และเตรียมประกาศใช้ภาษีศุลกากรตอบโต้กับประเทศคู่ค้า ยกระดับความตึงเครียดของสงครามการค้าสูงขึ้น
ด้านเศรษฐกิจจีน มีความคึกคักมากขึ้นช่วงเทศกาลตรุษจีน การใช้จ่ายด้านการท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลตรุษจีนเพิ่มขึ้น 7% YoY การบริโภคสินค้าและบริการขยายตัวถึง 9.9% และ 12.3% ตามลำดับ
วิจัยกรุงศรีประเมินกรณีจีนตอบโต้กลับสหรัฐฯ อาจมีผลบวกสุทธิต่อไทยเล็กน้อย
การประเมินผลกระทบโดยใช้แบบจำลองการวิเคราะห์การค้าโลก (Global Trade Analysis Project: GTAP) พบว่า ปริมาณการส่งออกและ GDP ของไทย จะเพิ่มขึ้นจากกรณีฐาน +0.27% และ +0.02% ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ผลกระทบเชิงบวกสุทธิต่อไทยอาจมีเพียงเล็กน้อยและจำกัดอยู่ในอุตสาหกรรมบางกลุ่มเท่านั้น อาทิ กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ไฟฟ้า ขณะที่อุตสาหกรรมอื่นๆ จะได้รับผลเชิงลบเป็นส่วนใหญ่
ทั้งนี้ ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ยังมีความเสี่ยงที่จะรุนแรงขึ้นได้อีกในระยะถัดๆ ไป รวมถึงยังมีความไม่แน่นอนจากนโยบายการค้าของประธานาธิบดีทรัมป์ต่อประเทศอื่นๆ รวมถึงไทย ซึ่งนับเป็นประเด็นท้าทายที่สำคัญต่อทิศทางและแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจไทยในปีนี้
4.2 เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มจะยังไปต่อได้
ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) มองว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มจะยังไปต่อได้
ปัจจัยเกื้อหนุน ประกอบด้วย การท่องเที่ยว การใช้จ่ายของภาครัฐ การบริโภค การลงทุน และการส่งออกที่ขยายตัวต่อเนื่อง
ส่วนปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ สงครามการค้ารอบใหม่ระหว่างสหรัฐฯ กับประเทศคู่ค้าตามนโยบายทรัมป์ 2.0 หนี้ครัวเรือนยังสูงถึง 89% และภาคการผลิตยังฟื้นตัวไม่ทันในปีที่ผ่านมา
ปัจจัยส่งเสริมให้การส่งออกไทยปี 2568 ยังขยายตัวต่อได้ ภายใต้สภาวะเศรษฐกิจโลกและนโยบายทรัมป์2.0 ได้แก่ การเร่งนำเข้าของประเทศต่างๆ ทั่วโลก โอกาสส่งออกของไทยทดแทนสินค้าจีน อาทิ คอมพิวเตอร์ชิ้นส่วนยานยนต์ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องปรับอากาศ เฟอร์นิเจอร์ แผงโซลาร์
โอกาสส่งออกสินค้าที่ไทยที่ได้รับความนิยมในตลาดโลก เช่น สินค้าเกษตรและอาหาร สินค้าไลฟ์สไตล์
การย้ายฐานการผลิตจากต่างชาติเข้ามาในไทย เช่น ธุรกิจดิจิทัล อิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์ไฟฟ้า
การขยายตัวของตลาดใหม่ เช่น อินเดีย อาเซียน และตะวันออกกลาง และการบังคับใช้ข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (European Free Trade Association : EFTA) เป็นข้อตกลง FTA ฉบับแรกระหว่างไทยกับประเทศในยุโรป(สวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ และลิกเตนสไตน์)
ขณะเดียวกัน ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตา ได้แก่ สินค้าไทยอาจโดนมาตรการจากสหรัฐฯ โดยเฉพาะการถูกเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าที่เกินดุลกับสหรัฐฯ สูง เช่น คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ โทรศัพท์ เครื่องจักร หรือถูกบังคับให้นำเข้าเพิ่ม อาทิ สินค้าเกษตร น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
สินค้าไทยที่อยู่ใน Supply Chain จีนได้รับผลกระทบ อาทิ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ เคมีภัณฑ์ ยางพารา
สินค้าไทยอาจต้องเผชิญการแข่งขันด้านราคากับสินค้าจีนที่ไหลทะลักเข้าสู่ไทยและตลาดโลก อาทิ สินค้าอุปโภค-บริโภค เครื่องใช้ไฟฟ้า เหล็ก อะลูมิเนียม เคมีภัณฑ์
ความผันผวนด้านต้นทุนจากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์โลก (Geopolitics) และค่าเงินยังผันผวนสูงอย่างต่อเนื่อง
4.3 ไทยต้องเตรียมรับแรงกระแทก
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ชี้ว่า ไทยยังต้องพึงระวังความเสี่ยงจากการถูกดำเนินมาตรการจากสหรัฐฯ
การที่ไทยเป็นคู่ค้าที่เกินดุลการค้าสหรัฐฯ อันดับที่ 12มูลค่าราว 40,720 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2566 อาจกลายเป็นเป้าของสหรัฐฯ ในการใช้มาตรการการค้ามากดดันไทยเพื่อให้สหรัฐฯ ได้ประโยชน์สูงสุด เช่น สหรัฐฯ อาจขู่ขึ้นภาษีกับไทยเพื่อเจรจาให้ไทยนำเข้าสินค้าบางรายการจากสหรัฐเพิ่มขึ้น อาทิ สินค้าเกษตร นอกจากนี้ ยังต้องติดตามมาตรการไต่สวน AD/CVD จากสหรัฐฯ ที่อาจมีมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าที่เป็นการย้ายฐานมาจากจีน เช่นที่เกิดขึ้นแล้วกับสินค้าแผงโซลาร์
ภาคธุรกิจจะต้องเน้นกลยุทธ์ในการแสวงหาตลาดศักยภาพใหม่ๆ เพื่อเป็น Buffer ลดความผันผวนของการพึ่งตลาดสหรัฐฯ และจีนที่เป็นคู่ขัดแย้งหลักในสงครามการค้าครั้งนี้ เช่น ตลาดอินเดีย ที่เป็นประเทศวางตัวเป็นกลาง (Conflict-free Country) และเศรษฐกิจยังมีแนวโน้มเติบโตดี รวมถึงตลาดฮาลาล ซึ่งเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูงจากจำนวนชาวมุสลิมทั่วโลกที่มีอยู่ราว 2 พันล้านคน หรือ 1 ใน 4 ของประชากรโลก
EXIM BANK ย้ำว่า ภาพรวมการค้าโลกปีนี้ 2568 ยังมีความไม่แน่นอนสูง โดยเฉพาะจากการดำเนินนโยบายของประธานาธิบดีสหรัฐ ที่ดูเหมือนจะเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ซึ่งแม้ว่าอาจมีบางประเทศหรือบางอุตสาหกรรมได้ประโยชน์จากสถานการณ์ดังกล่าว แต่ภาพรวมของผลกระทบมีแต่จะบั่นทอนสถานการณ์การค้าโลก
สุดท้าย ขอให้ประเทศไทยอยู่รอดปลอดภัย มีโชคมีชัย สวัสดี
...จบ....
สันติสุข มะโรงศรี
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี