ยกเครื่อง : “บิ๊กต้อม” ธนา ไชยประสิทธิ์ นายกสมาคมกีฬาตะกร้อแห่งประเทศไทย เป็นประธานในการประชุมสมาคม โดยมีวาระสำคัญคือการตัดสินเรื่องการหักเงินนักกีฬาทีมชาติ ที่ห้องบุศรา โรงแรมอเล็กซานเดอร์
“บิ๊กต้อม” ธนา ไชยประสิทธิ์ นายกสมาคมกีฬาตะกร้อแห่งประเทศไทย เป็นประธานในการประชุมสมาคม โดยมีวาระสำคัญคือการตัดสินเรื่องการหักเงินนักกีฬาทีมชาติ ที่ห้องบุศรา โรงแรมอเล็กซานเดอร์ โดยมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เป็นผู้ตัดสิน คือ ดร.สมพงษ์ ชาตะวิถี, รัฐชัย ดารากร ณ อยุธยา, สุพจน์ ตุ้มประชา, พล.ร.ท.บุญชิต พูลพิทักษ์ และ สมชาย ประเสริฐศรี
โดยก่อนหน้านี้มีกรณีที่เป็นประเด็นหลังจบเอเชี่ยนเกมส์ 2022 หลังมีอดีตนักตะกร้อทีมชาติไทยโพสต์ถึงเรื่องข้อตกลงเรื่องเงินอัดฉีดนักกีฬาทีมชาติไทยของกีฬาตะกร้อว่ามีการตกลงแบ่งเปอร์เซ็นต์ภายในแคมป์ จำนวน 30-50% จากจำนวนเงินอัดฉีดที่นักกีฬาแต่ละคนได้รับจากกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ
ล่าสุดในที่ประชุมมีมติให้หยุดทำหน้าที่ของผู้จัดการทีมและผู้ฝึกสอนทีมชาติไทย แล้วให้ สุพจน์ ตุ้มประชา เป็นผู้จัดการทีมและหัวหน้าผู้ฝึกสอน ส่วนทีมผู้ฝึกสอน 4 คนคือ สามารถ โพธิ์ทอง, สมพร ใจสิงหล, ประเวศ อินทรา และ อธิยุต กิ้มทอง ซึ่งทั้งหมดนี้จะลงทำหน้าที่ในการแข่งขันตะกร้อชิงแชมป์โลกที่ประเทศมาเลเซีย ในเดือนพฤษภาคม, คิงส์ คัพ ในเดือนกันยายน และเอเชียนอินดอร์แอนด์มาร์เชี่ยลอาร์ทเกมส์ในเดือนพฤศจิกายน
ขณะที่ ดร.สมพงษ์ ชาตะวิถี ประธานคณะกรรมการตัดสิน กล่าวว่า การหักเงินนั้นมาจากการปฎิบัติภารกิจร่วมกันซึ่งเป็นการเจรจาร่วมกันระหว่าง นักกีฬา โค้ช และ ผู้จัดการทีม โดยนักกีฬาได้ให้คำชี้แจงว่าเป็นการหักเงินที่มากเกินไป ก็เป็นกลุ่มนักกีฬาที่ได้ 2 เหรียญทองซึ่งจะได้เงินคนละ 4 ล้านบาท แต่ถูกหักออกไปคนละ 50% ทำให้เหลือเพียงคนละ 2 ล้าน หรือ เทียบเท่ากับได้ 1 เหรียญทอง ตอนนี้ก็พิจารณาแล้วว่าให้หยุดการทำงานของผู้จัดการทีมและผู้ฝึกสอนทันที
ทางด้าน พ.ต.ท.สืบศักดิ์ ผันสืบ กล่าวว่า ไม่ได้มีเจตนาจะทำร้ายใครแต่อยากให้ทุกเรื่องเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบที่ถูกต้อง ส่วนที่ประชุมก็ได้รับทราบแล้วว่าเงินจำนวน 10.1 ล้านบาท ไปอยู่ที่ใคร แต่ก็รักษามารยาทในที่ประชุมว่าจะไม่ขอเปิดเผย แต่ทั้งหมดวันนี้ถือว่าจบลงแล้ว และเป็นที่น่าพอใจสำหรับคำตัดสินของสมาคมในการให้ทีมผู้ฝึกสอนชุดเก่าและผู้จัดการทีมหยุดปฏิบัติหน้าที่ทันที
การใช้สารเสพติดในกีฬาเป็นเรื่องที่มีประวัติยาวนานและเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในวงการกีฬา โดยเฉพาะกลุ่มของสารอนาบอลิก (Anabolic Agents) ซึ่งประกอบไปด้วยสารอนาบอลิกสเตียรอยด์ (Androgenic Steroids : AAS) เป็นส่วนใหญ่ สารกลุ่มนี้มักจะถูกนำมาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขัน ทำให้เกิดการเป็นที่รู้จักในวงการกีฬาเป็นพิเศษ
ในช่วงเวลากว่า 70 ปีที่ผ่านมา สารกลุ่มนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในทางการแพทย์ แต่ต่อมากลับกลายเป็นสารเสพติดที่นิยมใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการกีฬา ถึงแม้ว่าการศึกษาวิจัยในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมาจะสามารถยืนยันประสิทธิผลในด้านกีฬาของสารกลุ่มนี้ แต่ยังคงมีความไม่แน่ใจเกี่ยวกับผลข้างเคียงที่ว่าจริงหรือไม่ และการทำงานวิจัยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อจำลองการใช้งานจริงของนักกีฬาและผู้ใช้ทั่วไปนั้นมีความยากลำบาก เนื่องจากปริมาณที่ให้มากเกินไปและเกินความเป็นธรรมชาติของร่างกาย
นอกจากนี้ การพัฒนาวิธีการตรวจค้นสารกลุ่มนี้ก็ได้ก้าวหน้าขึ้นตามกาลเวลา แต่นักกีฬาก็พยายามหลีกเลี่ยงวิธีการตรวจค้นโดยการหันมาใช้ “ดีไซเนอร์สเตอรอยด์” (designer steroids) อีกด้วย เนื่องมาจากปัญหาของใช้สารกลุ่ม AAS ที่มีต้นกำเนิดจากภายในร่างกาย เช่น เทสโทสเตอโรน (Testosterone), แอนโดรสเตอนิไดโอน (Androstenedione) และดีไฮโดรอิพิแอนโดรสเตอโรน (DHEA) ที่จะสามารถถูกตรวจพบได้เนื่องจากเป็นสารที่มีอยู่ในร่างกายโดยปกติ
ในแง่ของการใช้ AAS เพื่อการรักษาทางการแพทย์นั้นยังมีที่ใช้ค่อนข้างจำกัดอยู่ ณ ปัจจุบัน แต่จะเน้นที่คุณสมบัติในแง่ของการเจริญเติบโต (Anabolic properties) ของสารกลุ่มนี้ โดยการใช้งานในทางคลินิก ก็เพื่อสู้กับภาวะผอมหนังหุ้มกระดูก (Cachexia ; ภาวะที่ร่างกายสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ กระดูก และไขมัน จนส่งผลให้น้ำหนักตัวลดลงอย่างมาก อาจเกิดขึ้นกับผู้ที่ป่วยเป็นโรคร้ายแรงในระยะสุดท้าย เช่น โรคมะเร็ง โรคไต โรคติดเชื้อเอชไอวี ภาวะหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง หัวใจวาย รวมถึงภาวะนี้ที่เกิดขึ้นได้ภายหลังการผ่าตัด หรือถูกไฟไหม้ เป็นต้น) นอกจากนี้ AAS ยังถูกใช้ในการรักษาโรคกระดูกพรุนในผู้หญิงหลังหมดประจำเดือน (postmenopausal osteoporosis) และในการรักษาภาวะไขกระดูกฝ่อ (Aplastic anemia; เป็นภาวะความผิด ปกติจากการที่ไขกระดูกไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดได้)
ในรายชื่อห้ามใช้ของ WADA (WADA Prohibited List) นอกจาก AAS แล้วก็ยังรวมไปถึง 2-agonists (เช่น clenbuterol และ zilpaterol), Selective androgen receptor modulators (SARMs) และ tibolone และ zeranol ที่เป็นตัวอย่าง เราจะมาพูดถึงเรื่องนี้ในตอนต่อไป
นอกเหนือจากรายการห้ามใช้ (WADA Prohibited List) องค์การ WADA ยังจัดโปรแกรมการตรวจสอบเพื่อประเมินการใช้สารต่าง ๆ (Monitoring program) โดยมีจุดประสงค์เพื่อป้องกันการใช้สารชนิดใหม่ในกีฬา เช่น ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2020 สาร Ecdysterone ได้ถูกเพิ่มในโปรแกรม ซึ่งถูกจัดอยู่ในกลุ่มของสารอนาบอลิก โดยสาร Ecdysterone เป็นสเตอรอยด์ที่มีต้นกำเนิดมาจากพืชและแมลง และพบในอาหารเสริมต่างๆ ที่ใช้เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อ
สำหรับตอนต่อไป ในบทความของเรา จะลงรายละเอียดเกี่ยวกับ AAS (Anabolic androgenic steroids) อย่าพลาดการติดตามบทความต่อไปของเรา เพื่อเพิ่มเติมความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้นะครับ
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี