23 กันยายน 2563 เวลา 20.00 น. ตามเวลาประเทศไทย ประธานาธิบดีสาธารณรัฐอุซเบกิสถาน ชัฟคัต มีรซิโยเยฟ กล่าวสุนทรพจน์ ณ ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติวันแรกของการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ โดยสุนทรพจน์ถูกแปลเป็นภาษาสากล ในขณะเดียวกัน สุนทรพจน์นี้ไม่ใช่เป็นแค่เพียงคำพูดลอยๆ แต่ได้สะท้อนให้เห็นถึงข้อเสนอและแนวทางที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ
ในรอบหลายร้อยปีที่ผ่านมา การระบาดของโควิด-19 กลายเป็นความท้าทายที่ได้แสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอของมนุษยชาติต่อภัยคุกคามนี้ ในขณะเดียวกันก็แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและประชาชน ตลอดจนความสำคัญของการพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาอย่างต่อเนื่อง ความไว้วางใจกันและความร่วมมืออย่างใกล้ชิด
นายชัฟคัต มีรซิโยเยฟ ประธานาธิบดีอุซเบกิสถาน มีความคิดที่จะพัฒนาประมวลกฎหมายระหว่างประเทศ เกี่ยวกับพันธกรณีของรัฐระหว่างการแพร่ระบาดของโควิด-19 ภายใต้การดูแลของสหประชาชาติ ซึ่งได้สะท้อนถึงภาระหน้าที่ของแต่ละรัฐที่มีต่อพลเมืองและพันธมิตรระหว่างประเทศ ซึ่ง นายชัฟคัต เรียกร้องให้ประชาคมโลกทำงานอย่างใกล้ชิดมากขึ้น เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในการพัฒนายาและวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด -19 และได้สนับสนุนโครงการระดับนานาชาติเพื่อการเข้าถึงผลของการพัฒนาวัคซีน
ซึ่งความคิดริเริ่มที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การนำมติพิเศษของที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติมาใช้ในการเสริมสร้างบทบาทของรัฐสภาในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และประกันสิทธิมนุษยชน
ทั้งนี้ นายชัฟคัต ยังอธิบายถึงการขจัดปัญหาความยากจนทั่วโลกว่า เรื่องนี้เป็นธีมหลักของการประชุมใหญ่สหประชาชาติในอนาคตและเสนอแนะให้จัดการประชุมสุดยอดระดับโลกในหัวข้อนี้ ซึ่งการกล่าวสุนทรพจน์ในครั้งนี้ ยังแสดงให้เห็นถึงแรงสนับสนุนของอุซเบกิสถานต่อข้อเสนอของ Antonio Guterres เลขาธิการสหประชาชาติ ที่จะจัดการประชุมสุดยอดด้านระบบอาหารในปี 2564 อีกทั้งยังเสนอให้จัดการประชุมระหว่างประเทศ เพื่อฉลองครบรอบ 10 ปีของแผนปฏิบัติการร่วมของประเทศในเอเชียกลาง สำหรับการดำเนินการตามยุทธศาสตร์การต่อต้านการก่อการร้ายทั่วโลก และได้เสนอให้ใช้กรุงทาชเคนต์เป็นสถานที่จัดการประชุม
นายชัฟคัต กล่าวต่อไปว่า เพื่อส่งเสริมสันติภาพในอัฟกานิสถาน จึงเริ่มจากการประชุมระดับนานาชาติครั้งใหญ่ในทาชเคนต์ในเดือนมีนาคม 2018 ซึ่งการประชุมครั้งนั้นได้เสนอให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการผู้แทนถาวรสหประชาชาติเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของ อัฟกานิสถาน และได้เรียกร้องให้มีการรับรองมติพิเศษของที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติในการประกาศให้ภูมิภาคทะเลอารัล เป็นเขตนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม
และมีแผนที่จะจัดเวทีระหว่างประเทศ โดยได้รับการสนับสนุนจาก UNESCO ณ เมือง Khiva อุซเบกิสถานในปี 2564 ในหัวข้อ "เอเชียกลาง : ทางแยกของอารยธรรมโลก” ด้วยเพราะจุดอ่อนในการขนส่งระหว่างเอเชียกลางและยุโรป จึงอยากให้มีการสร้างศูนย์กลางระดับภูมิภาค สำหรับการพัฒนาการขนส่งและการเชื่อมต่อการสื่อสารภายใต้การอุปถัมภ์ของสหประชาชาติ และด้วยแนวความคิดใหม่ทั้ง 12 ประการนี้ “สหประชาชาติมีเป้าหมายที่จะรวมประเทศสมาชิกที่เผชิญกับความท้าทายที่ร้ายแรง” สมควรได้รับการพิจารณาและการสนับสนุนอย่างจริงจังจากประชาคมระหว่างประเทศ
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี