“ผมกลัวที่จะตกหลุมรัก แต่ผมรู้ว่านี่จะเป็นรักครั้งสุดท้ายของผมแล้ว”….. นั่นแหละครับความรักคือสิ่งที่งดงามอยู่เสมอ
รูเพิร์ต เมอร์ดอค เจ้าพ่อสื่อมหาเศรษฐีวัย 92 ปี มหาเศรษฐีอันดับที่ 31 ของโลก บริหารจัดการสื่อดังทั้งเครือ News Corp และ Fox Corp ผ่านกองทุนครอบครัว โดยตัวเลขทรัพย์สินของเขาที่มีการเปิดเผยออกมาอยู่ที่ 17,000 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 619,000 ล้านบาท เปิดเผยว่า เขาหมั้นหมายกับแอน เลสลีย์ สมิธ วัย 66 ปี
หลังจากหย่ากับเจอร์รี่ ฮอลล์ ภรรยาคนที่ 4 ได้ ไม่ถึงปี!!!!
“ผมมั่นใจว่าการแต่งงานของผมกับสมิธจะเป็น “ครั้งสุดท้ายของผม” แน่นอน” ป๋าบอก “ผมประหม่ามาก” เขาเล่า
ผ่าน New York Post พร้อมเปิดเผยว่า มีแผนจะแต่งงานกันในช่วงปลายฤดูร้อนปีนี้
“ฉันกลัวการตกหลุมรัก - แต่ฉันรู้ว่านี่จะเป็นครั้งสุดท้ายของฉัน มันจะดีกว่า ฉันมีความสุข!!!!!”
ไม่มีใครกล้าตั้งคำถามกับผู้ชายที่ชื่อ รูเพิร์ต เมอร์ดอค คือคนสำคัญของโลกฟุตบอล และโลกของกีฬาไปตลอดกาลหลังจากเป็นผู้ปฏิวัติวงการลูกหนังอังกฤษจากดิวิชั่นหนึ่งให้กลายเป็น “พรีเมียร์ลีก” เมื่อปี 1992 จนมีมูลค่าที่สุดในโลกในยุคปัจจุบัน!!!!!
มหาเศรษฐีนักธุรกิจสื่อสารรายใหญ่ เจ้าของเครือข่ายสถานีโทรทัศน์สกาย หรือ BSkyB ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1988 และเป็นเจ้าแรกๆ ที่นำเสนอข่าวตลอด 24 ชั่วโมง เป็นผู้ผลักดันให้สโมสรฟุตบอลที่จะลงแข่งขันในลีกดิวิชั่น 1 ประจำฤดูกาล 1992-93
ถอนตัวออกมาจัดตั้งเป็น “พรีเมียร์ลีก”
เมื่อสถานี BSkyB ขอซื้อ “สิทธิ์ขาด” ในการถ่ายทอดสดด้วยสัญญาฉบับแรก ระยะเวลารวมทั้งสิ้น 5 ซีซั่นตั้งแต่ฤดูกาล1992-93 ไปจนถึงถึง 1996-97
สำคัญคือ มอบเงินค่าตอบแทนให้เป็นจำนวนสูงถึง 304 ล้านปอนด์
จำนวนเงินดังกล่าวตรงกันข้ามกับของเดิมที่สโมสรต่างๆ ได้รับ จากการขายสิทธิให้สถานี ITV ที่มีราคาเพียง 44 ล้านปอนด์ ในสัญญา 4 ปี
ยังผลให้ฟุตบอลลีกสูงสุดของอังกฤษ ต้องยุติระบบเดิมลงที่ 104 ฤดูกาล พร้อมกับเปลี่ยนแปลงชื่อระบบ
ดิวิชั่นใหม่
ดิวิชั่น 1 = พรีเมียร์ลีก
ดิวิชั่น 2 = เดอะ แชมเปี้ยนชิพ
ดิวืชั่น 3 = ลีก วัน
ดิวิชั่น 4 = ลีก ทู
17 กรกฎาคม 1991 มีการลงนามข้อตกลงภาคีสมาชิกก่อตั้ง (Founder Members Agreement) เพื่อเป็นการวางหลักการสำคัญในการจัดตั้งพรีเมียร์ลีก นั่นคือ ลีกใหม่นี้จะดำเนินการทางธุรกิจด้วยตนเอง มีอิสระที่จะเจรจาผลประโยชน์กับผู้สนับสนุน รวมทั้งมีสิทธิ์ในการขายสิทธิถ่ายทอดโทรทัศน์ของตนเอง แยกขาดจากสมาคมฟุตบอลอังกฤษ (FA) กับ ฟุตบอลลีก(EFL) อย่างชัดเจน
เมอร์ดอค ผู้แยบยลให้เหตุผลอย่างแยบคาย เมื่อมอบหุ้นส่วนหลักกับ เอฟเอ แต่ไม่มีสิทธิอะไรใดๆ ในการแทรกแซงเข้าสู่ผลประโยชน์ของแต่ละสโมสรในเชิงธุรกิจ หรือเชิงพาณิชย์ ทั้งระบบ
27 พฤษภาคม 1992 การจดทะเบียนในรูปแบบบริษัทของพรีเมียร์ลีก ได้เกิดขึ้น โดยมีสโมสรสมาชิก 20 แห่ง
เป็นหุ้นส่วน พร้อมกับยืนยันว่า ผู้ถือหุ้นทั้งหมดขึ้นอยู่กับความสามารถที่มีจากผลการแข่งขัน หากยังคงสถานะอยู่ในพรีเมียร์ลีก ก็จะได้ถือหุ้นต่อไป แต่ถ้าตกชั้นต้องคืนสิทธิ์นั้นกลับมา เพื่อนำไปมอบสิทธิความเป็นหุ้นส่วนนั้นให้กับสโมสรที่เลื่อนชั้นมา
นี่คือฝีมือและวิสัยทัศน์ในมุมกีฬา แม้จะใช้วิธีโหดอย่าง “สื่อกดดัน” อย่าง ป๋ารูเพิร์ต แต่ก็เป็นการพลิกวิกฤตบอลอังกฤษยุคฮูลิแกน
ให้กลายมาเป็นสมบัติชั้นสำคัญของโลกใบนี้โดยแท้!!!
บี แหลมสิงห์
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี