30 ธันวาคม 2562 มหาวิทยาลัย Turku University of Applied Science จัดการแข่งขัน B2B Sales ณ เมืองทัวร์คู (Turku) ประเทศฟินแลนด์ เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ภายใต้การสนับสนุนทุนจากสหภาพยุโรป โดยการแข่งขันดังกล่าว ได้มีอาจารย์ตัวแทนจากประเทศไทย ซึ่งได้แก่ ผศ.ดร.กฤษฎา ศรีแผ้ว คณบดี วิทยาลัยนานาชาติ ดร.กุลบุตร โกเมนกุล รองคณบดี ฝ่ายบริหารและวิเทศสัมพันธ์ อาจารย์อัมพร พัวประดิษฐ์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และ อาจารย์อุษณีย์ มะลิสุวรรณ อาจารย์ประจำ หัวหน้าสาขาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต เข้าร่วมในฐานะเป็นกรรมการตัดสิน และ เป็นวิทยากรพิเศษ (Keynote Speaker)
ดร.กฤษฎา กล่าวว่า การเข้าร่วมการศึกษาดูงานและโครงการแข่งขันระดับนานาชาติที่ประเทศฟินแลนด์ นี้เป็นส่วนหนึ่งของ โครงการ SEASAC (South East Asia Sales Competition) โดยตนและทีมได้มีโอกาสเห็น และแลกเปลี่ยนมุมมองกับระบบการเรียน การสอน หรือ การศึกษาที่ได้รับการขนานนามว่าดีที่สุด โดยการศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยนั้นนักศึกษาปีแรกจะต้องเรียนพื้นฐานวิชาต่าง ๆให้สำเร็จ ในส่วนของปีสอง และปีสามคือลงมือทำโปรเจคจริง กับลูกค้าจริงที่เป็นบริษัท โดยส่วนของค่าตอบแทน ก็จะมีการจัดสรรให้เด็กที่ทำงาน โดยที่อาจารย์ทำหน้าที่เป็นโค้ช คอยช่วย สนับสนุนก็พอ นอกจากนั้นเด็กต้องหา นำทฤษฎีมาปรับใช้ และศึกษาเพิ่มเติมด้วย โดยมีระบบการประเมินหรือวัดผลการศึกษา จะมีความยืดหยุ่นสูง ซึ่งอาจจะเป็นเกณฑ์ข้อตกลงกันระหว่างตัวโค้ชกับนักศึกษาในแต่ละส่วนงาน
อาจารย์อัมพร ได้กล่าวเสริมว่า จากการดูงานที่ Turku University of Applied Science เมือง Turku และ Haaga Helia Univ. เมือง Helsinki พบแนวการสอนเหมือนกันคือ ทั้งบริษัท และมหาวิทยาลัยจะร่วมมือกันจัดตั้ง Business Academy เพื่อพัฒนาทักษะนักศึกษา ดังนั้น บรรยากาศจึงเป็นแบบห้องเรียนที่มีขนาดไม่ใหญ่ โดยใช้ทุนสนับสนุน มาจากบริษัทต่าง ๆ โดยพื้นที่สำคัญคือ center ที่ให้เด็กมานั่งคุยกัน แบบ project-based learning หา แนวทางแก้ไขปัญหาให้บริษัท ๆ ก็จะให้ค่าตอบแทน โดยมหาลัยเอาไปปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกอุปกรณ์การเรียน และจัดปาร์ตี้ นัดพบ โดยให้เด็กนำเสนอผลงาน และบริษัทก็มา คัดเลือกเด็กไปทำงาน ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจะเป็นการตอบโจทย์ให้กับตลาดแรงงาน ไปพร้อมกับการสร้างคนที่เหมาะสมในสภาวะต่าง ๆ ที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วของตลาดโลกในปัจจุบัน
อาจารย์อุษณีย์ ได้ให้ข้อมูลว่า ในสหภาพยุโรปมักเจอมหาวิทยาลัยอยู่ 2 รูปแบบคือ มหาวิทยาลัยแบบทั่วไป กับ มหาวิทยาลัยที่มีคำว่า “University of Applied sciences” ในสมัยก่อน ระบบการศึกษาใน EU มหาวิทยาลัยก็ลักษณะแบบที่เห็นโดยทั่วไป แต่ในปัจจุบันบริษัทเริ่มสะท้อนปัญหาให้ฟังว่าบัณฑิตที่จบไปทำงานไม่เป็น ปรับเอาความรู้ทฤษฎีมาใช้กับงานไม่ได้ ดังนั้น ในระบบการศึกษามันควรต้องมีรูปแบบการเรียนการสอนที่เด็กสามารถประยุกต์ใช้ concepts ทฤษฎี กับงานในเชิงพาณิชย์ให้เป็น และเด็กจะต้องถูกสร้างให้มี Employability skills และEntrepreneurship mindset โดยที่การวัดผลดูที่ทักษะใรการพัฒนาการ development skills จาก learning by doing ผลที่ตามมาจึงเกิด University of Applied sciences ขึ้นมาเพื่อรองรับความต้องการของตลาดแรงงาน ส่วนใครที่อยากเน้นเรียนไปในด้านวิชาการ วิจัยค้นคว้าก็ให้ไปเรียนกับมหาวิทยาลัยในรูปแบบดั้งเดิม ซึ่งทั้งสองแบบก็ถือว่ามีส่วนขับเคลื่อนให้ระบบเศรษฐกิจ และสังคม ของ EU เติบโตแข็งแกร่งได้เป็นอย่างดี
ดร.กุลบุตร กล่าวถึงระบบการศึกษาในมหาวิทยาลัยที่ประเทศไทยนั้นก็ได้เริ่มมีการปรับตัวเป็น University of Applied Sciences มากยิ่งขึ้นซึ่งจะเห็นในหลายคณะ หลายมหาวิทยาลัย นั้นได้มีการสร้างหลักสูตรที่เน้นในเรื่องของการประยุกต์การทำธุรกิจ โดยนำบริษัทภาคเอกชนเข้ามาร่วมในการปรับปรุงหลักสูตรทางวิชาการ โดยล่าสุด ทางวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ก็ได้สร้างหลักสูตรปริญญาโท Master of Science in International Digital Business เพื่อตอบโจทย์การทำธุรกิจในปัจจุบัน โดยดึงเอาบริษัทเอกชนทั้งในและต่างประเทศต่าง ๆ รวมถึง มหาวิทยาลัยพาร์ทเนอร์จากต่างประเทศมาช่วยพัฒนาหลักสูตร ปรับการเรียนการสอนให้เป็น Project and Problem Based ซึ่งจะได้รับข้อมูลมาจากองค์กรภาคธุรกิจ ในสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อมาให้เด็กใช้การแก้ไข้ปัญหา มากกว่าแค่การเรียนหรือศึกษาแต่ในหนังสือ
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี