ปัจจุบัน ข้อมูลวิทยาศาสตร์ทางทะเลที่มีความสำคัญต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลมีอยู่ไม่มากนัก และยากต่อการค้นหา เนื่องจากข้อจำกัดต่าง ๆ โดยเฉพาะข้อมูลในพื้นที่ไกลฝั่ง บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ซึ่งมีพื้นที่ปฏิบัติการส่วนใหญ่อยู่กลางทะเลที่เป็นเสมือนบ้านหลังที่สองซึ่งต้องดูแล รักษาและปกป้องจึงได้พัฒนา แพลตฟอร์มข้อมูลวิทยาศาสตร์ทางทะเลของ ปตท.สผ.หรือ PTTEP Ocean Data Platform (https://oceandata.pttep.com) เพื่อเติมเต็มคลังข้อมูลทางทะเลในอ่าวไทยส่งเสริมความยั่งยืนของท้องทะเล ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ(SDG 14: Life Below Water)รวมถึงเป้าหมายในระดับประเทศและองค์กรอีกด้วย
ข้อมูลวิทยาศาสตร์ทางทะเลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา วิจัย ด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลของประเทศไทย การจัดทำแผนอนุรักษ์และแผนรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินรวมทั้งระบบเตือนภัยต่าง ๆ การตรวจสอบความถูกต้องของแบบจำลองทางคณิตศาสตร์การศึกษากระแสน้ำที่กระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพรวมถึงการฟอกขาวและการฟื้นตัวของปะการัง เป็นต้น รวมทั้ง ยังมีข้อมูลโครงการและกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์ทะเลไทยและส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับชุมชน
รอบชายฝั่ง17 จังหวัดรอบอ่าวไทย ซึ่ง ปตท.สผ. ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง
ข้อมูลภายใน PTTEP Ocean Data Platform มาจากการดำเนินงานภายใต้กลยุทธ์ทะเลเพื่อชีวิต เช่น สถานีตรวจวัดทางทะเลแบบโทรมาตร (Telemetry Marine Monitoring Station)ที่สามารถตรวจวัดและส่งข้อมูลการตรวจวัดตามเวลาที่กำหนดไว้ซึ่งประกอบไปด้วย ข้อมูลด้านอุตุนิยมวิทยา(Meteorological Data)เช่นความเร็วและทิศทางลม อุณหภูมิอากาศ และข้อมูลด้านสมุทรศาสตร์ (Oceanographic Data) เช่น ความเร็วและทิศทางกระแสน้ำ และอุณหภูมิน้ำโดยมีการเก็บข้อมูลที่ระดับความลึกต่างๆ จนถึง 30 เมตรจากผิวน้ำและมีการจัดทำข้อมูลฐานและการตรวจติดตามปริมาณไมโครพลาสติกโดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เก็บตัวอย่างน้ำทั้งบริเวณใกล้ฝั่งและไกลฝั่งบริเวณอ่าวไทยเพื่อนำไปวิเคราะห์ปริมาณไมโครพลาสติก รวมถึงระบุชนิดและแหล่งที่มาของพลาสติกที่ตรวจพบ ซึ่งการเก็บข้อมูลบริเวณไกลฝั่งจะใช้แท่นปฏิบัติการนอกชายฝั่งของ ปตท.สผ. เป็นสถานีเก็บตัวอย่างน้ำทะเลจากเดิมข้อมูลส่วนนี้จะมีอยู่อย่างจำกัด การใช้แท่นปฏิบัติการของบริษัทเป็นจุดเก็บตัวอย่างน้ำจึงช่วยขยายฐานข้อมูลในส่วนพื้นที่ไกลฝั่งของประเทศเอื้อให้การวิเคราะห์เปรียบเทียบปริมาณไมโครพลาสติกและการบริหารจัดการขยะบนฝั่งตลอดจนขยะทะเลของประเทศไทยมีประสิทธิภาพมากขึ้น
นอกจากนั้น ยังมีข้อมูลจากกล้องใต้น้ำและซอฟต์แวร์ปัญญาประดิษฐ์ที่ติดตั้งใต้แท่นผลิตปิโตรเลียม ซึ่งสามารถตรวจติดตามและระบุชนิดสัตว์ทะเลบริเวณขาแท่นเพื่อการอนุรักษ์ความสมบูรณ์ของความหลากหลายทางชีวภาพโดยกล้องบันทึกภาพเคลื่อนไหวใต้น้ำดังกล่าวจะทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์ปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งสามารถระบุสายพันธุ์สัตว์ทะเลได้ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 85
ในการจัดทำและพัฒนา PTTEP Ocean Data Platform นี้ปตท.สผ. ได้ร่วมมือกับพันธมิตรหลายภาคส่วน โดยเฉพาะหน่วยงานราชการและภาควิชาการ เช่น กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผ่านโครงการและการดำเนินงานต่าง ๆ ครอบคลุมการศึกษา วิจัย ตรวจวัด และเผยแพร่ข้อมูลวิทยาศาสตร์ทางทะเล
ปตท.สผ. มีแผนที่จะขยายการเก็บข้อมูลวิทยาศาสตร์และสุขภาพทางทะเลให้ครอบคลุมแหล่งผลิตอื่น ๆทั้งในและต่างประเทศเพิ่มเติมในอนาคต เพื่อสนับสนุนการต่อยอดโครงข่ายข้อมูลของทะเลและมหาสมุทรให้มีมากขึ้น อันเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล และส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์ ตลอดจนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นด้วย
ผู้ที่สนใจสามารถเยี่ยมชมหรือค้นหาข้อมูลเพื่อเป็นประโยชน์ในการอนุรักษ์ทะเลจาก PTTEP Ocean Data Platformหรือ แพลตฟอร์มข้อมูลวิทยาศาสตร์ทางทะเลของ ปตท.สผ.ได้ที่นี่
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี