• ทุกวันนี้ เราไปโบสถ์ ไปวัด หรือ เข้าสถานที่สำคัญทางศาสนาต่างๆ เราไปเพื่ออะไร
การเข้าโบสถ์
เป็นการแสดงความรักต่อพระเจ้า
การไปโบสถ์เป็นการแสดงความรักและการนมัสการพระเจ้าของเราที่มองเห็นและสัมผัสได้
โบสถ์เป็นสถานที่ที่บรรดาผู้เชื่อมาชุมนุมกัน เพื่อเป็นพยานถึงความเชื่อและการวางใจพระเจ้าของเรา
เป็นสิ่งที่ชาวคริสต์ทุกคนต้องกระทำ โดยปกติจะปฏิบัติกันเป็นประจำทุกวันอาทิตย์
(นายพรพรหม ทองมีทิพย์)
การเข้าวัด
สำรวมกาย วาจา ใจ และระมัดระวังกิริยามารยาทให้สงบเรียบร้อย เมื่อเข้ามาภายในบริเวณวัด
ทำความเคารพพระพุทธรูป
เมื่อเข้ามาภายในพระอุโบสถ ควรแสดงความเคารพพระพุทธรูปที่เป็นพระประธานและพระสงฆ์อย่างสำรวมและนอบน้อม
ช่วยกันดูแลรักษาหรือบูรณปฏิสังขรณ์โบราณสถานและโบราณวัตถุภายในวัด
ให้มั่นคงแข็งแรงด้วยการบริจาคเงินหรือสิ่งของซ่อมแซม
ฯลฯ
บางส่วนของผู้ไปวัด โดยเฉพาะนักทัศนาจร จะเลือกไปชมวัดที่มี “วัตถุทางศาสนา” ที่ใหญ่โต โอฬาร สวยงาม
และบางวัด จักเน้นการก่อสร้าง พระพุทธรูป และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่มโหฬาร เด่นงามตาฯ
และผู้คน โดยเฉพาะ ผู้มีฐานะ มักจะเลือกไปวัดใหญ่ วัดที่มีเจ้าอาวาส มียศ มีสมณศักดิ์สูง
และในการนิมนต์พระที่มีสมณศักดิ์สูงฯ ค่ากัณฑ์เทศน์ ก็จะต้องเป็นเงินจำนวนสูงมากขึ้นกว่าฯ
•
เดี๋ยวนี้ พระพุทธรูป กลายเป็นวัตถุศักดิ์สิทธิ์ไป
เป็นของศักดิ์สิทธิ์ไปในรูปหนึ่ง
คนเข้าไปกราบไหว้ โดยอาการวิงวอน ขอร้องบนบานศาลกล่าว
เพื่อให้ได้สิ่งที่ตนประสงค์
การกระทำในรูปเช่นนั้น ผิดหลักของพระพุทธศาสนา
เพราะ พระพุทธศาสนา สอนให้ปฏิบัติธรรม
ไม่ใช้สอนให้ไปวิงวอน ร้องขอบนบานศาลกล่าว
ท่านปัญญานันทภิกขุ
เนื้อแท้ของพระพุทธเจ้านั้นคืออะไร
คือคุณธรรม คือความกรุณา ปัญญา ความบริสุทธิ์
เราต้องทำใจให้บริสุทธิ์ ใจบริสุทธิ์ก็เรียกว่า เรามีพระ
ใจจะบริสุทธิ์มันก็ต้องมีปัญญา ไม่มีปัญญาก็บริสุทธิ์ไม่ได้
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า “ปญฺญาย ปริสุชฺฌติ”คนย่อมบริสุทธิ์ด้วยปัญญา
• ที่ยกมากล่าว เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน
ที่เน้น “ด้านวัตถุ” มากกว่า “ด้านจิตใจ”
แต่ ย่อมเป็นเรื่องดี ที่มีผู้คนเข้าวัดกัน เพราะ ย่อมมีประโยชน์กว่า ไปสถานที่ อโคจร
• แล้ว เราควรจะช่วยกันอย่างไร? ให้เข้าถึง แกนแท้แก่นธรรมของศาสนา : โดยขอเน้นมาที่ พุทธศาสนา
โดยแนวทางที่ถูกต้อง
1.เราต้องศึกษา และทำความเข้าใจ ถึง “วัตถุประสงค์หลัก ในสิ่งที่พระพุทธองค์ ทรงเน้นในการปฏิบัติ
ในยุคเริ่มต้น ในสมัยของพระพุทธเจ้าฯ
(๑)เน้นไปที่ตัวของคน
(๒)เน้นใช้ ธรรม ที่ทรงตรัสรู้แล้ว มาสอนคน
ไม่ใช่ วัตถุ หรือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ไม่มีสวรรค์นรก
(๓)เน้นผลประโยชน์ปัจจุบัน แก้ปัญหาที่คนประสบทุกข์ในปัจจุบัน
ไม่ใช่ ชาติก่อน ชาติหน้า
2.ตามหลักพุทธศาสนา ทรงมีความเชื่อมั่น ในศักยภาพของความเป็นมนุษย์
ทัศนะของพุทธปรัชญาเชื่อว่า มนุษย์เป็นธรรมชาติ ชนิดที่มีธรรมชาติทั้งหมดอยู่แล้วในตัว
มนุษย์เป็นธรรมชาติที่วิวัฒนาการสูงสุดแล้ว
เมื่อมนุษย์เป็นวิวัฒนาการสูงสุดของธรรมชาติ
จึงมีความจริงครบทุกระดับอยู่ในตัวมนุษย์ ทั้งฝ่ายวัตถุและฝ่ายนามธรรม
ในด้านวัตถุ คือ ร่างกาย ก็มีสาร มีธาตุต่างๆที่โยงไปถึงโลกธรรมชาติได้ทั้งหมด
ในด้านจิตใจ มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีศักยภาพ คือ ความสามารถที่จะฝึกฝนพัฒนา ตนเองให้เป็นผู้ประเสริฐที่สุด
สรุป มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐ ที่สามารถฝึกฝนและพัฒนาได้
ทั้งทางกาย และใจ
และการฝึกฝนและพัฒนาได้ ด้วยสติปัญญาความจริง เข้าถึงความเป็นจริงได้
3.ความคิดในศาสนา ที่น่าสนใจ และ จะเป็นประโยชน์ต่อตน ครอบครัว เพื่อนมิตร ชุมชน สังคมฯ
คือ การศึกษาศาสนาในแง่ของความเป็นมนุษย์ (คุณวิจักขณ์ พานิช)
4.หัวใจสำคัญของการมีศาสนา คือ
การนำหลักธรรมของศาสนา มาเปลี่ยนแปลงโลกภายในของคน ของตัวเรา”
เพราะ เมื่อมนุษย์สามารถพัฒนาเปลี่ยนแปลงโลกภายในของตัวเราได้
เราก็จะมีปัญญา (ที่เป็นหัวใจของมนุษย์) ที่สามารถไปรับรู้ถึงความจริงของสิ่งต่างๆ ได้
และ ย่อมสามารถพัฒนาเปลี่ยนแปลง ชีวิต ชุมชน สังคมบ้านเมืองและโลกได้
ขอสรุปว่า ในพุทธศาสนามีหลักการให้การศึกษามนุษย์
ด้วยการฝึกฝนพัฒนาให้รู้จักรับรู้และรู้จักปฏิบัติต่อสิ่งที่เกี่ยวข้องในชีวิตอย่างถูกต้อง
ซึ่งจะทำให้ไม่มีปัญหาเกิดขึ้น เรียกว่าทำให้ไร้ทุกข์
การศึกษาหรือการพัฒนาคนนี้ ก็ดำเนินไปตามหลักของกรรมนั่นเอง
เพราะหลักกรรมถือว่าสิ่งที่เป็นผลจะเกิดขึ้นจากเหตุ คือเป็นกฎแห่งเหตุและผล
แต่เป็นกฎเหตุผลในส่วนที่เกี่ยวกับพฤติกรรมหรือการกระทำของมนุษย์
ตามหลักกรรมนั้น การกระทำเป็นเหตุ สิ่งที่ต้องการเป็นผล
ฉะนั้นผลสำเร็จที่ต้องการจึงเกิดจากการกระทำ
ในการกระทำนั้นความพากเพียรพยายามเป็นแรงขับเคลื่อน
การที่มนุษย์จะสามารถทำการต่างๆ อันเป็นเหตุปัจจัยนำไปสู่ผลที่ต้องการได้นั้น
มนุษย์จะต้องมีความเพียรพยายามในการกระทำ
ผู้ที่เข้าใจหลักกรรมจะหวังผลสำเร็จจากการกระทำด้วยความเพียรพยายามตามเหตุตามผล
(พระมหาประยุทธ์ ปยุตฺโต)
• ที่กล่าวมาข้างต้น เป็นการเข้าใจ ศาสนา ในแง่ของความเป็นมนุษย์
แล้ว สิ่งที่กล่าวต่อไป คือ การนำมาใช้ในชีวิตปัจจุบัน
การนำมาใช้ในชีวิตปัจจุบัน
๑.ปัจจุบัน เป็นของจริง ที่แตะต้องสัมผัสรับรู้ได้ พิสูจน์หาเหตุปัจจัยได้
(อนาคต หรือ ชาติหน้า และ อดีต หรือชาติก่อน เป็นเรื่องที่มนุษย์เราไม่รู้จริง
และยังมีความไม่แน่ใจ ไม่แน่ชัด ว่า มีจริงหรือไม่)
๒.ความรู้ต่างๆ ที่มีการพัฒนาก้าวหน้าขึ้นไปเรื่อยๆ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีต่างๆ AI ฯลฯ
สามารถนำมารับใช้ ชีวิตความเป็นอยู่ สุขภาพฯลฯ แก่ ตัวเรา เพื่อนมิตร ครอบครัว ชุมชน บ้านเมืองและโลกได้
ในชีวิตปัจจุบันฯ
ซึ่ง เรื่องเหล่านี้ ต้องใช้ “มนุษย์” เป็นผู้สร้าง ผู้ค้นพบฯและนำมาประยุกต์ใช้
ซึ่งต้องใช้เวลา และ อัจฉริยภาพ ศักยภาพ ของมนุษย์
และเมื่อมนุษย์ สามารถพัฒนา จนเข้าใจ เข้าถึง ย่อมสามารถพัฒนาให้ก้าวหน้าต่อไป
๓. และ มนุษย์ ควรใช้ “ความรู้ ศักยภาพของมนุษย์” ที่ส่วนสำคัญหนึ่ง ได้มาจากการเข้าใจตัวเอง
ตามหลักศาสนา โดยเฉพาะ พุทธศาสนา
มาใช้พัฒนา “การเข้าใจและประยุกต์” ตัวของมนุษย์เอง และ
การนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตปัจจุบัน
จะเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและความหมายยิ่ง และเป็นจริง จะดีที่สุด
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี