ปัจจุบันผู้บริโภคจำนวนมากเริ่มหันมาใส่ใจสุขภาพของตน รวมถึงการใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยรับประทานอาหารที่มีโปรตีนที่ทำจากพืชมากขึ้นเพราะเป็นสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนและทำให้สุขภาพดีด้วย ตามกระแสความนิยมบริโภคอาหารโปรตีนสูงเพื่อสร้างสมดุลทางโภชนาการทดแทนเนื้อสัตว์ รวมถึงการรักษาสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงของโรคที่เกิดจากการบริโภคอาหารประเภทเนื้อสัตว์ โดยทั่วไปโปรตีนจากสัตว์ต้องใช้ที่ดินและทรัพยากรมากกว่าโปรตีนจากพืช ในปี พ.ศ. 2561 มีการค้นพบว่าอาหารทดแทนจากพืชสามารถผลิตอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการต่อพื้นที่เพาะปลูกได้มากกว่าอาหารเนื้อวัวถึงยี่สิบเท่าและมากกว่าไข่เป็นสองเท่า
มีการวิจัยบทบาทของโปรตีนจากพืชที่สกัดจากมันฝรั่งว่ามีความสำคัญต่อสุขภาพของมนุษย์ โดยคณะนักวิจัยนำโดย ดร.ซารา โออิคาวะ (Sara Oikawa, PhD) จากมหาวิทยาลัยแมคมาสเตอร์เมืองแฮมิลตัน ประเทศแคนาดา ได้คัดเลือกหญิงสาวในวัย 18-29 ปีจำนวน 24 คน ที่มีสุขภาพดี ไม่สูบบุหรี่ ไม่เป็นโรคเบาหวาน ให้บริโภคอาหารที่มีโปรตีนตามปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้แต่ละคนได้รับในแต่ละวัน Recommended dietary allowance (RDA) ซึ่งมีปริมาณโปรตีน 0.8 กรัมต่อน้ำหนักกิโลกรัมต่อวัน เป็นเวลา 21 วันผู้เข้าร่วมการศึกษานี้แบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งรับประทานขนมพุดดิ้ง ซึ่งมีโปรตีนเพิ่มเติมสกัดจากมันฝรั่ง วันละสองครั้ง มีปริมาณโปรตีนต่อวันเป็นสองเท่า (เพิ่มปริมาณ RDA เป็นสองเท่าคือ 1.6 กรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน) อีกกลุ่มหนึ่งรับประทานพุดดิ้ง
สองถ้วยต่อวัน ซึ่งไม่มีโปรตีนเพิ่มเติม (ยาหลอก) นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมทุกคนได้ปฏิบัติตามโปรแกรมการออกกำลังกายที่เน้นการฝึกความต้านทานกล้ามเนื้อขาข้างเดียวด้วยการกดขาและการยืดกล้ามเนื้อขา นักวิจัยพบว่าในช่วง 21 วัน กล้ามเนื้อสร้างโปรตีนใหม่เพิ่มขึ้นในกลุ่มที่บริโภคโปรตีนมันฝรั่งเพิ่มเติม ในขณะที่กลุ่มที่บริโภคพุดดิ้งยาหลอกไม่พบผลลัพธ์เดียวกันนี้
นักวิจัยแนะนำว่าจากการค้นพบโปรตีนจากมันฝรั่งนี้จะมีประโยชน์ในการช่วยบำรุงรักษาและพัฒนากล้ามเนื้อ และเป็นแหล่งโปรตีนจากพืชอีกแหล่งหนึ่งที่ช่วยตอบสนองความต้องการโปรตีนที่เพิ่มขึ้นจากประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นด้วยมันฝรั่ง หรือคำในภาษาอังกฤษคือ potato นั้น มาจากคำว่า patata ในภาษาชาวอินเดียน ที่อาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ โปรตีนที่ได้จากมันฝรั่งมีคุณภาพดีกว่าโปรตีนที่ได้จากพืชอื่นๆ เช่น ถั่วลิสง มันฝรั่ง 100 กรัม ให้พลังงาน 85 แคลอรี และ 99.9% ของผลผลิตไม่มีไขมัน นอกจากนี้มันฝรั่งยังมีธาตุแคลเซียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก ไอโอดีน แมกนีเซียม กรดโฟลิก วิตามินซีวิตามินบี 1 และวิตามินบี 2 ผู้ใหญ่ทั้งชายและหญิง ควรบริโภคโปรตีนวันละ 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ส่วนกลุ่มนักกีฬาและนักเพาะกายซึ่งต้องการสร้างกล้ามเนื้อนิยมบริโภคอาหารที่มีโปรตีนสูง สำหรับนักกีฬาชนิดใช้ความอดทน (endurance athletes) ควรบริโภคโปรตีน วันละ 1.2-1.4 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ส่วนนักกีฬาชนิดใช้กำลัง (strength athletes) ควรบริโภคโปรตีน วันละ 1.6-1.7 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมถ้าคิดแบบกระจายพลังงานจะเท่ากับได้รับพลังงานจากโปรตีน 15-20% ต่อวัน เพื่อไปซ่อมแซมกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกายมากกว่าคนทั่วไป
เอกสารอ้างอิง :
ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวัน สำหรับคนไทย. 2563. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaidietetics.org/
wp-contenthttps://static.naewna.com/uploads/2020/04/dri2563.pdf, [เข้าถึงเมื่อ 11 มิถุนายน 2563].
โปรตีน. 2563. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://th.wikipedia.org/
wiki/%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B8%99, [เข้าถึงเมื่อ 11 มิถุนายน 2563].
มันฝรั่ง. 2563. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%9D%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%
B9%88%E0%B8%87, [เข้าถึงเมื่อ 11 มิถุนายน 2563].
Chinese-jamaicangirl, 2020. Jamaican sweet potato pudding. [online]. Available at: https://chinese-jamaicangirl.com/jamaican-sweet-potato-pudding/, [accessed 11 June 2020].
Depositphotos, 2020. [online]. Available at: https://th.depositphotos.com/stock-photos/potato-pudding.html,
[accessed 11 June 2020].
Oikawa, S.Y., et al., 2020. Potato protein isolate stimulates muscle protein synthesis at rest and with resistance exercise in young women. [online]. Nutrients, 12(5). Available at: https://www.mdpi.com/2072-6643/12/5/1235, [accessed 11 June 2020].
PNG, All, 2020. [online]. Available at: http://www.pngall.com/potato-png, [accessed 11 June 2020].
Potato protein may help to maintain muscle power, 2019. [online]. Available at: https://worldhealth.net/news/
potato-protein-main-help-maintain-muscle-power/, [accessed 20 August 2019].
Protein, 2020. [online]. Available at: https://www.britannica.com/science/protein, [accessed 11 June 2020]
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี