วช. ร่วมกับ ศูนย์ผู้เชี่ยวชาญ HTAPC ถกปัญหาฝุ่น PM2.5 ในงานวันนักประดิษฐ์ 2568
วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษอากาศและภูมิอากาศ (HTAPC) จัดการเสวนา “ไขข้อสงสัยมีอะไรบ้าง อยู่ในฝุ่น PM2.5 ที่พบในประเทศไทย“ โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีเปิด ซึ่งจัดขึ้นภายในงาน “วันนักประดิษฐ์” ประจำปี 2568 ณ เวทีกิจกรรมกลาง Event Hall 103 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหามลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยเฉพาะปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ที่สูงเกินมาตรฐานและข้อห่วงกังวลจากประชาชนในช่วงที่ผ่านมา เกิดข้อสงสัยถึงแหล่งที่มาของฝุ่นละออง PM2.5 และสารองค์ประกอบที่มากับฝุ่น อีกทั้ง วช. ได้ให้ความสำคัญกับการให้ความรู้ที่มีความถูกต้องแก่สาธารณะ ผ่านผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้น ๆ เพื่อสร้างความเข้าใจและความตระหนักรู้ให้กับประชาชน จากผลงานวิจัยและนวัตกรรมด้านมลพิษทางอากาศและปัญหา PM2.5 ที่ผ่านมา และได้มีการศึกษาถึงองค์ประกอบของฝุ่นละอองPM2.5 ของประเทศไทย วช. โดย HTAPC จึงได้รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องในประเด็นดังกล่าว เพื่อไขข้อสงสัยมีสารอะไรบ้างอยู่ในฝุ่น PM2.5 ในวันนี้
การเสวนา “ไขข้อสงสัยมีอะไรบ้าง อยู่ในฝุ่น PM2.5 ที่พบในประเทศไทย“ ได้รับเกียรติจาก ดร.สุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา ผู้อำนวยการศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษอากาศและภูมิอากาศ เป็นผู้ดำเนินรายการ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.นเรศ เชื้อสุวรรณ แห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี รองศาสตราจารย์ ดร.สุรัตน์ บัวเลิศ หัวหน้ากลุ่มวิจัยวิทยาศาสตร์บรรยากาศ รองศาสตราจารย์ ดร.สมพร จันทระ หัวหน้าศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ดร.ปกรณ์ เพ็ชรประยูร ผู้อำนวยการ สำนักพัฒนานวัตกรรรมภูมิ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) เพื่อ “ไขข้อสงสัยมีสารอะไรบ้าง อยู่ในฝุ่น PM2.5 ที่พบในประเทศไทย” ดังนี้
1. วิธีหาองค์ประกอบของฝุ่น PM2.5
2. สารที่พบในฝุ่น PM2.5 ของประเทศไทย
3. สารที่พบในฝุ่น PM2.5 ของพื้นที่ กทม.และปริมณฑล
4. สารที่พบในฝุ่น PM2.5 ของพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่
5. ผลจากการบินสำรวจอากาศในประเทศไทย โดยองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (NASA) ร่วมกับสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA)
ทั้งนี้ การเสวนาดังกล่าวได้ช่วยให้ประชาชนและผู้ที่สนใจได้รับข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับองค์ประกอบของฝุ่น PM2.5 ในประเทศไทย ตลอดจนแหล่งที่มาและผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบายและมาตรการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศในอนาคต วช. และ HTAPC ยังคงมุ่งมั่นสนับสนุนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 รวมถึงการเผยแพร่ความรู้ให้แก่ประชาชน เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและแนวทางในการลดผลกระทบจากมลพิษทางอากาศในระยะยาว
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี