'DPU' ร่วมกับ สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเกร็ด-รร.-รพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่ตำบลเกาะเกร็ด จ.นนทบุรี จัดกิจกรรม “โครงการลดโลกร้อนด้วยมือเรา”
เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2567 ดร.วริศ ลิ้มลาวัลย์ รองคณบดีฝ่ายบริหาร วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) ในฐานะหัวหน้าโครงการ รศ.ดร.นิตย์ เพ็ชรรักษ์ และอาจารย์วรัญญู ศรีเชียงราย คณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้ดำเนินโครงการวิจัยเรื่อง “โครงการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยววิถีคาร์บอนต่ำสู่ความยั่งยืน : กรณีศึกษาชุมชนตำบลเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี” เพื่อศึกษาการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมท่องเที่ยวในชุมชนท่องเที่ยวเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เพื่อสร้างความตระหนักรู้แก่ชุมชนและนักท่องเที่ยวในชุมชนท่องเที่ยวเกาะเกร็ด จังหวัด นนทบุรี และเพื่อนำเสนอแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในชุมชนท่องเที่ยวเกาะเกร็ด จังหวัด นนทบุรี
ดร.วริศ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเกร็ด โรงเรียนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่ตำบลเกาะเกร็ด จัดกิจกรรม “โครงการลดโลกร้อนด้วยมือเรา” ภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง “โครงการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยววิถีคาร์บอนต่ำสู่ความยั่งยืน : กรณีศึกษาชุมชนตำบลเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี” ซึ่งได้รับงบประมาณด้าน ววน. ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ประเภท Fundamental Fund ประจำปีงบประมาณ 2568
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมในเส้นทางท่องเที่ยวของชุมชนตำบลเกาะเกร็ดและประเมินความตระหนักรู้ของชุมชนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อนำไปจัดทำข้อเสนอแนะและนโยบายสังคมคาร์บอนต่ำในชุมชนท่องเที่ยวเกาะเกร็ด นอกจากนี้คณะผู้วิจัยยังเข้าไปอบรมให้ความรู้ สร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับชุมชน ทั้งในระดับผู้นำชุมชนและประชาชนต่อประเด็นการเปลี่ยนแปลง ,สภาพภูมิอากาศ ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และแนวคิดสังคมคาร์บอนตํ่าที่สอดคล้องไปกับบริบทของชุมชนในด้านการเป็นแหล่งท่องเที่ยว การขับเคลื่อนชุมชนสู่การเป็นชุมชนคาร์บอนต่ำ ,ชุมชนจัดทำยุทธศาสตร์และริเริ่มโครงการนำร่อง สู่การเป็นชุมชนคาร์บอนตํ่า
ส่วนประโยชน์เชิงชุมชนและสังคมนั้น รองคณบดีฝ่ายบริหาร วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ระบุว่า ผู้ประกอบและประชนชนได้จะได้ความรู้ในเรื่องของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำและยั่งยืน ส่วนประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ ทางชุมชนเกาะเกร็ดจะได้ภาพลักษณ์ที่ดีในการเป็นการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำและจะได้นักท่องเที่ยวที่ตระหนักถึงการท่องเที่ยววิถีคาร์บอนต่ำมาท่องเที่ยวมากขึ้น สำหรับประโยชน์เชิงนโยบาย ข้อมูลและแนวทางที่ได้จากโครงการวิจัยนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเกร็ด จะได้นโยบายการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยววิถีคาร์บอนตํ่าตำบลเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
“เรามองเห็นว่าการดำเนินงานโครงการด้านสิ่งแวดล้อมเฉพาะภายในชุมชนเองไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทั้งหมด ต้องมีการดำเนินการจากส่วนของการท่องเที่ยวด้วย และเพื่อให้เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ของจังหวัดด้านสังคมคาร์บอนต่ำและยุทธศาสตร์ชาติ จึงได้ประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมการท่องเที่ยวและในชีวิตประจำวัน ตลอดจนการเพิ่มพื้นที่สีเขียว อันแสดงถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศและฝุ่นละออง (PM 2.5) พร้อมทั้งสามารถสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการลดมลพิษทางอากาศเพื่อพัฒนาและบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำในชุมชนเกาะเกร็ด” ดร.วริศ กล่าวทิ้งท้าย
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี