วช. เผยความสำเร็จไทยขยับขึ้นอันดับ 41 ใน Global Innovation Index 2024 พร้อมร่วมขับเคลื่อนการพัฒนานวัตกรรมสู่อนาคต
วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดการบรรยายเรื่อง “Global Innovation Index : Challenge of the world” ภายในงานวันนักประดิษฐ์แห่งชาติ” ประจำปี 2568 โดย ดร. วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ พร้อมด้วย Associate Professor Ir. Dr. Mohd Fathullah Ghazali (Universiti Malaysia Perlis (UniMAP) MALAYSIA) Mr. Raman Teja Venigalla (Managing Director of Physitech Consultancy Services Private Limited INDIA) และ Mrs. Edyta Wołczyk (Managing Director of IBSGLOBAL POLAND) ร่วมบรรยายในหัวข้อดังกล่าว ณ เวทีกิจกรรมกลาง Event Hall 103 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ให้ความสำคัญกับดัชนีนวัตกรรมโลก Global Innovation Index (GII) ต่อการพัฒนานวัตกรรมของประเทศไทย เนื่องจากปัจจุบันการพัฒนานวัตกรรมเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจและพัฒนาสังคมที่สำคัญของโลก ทางองค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก (World Intellectual Property Organization: WIPO) ได้พัฒนาดัชนีนวัตกรรมโลกขึ้นมา เพื่อใช้วัดศักยภาพ การแข่งขันให้กับทั้งประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา และประเทศไทยได้ใช้เป็นเครื่องมือในการชี้ความสามารถในการแข่งขัน ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านนวัตกรรมของประเทศมาอย่างต่อเนื่อง โดยกระทรวง อว. ซึ่งมีสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนระบบนวัตกรรมและยกระดับอันดับของประเทศไทยในดัชนีนวัตกรรมระดับโลก โดยได้มีการวิเคราะห์การจัดอันดับดัชนีนวัตกรรมโลก ปี 2567 (Global Innovation Index 2024) โดย ภายใต้ธีมปลดล็อกศักยภาพผู้ประกอบการเพื่อสังคม (Unlocking the Promise of Social Entrepreneurship) โดยองค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก (World Intellectual Property Organization: WIPO) ประเทศไทยอันดับดีขึ้นมาอยู่อันดับที่ 41 จากอันดับที่ 43 จากจำนวน 133 ประเทศ และอยู่ในอันดับ 3 ในภูมิภาคอาเซียน และถือได้ว่าประเทศไทยมีพัฒนาด้านนวัตกรรมที่ดีขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากประเทศไทยมีพัฒนาการด้านนวัตกรรมดีกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มรายได้ปานกลางระดับบน (Upper middle-income economies) ในทุกปัจจัย เมื่อเปรียบเทียบในกลุ่มประเทศกลุ่มรายได้ปานกลางระดับบน จำนวน 34 ประเทศ
นอกจากนี้ ตัวชี้วัดที่สำคัญ 7 ตัวชี้วัด ประเทศไทยทำได้ดี 4 ตัวชี้วัดหลัก ได้แก่
1. ทุนมนุษย์และการวิจัย (Human capital and research) โดยเฉพาะสัดส่วนผู้สำเร็จการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์
2. โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) โดยมีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT)
3. ศักยภาพทางการตลาด (Market sophistication) โดยมีปัจจัยด้านเครดิตและการลงทุนที่แข็งแกร่ง
4. ผลผลิตจากความรู้และเทคโนโลยี (Knowledge and technology outputs) โดยมีการจดสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรเพิ่มขึ้น รวมถึงอัตราการส่งออกเทคโนโลยีขั้นสูงที่เติบโต
โดยมีจุดอ่อนที่ต้องเร่งพัฒนา แม้ประเทศไทยจะมีพัฒนาการด้านนวัตกรรมที่ดีขึ้น แต่ยังมีจุดอ่อนในบางด้านที่ต้องเร่งแก้ไขอีกหลายด้าน และพร้อมเดินหน้าสู่อนาคตในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สนช. และ วช. กำลังผลักดันนโยบายส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมผ่านการลงทุนด้านการศึกษา การวิจัยและพัฒนา และการสนับสนุนผู้ประกอบการ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันในระดับสากลได้อย่างยั่งยืน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี