ศ.เกียรติคุณ ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ประธานกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) ประธานบอร์ดของกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุน ววน.) เปิดเผยว่า ปี 2567 เป็นปีที่ระบบ ววน. ของไทยมีความท้าทายอย่างมากในหลากหลายมิติ นักวิจัยและนักวิชาการของประเทศไทยมีแนวโน้มในการสร้างผลงานที่ดีมากขึ้น ซึ่งมีงานตีพิมพ์ในนิตยสารสูงขึ้นกว่าปี 2566 แม้เทียบกับสัดส่วนในต่างประเทศยังถือว่าอยู่ในระดับที่ดี โดยเป็นเชิงปริมาณ 27,108 ชิ้นงาน ผลงานวิจัยเชิงคุณภาพ 6,660 เรื่อง และอยู่ใน Top 10 Journal ของโลกอีก 542 เรื่อง การที่ติด 1 ใน 10 Journal นี้ สามารถบอกได้ว่าเราเป็นจุดแข็งที่สามารถทำให้เกิดความมุ่งเน้นหลายวงการวิจัยไทย โดยเรื่องหลักคือ สุขภาพการแพทย์ เกษตร และอื่น ๆ อีกทั้งงานวิจัยด้าน AI รวมถึงงานวิจัยด้าน Advance Electronic วัสดุศาสตร์
สำหรับตัวอย่างของความสำเร็จด้าน ววน. ได้แก่ เรื่องที่นักวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับ NECTEC และแพทย์ในกระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมพัฒนาวิธีการและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ AI ไปประกอบการใช้อัลตร้าซาวด์ สามารถช่วยเหลือแพทย์ที่ยังไม่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านได้ในการวินิจฉัยโรคมะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดี และอีกหนึ่งตัวอย่างงานวิจัย โดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับการสนับสนุนของ วช. ได้สาหร่ายที่สามารถจับคาร์บอนในอากาศ ซึ่งจะดูแลเรื่องปัญหาเรื่องโลกร้อน ถือเป็นผลงานตีพิมพ์ที่ดีมาก อีกทั้งยังมีนักวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรร่วมกับ Gisda ได้ทำการวิเคราะการฟอร์ม Liquid Crystal นำไปสู่อุปกรณ์อย่างจอโทรทัศน์รุ่นใหม่ ซึ่งการศึกษากระบวนการดังกล่าวอย่างสมบูรณ์ต้องทำบนอวกาศ เป็นต้น จากตัวอย่างข้างต้น เป็นสิ่งที่นักวิจัยไทยยังคงให้ความสำคัญและดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ นักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยจากทุกสถาบันได้แสดงผลงานและนำไปประกวดในเวทีระดับนานาชาติต่าง ๆ ในปีที่ผ่านมา สามารถคว้ารางวัลได้มากถึง 385 รางวัลจาก 7 เวทีนานาชาติ ชี้ถึงความสำเร็จในการขับเคลื่อนระบบ ววน. ของประเทศ ซึ่งได้รับทั้งรางวัลในระดับหนึ่ง รางวัลเหรียญทอง และรางวัลต่าง ๆ ได้แก่
“International Exhibition of Inventions Geneva, Switzerland” เหรียญทองเกียรติยศ 4 รางวัล เหรียญทอง 16 รางวัล เหรียญเงิน 42 รางวัล และเหรียญทองแดง 31 รางวัล
“International Innovation & Technology Exhibition (ITEX), Malaysia” Best Invention Award เหรียญทอง 41 รางวัล เหรียญเงิน 29 รางวัล และเหรียญทองแดง 2 รางวัล
“INTARG International Invention and Innovation Show 2024, Poland” ได้รับ Platinum Award และรางวัล Diamond Award และเหรียญทอง 25 รางวัล เหรียญเงิน 11 รางวัล
“Shanghai 2024, China” เหรียญทอง 41 รางวัล เหรียญเงิน 10 รางวัล
“Japan Design, Idea and Invention Expo 2024 (JDIE 2024), Japan” เหรียญทอง 49 รางวัล เหรียญเงิน 20 รางวัล เหรียญทองแดง 4 รางวัล
“WorldInvent Singapore 2024 (WoSG 2024), Singapore” ได้รับ World Champion และ เหรียญทอง 18 รางวัล เหรียญเงิน 9 รางวัล เหรียญทองแดง 6 รางวัล
“INDONESIA INVENTORS DAY (IID 2024), Indonesia ได้รับ Grand Prize และ เหรียญทอง 14 รางวัล เหรียญเงิน 9 รางวัล เหรียญทองแดง 4 รางวัล เป็นต้น
ศ.นพ.สิริฤกษ์ กล่าวถึงผลงานด้าน ววน. เพิ่มเติมว่า ยังมีการร่วมมือกันในการร่วมขับเคลื่อนสำรวจดวงจันทร์ไทย-จีน ซึ่งเชื่อว่าจะมีผลงานจากประเทศไทยในการไปสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์ในระดับนานาชาติ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะมีตัวอย่างผลงานในการพัฒนา Liquid Crystal ร่วมกับ NAZA และงานเคลือบฟิล์ม DLC (Diamond-Like Carbon) จากความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ร่วมกับ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) การลงทุนในการใช้เทคโนโลยี โดย ฮานา และ ปตท. ร่วมลงทุนในการตั้งโรงงานขนาดใหญ่ในอุตสาหกรรม Semiconductor ในระยะแรก 11,500 ล้านบาท มีความร่วมมือไทย-จีน ในการสร้าง Space Internet โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร การสำรวจพื้นผิวโลกด้วยดาวเทียม THEOS ที่ขึ้นแล้ว ซึ่งปีนี้ได้เริ่มส่งภาพที่เป็นประโยชน์ในกิจการต่าง ๆ การบริหารจัดการภัยพิบัติน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคใต้และภาคเหนือของประเทศ โดย Gistda ทำให้สามารถคาดการณ์สถานการณ์ เตรียมการป้องกันของภาวะน้ำท่วมที่เกิดขึ้น และกลไกต่าง ๆ ถูกขับเคลื่อนไปสู่การช่วยเหลือประชาชน การใช้โดรนขนาดใหญ่ขนของเพื่อบรรเทาสาธารณะภัย ช่วยกู้ชีพ พัฒนาน้ำดื่มสะอาด อาหารที่สามารถช่วยผู้ประสบภัย
และทั้งหมดนี้ล้วนเป็นผลงานทางด้าน ววน. ของประเทศ ที่เราภูมิใจและขอชื่นชมพลังความสามารถของนักวิจัยและนวัตกรรมไทยภาคเอกชนและวิชาการ ในการร่วมขับเคลื่อน ววน. ของประเทศตลอดปี 2567
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี