ในโลกธุรกิจปัจจุบันที่ทุกอย่างหมุนไปอย่างเร็วรี่ ปฏิเสธไม่ได้ว่านวัตกรรมเริ่มกลายเป็นเรื่องสำคัญมากเข้าไปทุกที จนในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้เริ่มมีการพูดถึง #ธุรกิจนวัตกรรม มากขึ้น แต่เคยสงสัยไหมว่าคำดังกล่าวหมายถึงอะไร และสำคัญต่อเราขนาดไหน วันนี้เราจะมาเล่าให้ฟัง
นวัตกรรมคืออะไร?
ก่อนจะเข้าใจคำว่าธุรกิจนวัตกรรม เรามาทำความเข้าใจคำว่า ‘นวัตกรรม’ กันก่อน นวัตกรรมหมายถึงการสร้างสรรค์สิ่งใหม่หรือปรับปรุงสิ่งเดิมด้วยวิธีการที่ไม่เคยทำ เพื่อสร้างคุณค่าและแก้ปัญหาต่าง ๆ โดยถึงแม้บางครั้งนวัตกรรมอาจไม่ใช่แนวคิดใหม่แกะกล่อง แต่การต่อยอดจากสิ่งเก่าเพื่อเกิดสิ่งใหม่ก็ถือเป็นนวัตกรรมอยู่ดี อีกทั้งด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีในปัจจุบันก็ช่วยให้การสร้างสรรค์นวัตกรรมต่อยอดกลายเป็นเรื่องที่เข้าถึงได้ง่ายมากขึ้นสำหรับทุกคนในประเทศ ดังนั้นในแง่มุมธุรกิจ นวัตกรรมที่เข้าถึงได้ง่ายขึ้นนี้จึงเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการสามารถนำนวัตกรรมมาประยุกต์ได้ทั้งในด้านสินค้า บริการ และกระบวนการทำงาน เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าและช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขัน
แล้ว “ธุรกิจนวัตกรรม” หมายถึงอะไร?
หนึ่งในความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ ‘ธุรกิจนวัตกรรม’ คือหลายคนอาจเข้าใจว่าหมายถึงธุรกิจที่มุ่งเน้นด้านเทคโนโลยีเท่านั้น ซึ่งนั่นไม่ใช่เลย เพราะธุรกิจนัวตกรรมหมายรวมถึงทุกประเภทของธุรกิจที่มีการนำเสนอไอเดียใหม่ ๆ , ใช้วิธีการใหม่ๆ หรือเครื่องมือทันสมัยในการปรับปรุงสินค้าและบริการ เพื่อเป้าหมายหลักคือการตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้ดียิ่งขึ้น การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และการสร้างความได้เปรียบในตลาดตั้งแต่ระดับภูมิภาคไปจนถึงระดับประเทศ ตัวอย่างเช่น ธุรกิจอาหารที่พัฒนาสูตรรักษ์โลก หรือร้านค้าปลีกที่ใช้เทคโนโลยีในการวิเคราะห์ข้อมูลของลูกค้าเพื่อเสนอสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น
รูปแบบของนวัตกรรมในธุรกิจมีกี่แบบ?
ปัจจุบันเราแบ่งธุรกิจนวัตกรรมออกเป็น 4 ประเภทหลัก ดังนี้
1.นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation): ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ Tesla ที่นำเสนอรถยนต์ไฟฟ้า หรือ Nike ที่พัฒนาสินค้าใหม่ ๆ ด้วยการใช้วัสดุรีไซเคิล ซึ่งสร้างความแตกต่างในตลาดและตอบโจทย์ลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น
2.นวัตกรรมบริการ (Service Innovation): การให้บริการที่ตอบสนองความต้องการลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ตัวอย่างเช่น สายการบินที่มีบริการเช็คอินผ่านมือถือและไม่มีการรอคิว หรือบริการส่งอาหารที่ใช้แอปพลิเคชันง่าย ๆ
3.นวัตกรรมกระบวนการ (Process Innovation): การใช้เทคโนโลยีเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพ เช่น การนำระบบอัตโนมัติมาใช้ในกระบวนการผลิต หรือการใช้ซอฟต์แวร์ในการจัดการคลังสินค้าเพื่อลดเวลาและค่าใช้จ่าย
4.นวัตกรรมการตลาด (Market Innovation): การใช้เครื่องมือดิจิทัลเพื่อเข้าถึงลูกค้าหรือทำการตลาดที่แตกต่าง เช่น การใช้ AI ในการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าเพื่อตอบสนองและเข้าใจความต้องการของพวกเขาได้ดียิ่งขึ้น
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าไม่ว่าจะทำธุรกิจแบบไหน ระดับเล็กไปจนถึงระดับใหญ่ ในยุคสมัยนี้ทุกผู้ประกอบการควรควรพิจารณาแนวทางนวัตกรรมด้วยกันทั้งนั้น ไม่ควรมองข้ามข้อดีที่มาพร้อมกับนวัตกรรมเหล่านี้ เพราะไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ในยามที่มีปัญหานวัตกรรมสามารถช่วยให้ธุรกิจโดดเด่นในตลาดที่มีการแข่งขันสูงได้ อีกทั้งยังเปิดโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่เมื่อสร้างสิ่งใหม่ ๆ ด้วย ซึ่งเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในตลาดที่เกิดขึ้นตลอดเวลา
แล้วธุรกิจของคุณล่ะ ได้ผสมผสานนวัตกรรมเข้าไปหรือยัง?
ข่าวดีสำหรับผู้ประกอบการ SMEs หรือ StartUp รุ่นใหม่หัวใจนวัตกรรม กลับมาอีกครั้ง! “โครงการประกวดสุดยอดธุรกิจนวัตกรรม ประเทศไทย รุ่นที่ 3 (นิลมังกร) การเข้าร่วมประกวดค้นหา สุดยอดธุรกิจนวัตกรรม ที่เสนอโอกาสให้ทุกคนได้คว้าโอกาสในการเป็นตัวแทนระดับภูมิภาค สู่การประกวดชิงแชมป์ประเทศไทย อีกทั้งยังได้ร่วมเป็นหนึ่งใน “นิลมังกร” ที่จะได้รับการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ไปทั่วประเทศ และทั่วโลกแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน! ร่วมค้นหาประสบการณ์ที่ท้าทาย แถมยังสร้างโอกาสในการโปรโมทธุรกิจและผลักดันยอดขายได้ที่นี่เลย สนใจสมัคร คลิกลิงก์นี้ >> http://bit.ly/3C9xDep ตั้งแต่วันนี้ – 15 พฤศจิกายน 2567
#นิลมังกร #SMEs #StartUp
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี