“อาการลงแดง” เป็นภาวะของร่างกายกำลังปรับตัวจากการหยุดใช้สารเสพติดที่เสพเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นยาเสพติดที่ผิดกฎหมาย, แอลกอฮอล์ หรือยาบางชนิดที่ก่อให้เกิดการเสพติดได้ เช่น ยาแก้ปวดกลุ่มโอปิออยด์ ยาคลายเครียดเบนโซไดอะซีปีน ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการบำบัดในสถานบำบัดฟื้นฟูร่างกายและจิตใจ เนื่องจากอาการและความรุนแรงจะแตกต่างกันไปสารเสพติดที่ใช้ รวมถึงระยะเวลาในการเสพ เช่น
1 ) การสั่นและการกระตุก เช่น ตัวสั่น มือสั่น
2 ) ปวดกล้ามเนื้อ หรือปวดตามร่างกาย
3 ) ความอยากอาหารน้อย
4 ) รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรง เหนื่อยง่าย
5 ) ชีพจรเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง
6 ) เหงื่อออกมาก
7 ) นอนไม่หลับ
8 ) อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด กระสับกระส่าย
9 ) ซึมเศร้า วิตกกังวล
10 ) คลื่นไส้ อาเจียน
11 ) ปวดศีรษะ มึนงง
12 ) หายใจลำบาก ชัก หมดสติ
13 ) ประสาทหลอน เพ้อ คลั่ง
มาดูกันว่าจะมีวิธีรับมือกับอาการเหล่านี้อย่างถูกต้องและเหมาะสมได้อย่างไรบ้าง
หากผู้ป่วยเข้ารับการบำบัดในสถานบําบัดยาเสพติดในกรุงเทพ แพทย์อาจพิจารณาให้ยาที่ช่วยบรรเทาความทุกข์ทรมาน และลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงจากการลงแดง เช่น โคลนิดีน (Clonidine), คลอร์ไดอาซีพอกไซด์ (Chlordiazepoxide), บูพรีนอร์ฟีน (Buprenorphine), ไดอะซีแพม (Diazepam)เป็นต้น ช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้น และมีกำลังใจในการบำบัดรักษาต่อไป
อาการเหงื่อออกมาก อาเจียน และท้องเสีย ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำ ซึ่งจะส่งผลให้รู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย และปวดศีรษะมากขึ้น จึงควรดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ ช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้ดี ลดความอยากสารเสพติด ขับสารพิษที่ตกค้างออกจากร่างกาย และปรับสมดุลอารมณ์ให้จิตใจสงบ
การได้ทำกิจกรรมที่ชอบ ไม่ว่าจะดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ วาดภาพ ฯลฯ จะช่วยลดความคิดหมกมุ่นถึงสารเสพติด ทำให้จิตใจผ่อนคลาย และมีสมาธิกับสิ่งที่ทำมากขึ้น โดยเฉพาะกิจกรรมที่เกี่ยวกับการออกกำลังกาย เช่น เล่นกีฬา โยคะ จะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารเอ็นโดรฟิน หรือสารแห่งความสุข ทำให้รู้สึกสดชื่น อารมณ์ดี
การเข้ารับการบำบัดด้วยวิธีต่างๆ เช่น จิตบำบัด พฤติกรรมบำบัด หรือการบำบัดแบบกลุ่ม เป็นสิ่งจำเป็น เพราะจะช่วยแก้ไขต้นตอของการเสพติด โดยเน้นทำความเข้าใจปัญหาที่แท้จริง พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนทัศนคติ ความคิด และพฤติกรรมที่นำไปสู่การใช้สารเสพติด นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มทักษะในการจัดการความเครียด และรับมือสิ่งกระตุ้นต่างๆ ที่ช่วยลดโอกาสกลับไปใช้ยาซ้ำ
ความไม่อยากอาหาร เป็นหนึ่งในอาการลงแดง แต่ก็ควรพยายามทานอาหารที่มีประโยชน์เข้าไว้ เพราะร่างกายต้องการสารอาหารดีๆ วิตามิน แร่ธาตุ ไปช่วยฟื้นฟูการทำงานของระบบต่างๆ โดยเฉพาะสมอง และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง อาจจะเลือกทานเป็นมื้อเล็กๆ แต่ทานบ่อยขึ้น เพื่อให้ร่างกายค่อยๆ ปรับตัว
หากรู้สึกท้อ หรือไม่ไหว ไม่จำเป็นต้องเผชิญกับปัญหาเพียงลำพัง ควรขอความช่วยเหลือ หรือคำปรึกษาจากคนใกล้ตัว คนรอบข้างที่คุณไว้ใจ เช่น ครอบครัว ญาติ เพื่อนสนิท กำลังใจจากคนเหล่านี้จะช่วยให้คุณรู้สึกอุ่นใจ ลดอาการซึมเศร้า วิตกกังวล และมีแรงที่จะสู้ต่อ
อาการลงแดงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เมื่อต้องการเลิกยาเสพติด และบางครั้งอาการอาจรุนแรงจนทำให้หลายคนทนไม่ไหว ทำให้ไม่สามารถเลิกยาได้ วนอยู่ในวงจรแบบนี้ซ้ำๆ เพราะฉะนั้นหากต้องการเลิกยา แนะนำให้เข้ารับการรักษาในสถานบำบัด หรือปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดที่ช่วยให้คุณผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ไปได้สำเร็จอย่างปลอดภัย
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี