เทโทรโดทอกซิน มีความรุนแรงกว่า ไซยาไนด์ถึง 1,200 เท่าและทนความร้อนได้สูงถึง 200 องศาเซลเซียส ดังนั้น จึงไม่สามารถทำลายพิษได้ด้วยการใช้ความร้อนปกติในการปรุงอาหาร และไม่มียาแก้พิษใดๆ ต่อต้านได้ เฉพาะปริมาณ สารพิษนั้นเพียง 1-2 มิลลิกรัม ก็ทำให้ถึงตายได้ มีรายงานว่าการรับประทานปลาปักเป้า (ที่มีสารพิษอยู่)อยู่ในปริมาณที่น้อยกว่า 50 กรัม ก็ทำให้เกิดอาการพิษได้อัตราการตายเท่าที่พบในรายงานบางฉบับ คือ ประมาณร้อยละ 3 แต่หากรับประทานปลาปักเป้าในปริมาณ 51-100 กรัม อัตราการตายจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 27 และเมื่อปริมาณที่รับประทานมากกว่า 100 กรัม อัตราการตายก็จะเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 50 จากการศึกษาวิจัยในประเทศญี่ปุ่น พบว่าผู้ที่ได้รับพิษจากปลาปักเป้าร้อยละ 50 เกิดจาก การกินตับของปลาร้อยละ 43 เกิดจากการกินไข่และร้อยละ 7 เกิดจากการกินหนัง เทโทรโดทอกซิน มีผลต่อเนื้อประสาท ทำให้เซลล์ประสาททุกส่วนไม่สามารถทำงานได้ตามปกติและอาจเสี่ยงอันตรายถึงชีวิตได้ผู้ที่ได้รับพิษชนิดนั้นจะมีอาการชาที่ริมฝีปากและลิ้น ตามมาด้วยอาการชาแบบเดียวกันที่หน้าและมือ สำหรับอาการอื่นๆ ที่เกิดในช่วงแรกๆ ก็จะมีอาการน้ำ ลายออกมาก คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสียพร้อมด้วยปวดท้อง ขั้นต่อไปเป็นอาการผิดปกติเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว คือ อ่อนแรง หายใจไม่ค่อยออก และพูดลำบาก เมื่ออาการทรุดหนักก็จะเป็น อัมพาตอย่างรวดเร็วภายใน 4-24 ชั่วโมง โดยเริ่มที่มือและเท้า ริมฝี ปาก ลิ้น ปาก คอหอย กล่องเสียง ตามมาด้วยอาการ อัมพาตของกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการหายใจ ท้ายที่สุด คือ หัวใจทำงานผิดปกติเต้นผิดจังหวะ ความดันตก และชัก ผู้ป่วย ที่ได้รับพิษสูงมาก อาจมีอาการรูม่านตาขยายไม่หดเล็กลงเมื่อถูกแสง หยุดหายใจเป็นช่วงๆ สูญเสียการตอบสนองของสมองทั้งหมด การตายเกิดได้ ภายใน 4-6 ชั่วโมง เนื่องจากเกิดอาการอัมพาตของกล้ามเนื้อเกี่ยวกับการหายใจและการหายใจล้มเหลว เมื่อมีอาการและสงสัยว่าจะได้รับเทโทรโดทอกซิน ให้รีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด การรักษาพยาบาลทำได้เพียง การล้างท้อง เฝ้าระวังไม่ให้เกิดอาการขาดน้ำ และไม่ให้เสียสมดุลของเกลือแร่ และให้ออกซิเจน ดูแลประคับประคองเรื่อง การหายใจล้มเหลวกับผลต่อหัวใจ ในรายที่เกิดอาการพิษปานกลางถึงรุนแรงอาจจำเป็นต้องอยู่ห้องไอซียู เพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อน การหายใจล้มเหลวและผลกระทบต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ประเทศไทยได้ตระหนักถึงพิษภัยอันอาจจะเกิดจากการบริโภคปลาปักเป้า จึงมีการประกาศกฎกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 246 พ.ศ. 2545 เรื่อง กำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย ปลาปักเป้า ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ซึ่งกำหนดให้ปลาปักเป้าทุกชนิดและอาหารที่มีเนื้อปลาปักเป้าเป็นส่วนผสมเป็นอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้าหรือจำหน่าย
หมึกบลูริง หรือหมึกสายวงน้ำเงิน โดยทั่วไปสามารถสังเกตหมึกบลูริง ได้จากลักษณะภายนอก โดยเฉพาะลำตัวสีเหลืองหรือสีคล้ายทรายที่มีลวดลายวงแหวนสีน้ำเงินกระจายอยู่รอบ ๆ ซึ่งวงแหวนนี้จะเรืองแสงได้หากถูกคุกคาม แม้หมึกบลูริงจะไม่ใช่สัตว์ดุร้าย แต่มีพิษรุนแรงจนอาจทำให้ระบบหายใจล้มเหลวและเสียชีวิตได้ ดังนั้น หากรับประทานหมึกบลูริงเข้าไปหรือโดนกัด ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน
ความอันตรายของหมึกบลูริงนั้นมาจากพิษที่ผสมอยู่ในน้ำลายอย่าง สารเทโทรโดทอกซิน (Tetrodotoxin) ซึ่งเป็นพิษชนิดเดียวกับที่พบในปลาปักเป้าและสามารถทนความร้อนได้สูงถึง 200 องศาเซลเซียส ด้วยเหตุนี้ การประกอบอาหารด้วยความร้อนระดับทั่วไปจึงไม่อาจทำลายพิษนี้ได้ ทั้งนี้ อาการหลังได้รับพิษมักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่นาทีและจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปริมาณของพิษที่เข้าสู่ร่างกาย ช่วงอายุ และสภาวะทางสุขภาพของแต่ละคน ยกตัวอย่างเช่น มีน้ำลายฟูมปาก กลืนลำบาก แน่นหน้าอก รู้สึกมีคล้ายของแหลมทิ่มแทง ชา ตะคริว เหงื่อออก เวียนศีรษะ คล้ายจะหมดสติ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ สูญเสียการมองเห็น ยิ่งไปกว่านั้น
ผู้ได้รับพิษจากหมึกบลูริงยังอาจมีอาการแย่ลงอย่างรวดเร็ว และเสี่ยงต่อการเป็นอัมพาต กล้ามเนื้ออ่อนแรง อวัยวะต่างๆ ในร่างกายทำงานไม่ประสานกัน หายใจไม่ออก กล้ามเนื้อกระบังลมและหน้าอกไม่ทํางาน ร่างกายขาดออกซิเจนจนส่งผลให้ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีเขียวหรือสีม่วง และอาจเสียชีวิตได้ในที่สุด
เนื่องจากพิษของหมึกบลูริงเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ หากถูกกัดหรือเผลอรับประทานหมึกบลูริงควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที เพื่อทำการช่วยชีวิตด้วยวิธีต่าง ๆ อย่างเร่งด่วน อาทิ การให้ออกซิเจน การให้สารน้ำทางหลอดเลือด หรือการใส่ท่อช่วยหายใจ และดูแลรักษาอาการที่เกิดขึ้นอย่างใกล้ชิดต่อไป โดยก่อนจะถึงมือแพทย์ ญาติหรือคนรอบข้างผู้ป่วยสามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นหรือดูแลบริเวณที่ถูกกัดได้ตามคำแนะนำต่อไปนี้
1. นำอากาศเข้าสู่ปอดด้วยการเป่าปากและป้องกันการขาดอากาศนานจนเกินไป
2. ทำความสะอาดแผลที่ถูกกัดด้วยน้ำสะอาด จากนั้นให้พันรอบแผลด้วยผ้ารัดยางยืดพร้อมกับไม้ดาม เพื่อไม่ให้อวัยวะส่วนนั้นเคลื่อนไหวและชะลอไม่ให้พิษกระจายไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย
3. ไม่ควรกรีดปากแผลที่ถูกกัด เพราะจะทำให้พิษแพร่กระจายมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม การถูกหมึกบลูริงกัดนั้นพบได้น้อยมากโดยจะพบเฉพาะเวลาที่หมึกรู้สึกถูกคุกคามอย่างโดนจับหรือโดนทำร้ายเท่านั้น อีกทั้งยังไม่เคยมีรายงานการพบหมึกบลูริงตามชายหาดที่คนลงไปเล่นน้ำแต่พบบ้างในบริเวณพื้นทะเลและนอกแนวแนวปะการัง ผู้ที่ดำน้ำจึงควรระมัดระวังและไม่ไปรบกวนสิ่งมีชีวิตและที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำในบริเวณดังกล่าว เพื่อป้องกันการสัมผัสหรือถูกกัดโดยสัตว์น้ำที่อาจมีพิษ
ในส่วนของผู้บริโภคควรใช้ความระมัดระวังและสังเกตความผิดปกติของปลาหมึกจากร้านอาหารหรือตลาดอยู่เสมอ หากพบความผิดปกติก็ควรนำไปทิ้ง ไม่ควรนำมารับประทาน เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง ในกรณีที่กังวลหรือสงสัยว่า ปลาหมึกหรืออาหารใดๆ อาจเป็นพิษหรือไม่ปลอดภัยต่อร่างกายสามารถโทรแจ้งสายด่วนอย. ที่เบอร์ 1556 หรือติดต่อสำนักงานสาธารณสุขของแต่ละจังหวัดได้ทันที
ท่านควรสังเกตอาหารทะเลในทุกครั้งก่อนรับประทานว่ามีลักษณะเดียวกับสัตว์ทะเลมีพิษหรือไม่ หรืออาหารทะเลนั้นมีลักษณะที่ผิดแปลกไปจากที่เคยรับประทาน ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานหากไม่แน่ใจ เพื่อความปลอดภัยของท่านและครอบครัว
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ https://www4.fisheries.go.th/
https://www.pobpad.com/fisheries.go.th
กองประชาสัมพันธ์
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี