ทีมโอลิมปิกผู้ลี้ภัย หรือ IOC Refugee Olympic เตรียมที่จะเปิดตัวด้วยการคัดเลือกนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 32 กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 23 กรกฎาคม-8 สิงหาคมนี้
โดยทีมโอลิมปิกผู้ลี้ภัย IOC เริ่มต้นเมื่อเดือนตุลาคมปี 2015 เมื่อการแข่งขันที่ บราซิล กำลังจะเริ่มขึ้นนั้น โธมัส บาคประธาน IOC ได้ประกาศจัดตั้งทีมผู้ลี้ภัยโอลิมปิกแห่งแรกที่การประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (UN) ถือเป็นครั้งแรกที่ทีมถูกสร้างขึ้นสำหรับนักกีฬาผู้ลี้ภัยในโอลิมปิกเกมส์
ซึ่งทีมชุดแรกของ “เรฟูจี ทีม” เข้าร่วมการแข่งขันที่ริโอ2016 มีนักกีฬา 10 คน ซึ่งมีพื้นเพมาจากเอธิโอเปีย, เซาท์ ซูดาน,ซีเรีย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ทีมประกอบด้วยนักว่ายน้ำ 2 คน นักยูโด 2 คน นักวิ่งมาราธอน 1 คน และนักวิ่งระยะกลาง 5 คน ส่งความรู้สึกถึงทีมเป็นสัญลักษณ์ของความมุ่งมั่นของ IOC ที่จะยืนหยัดเคียงข้างผู้ลี้ภัยและสนับสนุนพวกเขาผ่านการเล่นกีฬา
เมื่อเดือนตุลาคม 2018 มีการประกาศว่า จะมีการจัดตั้งทีมโอลิมปิกผู้ลี้ภัย IOC สำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่โตเกียว 2020 มีการมอบทุนการศึกษาให้กับนักกีฬา 56 คนจาก 13 ประเทศ แต่ละคนกำลังฝึกซ้อมโดยหวังว่าจะได้รับเลือกให้เข้าร่วมทีมผู้ลี้ภัยโอลิมปิกที่โตเกียว 2020 นักกีฬากำลังฝึกซ้อมในกีฬา 12 ประเภท ได้แก่ กรีฑา, แบดมินตัน, มวย, พายเรือแคนู, จักรยาน, ยูโด, คาราเต้, เทควันโด, ยิงปืน,ว่ายน้ำ, ยกน้ำหนัก และมวยปล้ำ
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี