ดีพร้อม เร่งยกระดับอุตสาหกรรมสีเขียวในพื้นที่ภาคเหนือดันโปรเจกต์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่ออุตสาหกรรมที่ยั่งยืน
นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดงาน Moving Green Forward ก้าวไปข้างหน้า เพื่อโลก เพื่อเรา โดยมีนายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวรายงาน และ ท็อป พิพัฒน์ อภิรักษ์ธนากร ร่วมงานในครั้งนี้ด้วย
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) เร่งเดินหน้าขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมสีเขียวให้ก้าวไปข้างหน้า เพื่อโลก เพื่อเรา ผ่านกลไก 3 ด้าน คือ 1) GreenProductivity 2) Green Marketing และ 3) Green Finance เพื่อผลักดันให้ภาคอุตสาหกรรมคำนึงถึงความยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ภาคเหนือด้วยโปรเจกต์กรีนต่าง ๆ ได้แก่ 1) เชียงใหม่เมืองคาร์บอนต่ำ2) การออกแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 3) Let’s plant meat 4) การนำกลับมาใช้ใหม่อย่างสร้างสรรค์ และ5) กลุ่มถิ่นนิยม ผ่านการจัดกิจกรรม “Moving Green Forward ก้าวไปข้างหน้า เพื่อโลก เพื่อเรา” มุ่งการใช้ นวัตกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์จากความหลากหลายทางชีวภาพ และการใช้ประโยชน์จากของเสียด้วยกระบวนการอัพไซเคิล โดยตั้งเป้ายกระดับผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคเหนือกว่า 450 ราย ซึ่งคาดว่าจะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้มากกว่า 273 ล้านบาท
นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ปัจจุบันโลกกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในหลายมิติทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดความเสี่ยงและความผันผวนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะในด้านสิ่งแวดล้อมที่ได้เกิดปรากฏการณ์ภาวะโลกเดือด ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากกิจกรรมของมนุษย์ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มมากขึ้นจนเกินสมดุล ซึ่งรัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญพร้อมทั้งมองเห็นโอกาสและความท้าทายต่าง ๆ ให้กับภาคอุตสาหกรรมที่จะสามารถเติบโตทางเศรษฐกิจและตอบโจทย์ตลาดโลกได้อย่างแข็งแกร่ง ดังนั้น กระทรวงอุตสาหกรรม ภายใต้การบริหารงานของนางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกกรม จึงสั่งการให้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) เร่งเดินหน้าผลักดันให้ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมไทย ผ่านกลไก 3 ด้าน คือ1) Green Productivity 2) Green Marketing และ 3) Green Finance ขานรับการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมไทยให้ก้าวไปข้างหน้าเพื่ออุตสาหกรรมที่ยั่งยืน
นายภาสกร กล่าวต่อว่า ทิศทางการขับเคลื่อนทั้ง 3 ด้าน สอดรับกับการดำเนินงานของดีพร้อมที่มุ่งส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการทุกระดับให้สามารถปรับตัวได้เท่าทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ ภายใต้นโยบาย “RESHAPE THE FUTURE : โลกเปลี่ยน อุตสาหกรรมปรับ พร้อมรับอนาคต” ผ่านกลยุทธ์การปรับตัวให้ก้าวทันอุตสาหกรรมยุคใหม่ (RESHAPE THE INDUSTRY) การสร้างการเปลี่ยนแปลงภาคอุตสาหกรรมสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนผ่าน โครงการยกระดับธุรกิจ SME ด้วยการประยุกต์ใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCGที่มุ่งส่งเสริมการใช้นวัตกรรมในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงจากความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงการเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการ การใช้ทรัพยากร และการหมุนเวียนวัสดุกลับมาใช้ใหม่ให้ได้มากที่สุด
สำหรับกิจกรรม “Moving Green Forward ก้าวไปข้างหน้า เพื่อโลก เพื่อเรา” ในพื้นที่ภาคเหนือในวันนี้เป็นกิจกรรมที่ช่วยเร่งสร้างการรับรู้ให้ภาคอุตสาหกรรมได้ตระหนักและให้ความสำคัญ ในการลดการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง ลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคเหนือเกิดความตระหนักเห็นถึงความสำคัญของการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนสามารถนำไปต่อยอดให้เกิดเป็น Moving Green Career สร้างโปรเจกต์กรีน ดีต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมเพิ่มรายได้ จากแนวคิดความสำเร็จของผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคเหนือผ่านโปรเจกต์กรีนต่าง ๆ ที่มาถ่ายทอดประสบการณ์ ความรู้ ได้แก่ 1) เชียงใหม่เมืองคาร์บอนต่ำ ให้ความสำคัญ กับการเชื่อมโยงพลังของทุกภาคีเครือข่ายสู่การทำงานร่วมกันเรียนรู้ร่วมกัน มองเห็นสาเหตุและเข้าใจภาพรวมของปัญหาPM2.5 จนเกิดเป็นกระบวนการแก้ปัญหาฝุ่นควันอย่างยั่งยืน 2) การออกแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่ช่วยส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากฟางข้าว มาสร้างสรรค์สู่ผลิตภัณฑ์ตกแต่งผนังที่มีความสวยงาม มีคุณสมบัติพิเศษสามารถดูดซับเสียงและเป็นฉนวนกันความร้อน ซึ่งช่วยลดมลพิษจากการเผาฟางข้าวได้ 3) Let’s plant meat โปรตีนทางเลือกโดยวัตถุดิบที่ทำจากพืช โดยนำเทคโนโลยีมาใช้ผลิต ผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ เพื่อทดแทนเนื้อสัตว์ช่วยสร้างความยั่งยืนในมุมมองของ
วัตถุดิบอาหาร 4) การนำกลับมาใช้ใหม่อย่างสร้างสรรค์ ซึ่งช่วยลดปริมาณขยะจากซองกาแฟ ที่ไม่สามารถย่อยสลายได้
เองตามธรรมชาติ จึงมีแนวคิดนำกลับมาใช้ใหม่โดยออกแบบเป็นกระเป๋าอัพไซเคิล กระเป๋าแฮนด์เมดจากซองกาแฟ และ 5)กลุ่มถิ่นนิยม ที่สะท้อนให้เห็นถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่รักและอยากพัฒนาชุมชนของตัวเองด้วยการพัฒนาให้ความรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์และกิจกรรมอนุรักษ์ธรรมชาติให้กับชุมชน พร้อมทั้งช่วยยกระดับอุตสาหกรรมเกษตรในพื้นที่ภาคเหนือ สร้างความยั่งยืนให้ระบบนิเวศอย่างสมดุล โดยตั้งเป้ายกระดับผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคเหนือกว่า 450 ราย ซึ่งคาดว่าจะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้มากกว่า 273 ล้านบาท และนำร่องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคอุตสาหกรรมทั่วประเทศมุ่งสู่เป้าหมาย 7.2 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปีตามเป้าของกระทรวงอุตสาหกรรม“ซึ่งการจัดงานครั้งนี้ ถือเป็นการจัดงานครั้งที่ 2 หลังจากเปิดตัวครั้งแรกไปเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2567 โดยภายในงานวันนี้ จัดให้มีการเรียนรู้เทรนด์ธุรกิจ องค์ความรู้ต่าง ๆ และ
มุมมองการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมยุคใหม่ครบทุกมิติ ขณะเดียวกัน ยังมีการบรรยายและเสวนาจากองค์กรและบริษัทชั้นนำที่ดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงการบริหารจัดการด้านอุตสาหกรรมสีเขียว กิจกรรมคลินิกให้คำปรึกษาแนะนำจากหน่วยงานพันธมิตรที่มาจัดแสดงสินค้านวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การให้แนะนำสินเชื่อสำหรับธุรกิจรักษ์โลกจากสถาบันการเงินต่าง ๆ และกิจกรรมดังกล่าวจะจัดขึ้นอีก 2 ครั้ง ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น และในพื้นที่ภาคใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช ภายในเดือนกรกฎาคมนี้” นายภาสกร กล่าวทิ้งท้าย
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี