นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่างานประชุม SSO SUSTAINABLE FOR ALL วันที่ 25 ตุลาคม 67 วันปิดงาน มีนายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ผู้บริหารกระทรวงแรงงานแรงงาน คณะกรรมการประกันสังคม นักวิชาการ ผู้แทนพรรคการเมือง เข้าร่วม ณ ห้อง แซฟไฟร์ อาคารอิมแพค ฟอรั่ม เมืองทองธานี
นายพิพัฒน์ กล่าวว่า ปัจจุบันมีคนทำงานในประเทศไทย จำนวนกว่า 24 ล้านคน ที่เข้าสู่ระบบประกันสังคมของประเทศไทย โดยปี 2568 นี้ สำนักงานประกันสังคม ได้กำหนดเป้าหมาย ในการยกระดับงานด้านบริการที่ได้มาตรฐาน สะดวกและ รวดเร็ว พร้อมพัฒนาสวัสดิการด้านประกันสังคมที่ดีและเหมาะสมต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน เพื่อการยกระดับและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีสำหรับผู้ประกันตนทุกคน ในการประชุมครั้งนี้ ได้มีข้อเสนอจากผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ นายจ้าง ผู้ประกันตน ผู้แทนพรรคการเมือง และ ทุกภาคส่วนร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ โดยมีผลสรุปประเด็น ทั้ง 4 ห้อง ดังนี้
1 : สิทธิประโยชน์ด้านขยายความครอบคลุมหลักประกันสังคมด้วยสิทธิประโยชน์ที่เพียงพอ
1.1 ออกแบบระบบประกันสังคมให้ครอบคลุมกับรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไป และสังคมสูงวัย
1.2 การสร้างหลักประกันให้กับผู้ประกอบอาชีพอิสระ ม.40 หรือ ม.40 PLUS
1.3 การปรับเพดานเงินสมทบ ให้ได้รับสิทธิประโยชน์ที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเงินบำนาญ การบริการทางการแพทย์
1.4 สิทธิรักษาแบบประคับประคอง (PALLIATIVE CARE) คือ การเยียวยากลุ่ม ลูกจ้างที่เจ็บป่วยร้ายแรงจนไม่สามารถทำงานได้หรือมีโอกาสเสียชีวิตสูง ช่วยครอบครัวให้สามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้
2 : ทางการแพทย์ อนาคตของระบบประกันสุขภาพ โดย ส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคให้ผู้ประกันตนเป็นสำคัญ และนำเทคโนโลยี มาใช้ในการจัดการข้อมูลสุขภาพของผู้ประกันตน ให้เกิดการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ รวมทั้งสร้างระบบ การพยากรณ์ด้านสุขภาพรายบุคคล เพื่อกระตุ้นให้เกิดการป้องกันก่อนเป็นโรคร้ายแรง
3 : แนวทางการบริหารเงินลงทุนสร้างในการสร้างเสถียรภาพโดยคำนึงความเสี่ยงที่สำคัญ เพื่อตัดสินใจด้านกลยุทธ์การลงทุนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ความเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไป
4 : คณิตศาสตร์ประกันภัย ในความยั่งยืนของกองทุนประกันสังคม ต้องเริ่มต้นจากสิทธิประโยชน์ที่เพียงพอ สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและค่าครองชีพที่เปลี่ยนแปลงไป สามารถดำเนินการได้โดย
4.1 ปฏิรูปสิทธิประโยชน์ที่เพียงพอต่อการดำรงชีพหลังเกษียณ
4.2 การปรับเพดานค่าจ้างเพื่อสร้างสิทธิประโยชน์เพียงพอระหว่าง การทำก่อนเกษียณ
4.3. การลดต้นทุน (รายจ่าย) โดยขยายอายุเกษียณอย่างค่อยเป็นค่อยไป รวมถึงการเก็บเงินสมทบเพิ่ม (ขยายอัตรา)
“ผมในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เราทำวันนี้ เพื่ออนาคต และ เตรียมความพร้อมล่วงหน้า ขอบคุณทุกคนที่เกี่ยวข้อง กับงานในวันนี้ ซึ่งผมมีความเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า เราจะได้แนวทางตามนโยบายด้านประกันสังคม และนโยบายด้านการลงทุนที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ประกันตน และยังมีงานอีกหลายๆส่วนที่พวกเราทุกคนสามารถพัฒนาการทำงานเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกันคือ การสร้างประเทศไทยที่มีความมั่นคงทางสังคม ผมพร้อมเดินหน้าผลักดันอย่างเต็มกำลังในการยกระดับสิทธิประโยชน์และเพิ่มสวัสดิการที่ตอบสนองความต้องการที่แท้จริงให้กับผู้ประกันตน” นายพิพัฒน์ กล่าวปิดท้าย
นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวต่อว่า สิ่งที่ได้ประชุมมา กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคมจะนำไปพิจารณา เพื่อให้ประโยชน์ถึงผู้ประกันตนมากที่สุด รวมถึงความเหมาะสม ต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและสังคมเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับกองทุนประกันสังคมอยู่เคียงข้างคนไทยตลอดไป
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี