เนื่องในโอกาส วันฮอร์โมนโลก ซึ่งมูลนิธิฮอร์โมนและการเผาผลาญแห่งยุโรป European Hormone and Metabolism Foundation (ESE Foundation) และสมาคมต่อมไร้ท่อแห่งยุโรป The European Society of Endocrinology ประกาศให้วันที่ 24 เม.ย. 2568 (ค.ศ. 2025) เป็นวันฮอร์โมนโลก บริษัท เบซินส์ เฮสธ์แคร์ (ไทยแลนด์) จำกัด ร่วมรณรงค์ให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญของ “ฮอร์โมน” ในการส่งเสริมสุขภาพโดยรวมของทุกเพศทุกวัย ภายใต้แนวคิด “สุขภาพดี เริ่มที่ใส่ใจฮอร์โมน” พร้อมแนะผู้ชายอายุ 45 ปีขึ้นไปควรตรวจเช็คสุขภาพฮอร์โมนก่อนสาย
ข้อมูลจาก www.besins-healthcare.co.th พบว่า ปัจจุบันมีผู้ชายจำนวนมากที่ประสบปัญหาฮอร์โมนเพศชายลดลงโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะในกลุ่มอายุ 45 ปีขึ้นไป ซึ่งพบได้มากถึง 40-60% โดยอาการที่พบบ่อย ได้แก่ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย นอนไม่หลับ หงุดหงิดง่าย สมรรถภาพทางเพศลดลง กล้ามเนื้อลด มวลไขมันเพิ่มขึ้น ขาดแรงจูงใจในการใช้ชีวิต
ทั้งนี้ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone Deficiency Syndrome – TDS) ไม่ได้มีผลเฉพาะเรื่องสมรรถนะทางเพศเท่านั้น แต่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคอ้วนลงพุง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง
ผู้ชายที่มีอาการดังกล่าวข้างต้น สามารถตรวจเช็กสุขภาพฮอร์โมนของตนเองเบื้องต้น โดยหมั่นสังเกตตัวเอง และแนะนำให้ใช้แบบประเมินตนเอง “ADAM Check” ซึ่งเป็นแบบสอบถามสั้น ๆ ที่สามารถบ่งชี้ความเสี่ยงของภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชายได้ หากพบว่ามีความเสี่ยง ควรเข้ารับการตรวจระดับฮอร์โมนอย่างละเอียดกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อวางแผนการดูแลและรักษาที่เหมาะสม การตรวจและดูแลฮอร์โมนไม่เพียงช่วยฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาแข็งแรง แต่ยังช่วยให้ผู้ชายสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมั่นใจและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอีกครั้ง
สำหรับแนวทางการรักษาหากได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย แพทย์อาจพิจารณาการรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทนร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เช่น การออกกำลังกายและการควบคุมอาหาร
การใช้ฮอร์โมนทดแทน (Testosterone Replacement Therapy - TRT) ในปัจจุบันมีความปลอดภัยโดยมีวิธีการรักษา 3 แบบคือ 1. การรับประทาน ซึ่งอาจมีผลต่อตับได้หากทานต่อเนื่องเป็นเวลานาน การดูดซึมค่อนข้างน้อย 2. การฉีด เห็นผลเร็วแต่รูปแบบนี้ช่วงแรกฮอร์โมนอาจสูงและลดลงช่วงท้าย 3. แบบทา ได้รับความนิยมมากขึ้นมีความปลอดภัย ใช้ง่าย ไม่เจ็บ สามารถใช้เองที่บ้าน ใช้ทาลงบนผิวหนังที่แห้งและสะอาด เช่น บริเวณหัวไหล่ ต้นแขน หรือหน้าท้อง โดยควรทาในเวลาเดียวกันทุกวัน เพื่อรักษาระดับฮอร์โมนให้คงที่
การฟื้นฟูฮอร์โมนให้กลับมาอยู่ในสมดุล ไม่ใช่แค่เรื่องของการรักษาเพียงวิธีเดียว แต่ต้องเดินคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ งดบุหรี่ เลี่ยงแอลกอฮอล์ และเรียนรู้ที่จะจัดการความเครียดอย่างมีสติ เมื่อร่างกายได้รับการดูแลจากทุกด้าน ผู้ที่มีภาวะฮอร์โมนพร่องก็สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีพลังอีกครั้ง เพราะ สุขภาพดี เริ่มต้นที่ใส่ใจ “ฮอร์โมน”
สำหรับผู้ที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.besins-healthcare.co.th
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี