เมื่อเผชิญกับเหตุการณ์น้ำท่วมสิ่งที่เจ้าของบ้านต้องรับมือไม่เพียงแต่การทำความสะอาดเท่านั้นแต่ภารกิจสำคัญคือการฟื้นฟูบ้านให้กลับมาน่าอยู่และแข็งแรงกว่าเดิม โดยเฉพาะการซ่อมแซมโครงสร้างและผนังที่ได้รับความเสียหายจากความชื้นเป็นสิ่งสำคัญเพราะอาจทำให้เกิดปัญหาเชื้อราและการเสื่อมสภาพของบ้านยิปซัมตราช้างจึงขอนำเสนอแนวทางในการฟื้นฟูบ้าน ตามคู่มือ “บัญญัติ21 ประการบ้านหลังน้ำท่วม”โดยอาจารย์ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ ในการเลือกใช้วัสดุที่มีความทนทานต่อความชื้นเพื่อให้บ้านกลับมาสวย ใช้งานได้ดี มีความแข็งแรงและปลอดภัย
การตรวจสอบและทำความสะอาดหลังน้ำท่วม
ก่อนเริ่มซ่อมแซมบ้าน สิ่งสำคัญคือต้องตรวจสอบและประเมินความเสียหายของโครงสร้างอย่างละเอียด โดยเริ่มจากภายในบ้านเพื่อคืนความปลอดภัยและความสะดวกให้ได้อย่างรวดเร็ว สิ่งที่ต้องตรวจสอบประกอบด้วยระบบไฟฟ้าและระบบประปารวมถึงการกำจัดวัสดุที่ได้รับความเสียหายจากน้ำ เช่น พื้นและวัสดุปูพื้นที่บวมเปื่อย นอกจากนี้ ควรเช็กท่อระบายน้ำหรือบ่อพักน้ำที่อาจกลายเป็นที่ซ่อนของสัตว์อันตราย เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น
หลังจากนั้น ควรทำความสะอาดให้ทั่วถึงโดยจัดการเก็บกวาดขยะและใช้น้ำยาฆ่าเชื้อเพื่อกำจัดเชื้อราและแบคทีเรีย ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทั้งโครงสร้างภายในและภายนอกของบ้าน อีกทั้งควรเปิดหน้าต่างเพื่อระบายอากาศและปล่อยให้ความชื้นระเหยออกไป ช่วยให้บ้านแห้งเร็วขึ้นพร้อมสำหรับการซ่อมแซมขั้นถัดไป
เปลี่ยนวัสดุผนังหลังน้ำท่วมอย่างมีประสิทธิภาพ
การตรวจสอบโครงสร้างภายในผนังก็เป็นขั้นตอนสำคัญหากพบความเสียหายที่โครงสร้างผนังควรทำการซ่อมแซมทันทีเพื่อรักษาความแข็งแรงของบ้านต้องรื้อวัสดุผนังที่เสียหายออก โดยเฉพาะแผ่นผนังที่ชื้นและบวม ควรรื้อถอนเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อราลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ โดยผนังแบ่งเป็นวัสดุดังต่อไปนี้
ผนังก่ออิฐฉาบปูน: ขั้นตอนการรื้อและทำความสะอาดจะคล้ายกับผนังไม้ แต่เนื่องจากผนังอิฐมีความหนากว่า จึงต้องใช้เวลานานกว่าในการระบายความชื้น เมื่อผนังแห้งสนิทแล้ว จึงค่อยทำการทาสีใหม่
ผนังยิปซัม: หากเสียหายจากความชื้น ควรเลาะแผ่นที่เสียออก โดยหากโครงคร่าวเป็นโลหะและไม่มีคราบสนิม สามารถติดตั้งแผ่นใหม่ได้ทันที แนะนำให้ใช้แผ่นยิปซัมมอยส์บล็อค ตราช้าง (ทนชื้น) ความหนา 12 มม.ที่มีคุณสมบัติทนความชื้นได้ดี ดูดซึมน้ำต่ำกว่า5% ติดตั้งง่าย
เลือกวัสดุที่เหมาะสมสำหรับฟื้นฟูฝ้าเพดานป้องกันปัญหาความชื้นและเชื้อราในระยะยาว
หากฝ้าเพดานมีการสะสมความชื้นเป็นเวลานาน จะเกิดเชื้อราและทำให้ฝ้าเสียหาย หากเป็นฝ้าเพดานยิปซัมบอร์ดหรือกระดาษอัดควรนำออกแล้วจึงเปลี่ยนแผ่นใหม่ และเพื่อป้องกันความชื้นในระยะยาวควรเปลี่ยนเป็นแผ่นยิปซัมเวเทอร์บล็อคตราช้าง “เมทัลไลท์ฟอยล์”ที่มีคุณสมบัติทนน้ำกันร้อน กันรา ช่วยลดปัญหาแผ่นฝ้าบวม หดตัว แตกร้าว อันมาจากความชื้นได้เป็นอย่างดี ยืดอายุการใช้งานของฝ้าเพดาน
การเลือกวัสดุที่เหมาะสม และเพิ่มประสิทธิภาพ
การซ่อมแซมหลังน้ำท่วมจะมีความแข็งแรงและทนทานได้ดียิ่งขึ้น เจ้าของบ้านควรเลือกวัสดุที่ตอบโจทย์ฟังก์ชันต่างๆ ภายในบ้าน เช่น หากต้องการเพิ่มความแข็งแรงให้กับผนังเลือกใช้ ระบบผนังโซลิดวอลล์ วี2 ตราช้างสามารถยึดแขวนของหนักได้ดี ป้องกันเสียงระหว่างห้องได้ดีเยี่ยม แต่หากต้องการเพิ่มคุณสมบัติป้องกันความร้อน ควรพิจารณาติดตั้งแผ่นยิปซัมฮีทบล็อคตราช้าง (กันร้อน)ซึ่งช่วยสะท้อนความร้อนออกจากบ้านได้ดี
การดูแลบ้านหลังน้ำท่วมอาจเป็นเรื่องที่ท้าทาย โดยเฉพาะการเลือกใช้วัสดุที่มีคุณภาพและเหมาะสม รวมไปถึงการป้องกันบ้านในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการสร้างระบบระบายน้ำรอบบ้าน การยกพื้นบ้านให้สูงขึ้น หรือการใช้วัสดุที่มีนวัตกรรมอย่างผลิตภัณฑ์จากยิปซัมตราช้าง จะสามารถช่วยยืดอายุการใช้งานของฝ้าและผนังภายในบ้านให้ทนทานยาวนาน ลดผลกระทบจากน้ำท่วมในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมรับมือกับสภาพอากาศที่แปรปรวนได้ดีขึ้น ทำให้การซ่อมแซมบ้านหลังน้ำท่วมเป็นการเสริมความแข็งแกร่งให้กับโครงสร้างบ้านในระยะยาว
ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือออนไลน์บัญญัติ 21 ประการบ้านหลังน้ำท่วมโดยอาจารย์ยอดเยี่ยมเทพธรานนท์ที่ทางยิปซัมตราช้าง ขอส่งมอบความห่วงใยให้ผู้ประสบภัยน้ำท่วม โดยการเปิดให้ดาวน์โหลดได้ที่นี่คลิก
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี