การแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายครั้งที่ 25 ปี 2034 เป็นอีกครั้งหนึ่งที่มีการต่อสู้แย่งชิงในการเป็นเจ้าภาพ หลังมีหลายประเทศให้ความสนใจ ถึงแม้ว่าจะเกิดขึ้นอีก 12 ปีข้างหน้า แต่ในปัจจุบันมีการเตรียมความพร้อม เพื่อให้เข้าหลักเกณฑ์การคัดเลือก ตัวแทนจากอาเซียน 5 ชาติ ทั้ง อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, สิงคโปร์, เวียดนาม และ ไทย พร้อมจะร่วมมือกันในการเป็นเจ้าภาพร่วม โดยสิ่งหนึ่งที่จะถูกนำมาตัดสินก็คือสนามการแข่งขันที่ต้องมี10 สนาม และทุกๆสนามต้องผ่านมาตรฐานของ ฟีฟ่า มีหลักเกณฑ์จากฟีฟ่าว่าสนามรอบแบ่งกลุ่มต้องมีความจุขั้นต่ำ 40,000 ที่นั่ง สนามรอบรองชนะเลิศต้องมีความจุขั้นต่ำ 60,000 ที่นั่ง สนามนัดเปิดการแข่งขัน และนัดชิงชนะเลิศต้องมีความจุขั้นต่ำ 80,000 ที่นั่ง
10 สนาม ใน 5 ประเทศของอาเซียนที่พร้อมจะจับมือเป็นเจ้าภาพร่วมมี 10 สนามพอดีประกอบด้วย
1.จาการ์ตา เนชั่นแนล สเตเดียม อินโดนีเซีย Jakarta International Stadium เป็น ท็อปที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน โดยมีความจุทั้งหมดที่ 82,000 ที่นั่งเป็นสนามกีฬาแห่งชาติแห่งใหม่แทนที่ เกโลราบุงการ์โนเสนายัน ทั้งนี้ จาการ์ตา เนชั่นแนล สเตเดียม นับว่าเป็นสนามที่ใหม่ และยังรอการเปิดตัวใช้งานอย่างเป็นทางการในปี 2565 นี้
2.เกโลราบุงการ์โน เสนายัน อินโดนีเซีย สนามที่มีมนต์คลัง และคลาสสิคมากที่สุดสนามหนึ่งในย่านอาเซียน มีความจุในปัจจุบันถึง 77,193 ที่นั่ง โดยเปิดใช้งานมาแล้วกว่า 60 ปี ตั้งแต่ปี 2505 ปัจจุบันปรับปรุงใหม่มาตั้งแต่ปี 2562 จนทันสมัยจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ได้ในที่สุด
3.บูกิต จาลิล มาเลเซีย สนามฟุตบอลที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน และติดท็อปทรีในเอเชีย ด้วยความจุ 87,411 ที่นั่ง โดยสนามแห่งนี้อาจจะเป็นสนามที่จัดในพิธีเปิด และนัดชิงชนะเลิศ หากฟุตบอลโลกในปี 2034 การรวมพลังของ 5 ชาติอาเซียนเป็นผล
4.ชาห์ อลัม มาเลเซีย อีกหนึ่งสนามที่มีความจุเกิน 8 หมื่นที่นั่ง โดย ชาห์ อลัม หรือฉายา “ยักษ์แดง” สนามเหย้าของสโมสร
สลังงอร์ มีความจุ 80,372 ที่นั่ง ก่อสร้างมาแล้ว 28 ปี เปิดใช้งานครั้งแรกในปี 2537
5.สุลต่าน อิบราฮิม สเตเดียม มาเลเซีย สนามที่เพิ่งเปิดตัวมาได้ไม่นาน เมื่อปี 2563 เป็นสนามเหย้าของ สโมสร ยะโฮร์ ดารุล ต๊ะซิม ทีมเศรษฐีแดนเสือเหลือง ที่มีความจุ 40,000 ที่นั่ง นับว่าเป็นสนามใหม่ที่ทันสมัย และหรูหรามากที่สุด เนื่องจากมีแนวคิดคล้ายๆกับสนาม อลิอันซ์ อารีน่าแห่งบาเยิร์น มิวนิค
6.เกิ่นเทอ สเตเดียม เวียดนาม เกิ่นเทอ สเตเดียม อาจจะไม่ค่อยคุ้นหู แต่สนามแห่งนี้มีความจุมากที่สุดในเวียดนามอยู่ที่ 60,000 ที่นั่ง ตั้งอยู่ที่ใจกลางเมืองเกิ่นเทอ และเป็นสนามเหย้าของ กิ่นเทอ เอฟซี ทีมลีกรองเวียดนาม แต่สนามแห่งนี้กลับไม่ได้ใช้จัดการแข่งขันรายการใหญ่ๆระดับนานาชาติแต่อย่างใด
7.สนามกีฬาแห่งชาติ หมี ดิ่ญ เวียดนาม สนามที่ตั้งอยู่ในกรุงฮานอย และเชื่อว่าแฟนบอลชาวไทยคงคุ้นหูกันดี มีความจุอยู่ที่ 40,192 ที่นั่ง โดยผ่านการจัดการแข่งขันระดับนานาชาติมาแล้วหลายครั้ง
8.สิงคโปร์ เนชั่นแนล สเตเดียม สิงคโปร์ สนามสุดล้ำที่มีความจุ 55,000 ที่นั่ง แม้จะเป็นสนามเดียวที่เป็นสนามฟุตบอลขนาดใหญ่ของประเทศ แต่ถูกพูดถึงไม่น้อย ด้วยความไฮเทค เนื่องจากเป็นสนามฟุตบอลที่มีหลังคาเปิดปิดได้ และมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบถ้วนมากที่สุดแห่งหนึ่งในอาเซียน
9.สนามกีฬาติณสูลานนท์ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา สนามเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งของไทย มีจุดเด่นตรงที่ตั้งใกล้กับทะเล โดยเปิดใช้งานครั้งแรกเมื่อ 27 ปีที่แล้ว ปัจจุบันมีความจุ 45,000 ที่นั่ง และผ่านการจัดการแข่งขันระดับนานาชาติมาแล้ว อาทิ เอเชียนเกมส์ 1998, ฟุตบอล AFC 23ปีรอบแบ่งกลุ่ม
10.ราชมังคลากีฬาสถาน หัวหมาก กทม. สนามที่เพิ่งจัดการแข่งขัน เกมปรีซีซั่นนัดยิ่งใหญ่ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด พบกับ ลิเวอร์พูล โดยเป็นสนามที่มีความจุมากที่สุดในไทย อยู่ที่ 51,552 ที่นั่ง โดยสนามแห่งนี้ผ่านการรับรองจากฟีฟ่า และใช้จัดการแข่งขันระดับนานาชาติมาแล้วหลายครั้ง
สำหรับชาติที่ให้ความสนใจจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกปี 2034 นั้นนอกจาก 5 ชาติอาเชี่ยนแล้วก็มีจีน ที่มี12สนามรองรับการแข่งขันในระบบ48ทีม ออสเตรเลียกับนิวซีแลนด์ และ3 ประเทศในทวีปแอฟริกา ได้แก่อียิปต์,ซิมบาบเวและไนจีเรีย
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี