อนาบอลิกแอนโดรจีนิกสเตียรอยด์ ถือเป็นสารประเภทที่มีโครงสร้างและหน้าที่ที่ใกล้เคียงกับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน สารเหล่านี้สามารถจำแนกได้เป็นแบบที่ถูกสร้างภายในร่างกายหรือเป็นสารสังเคราะห์
นับตั้งแต่ที่มีการค้นพบ เทสโทสเตอโรน เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1935 พบว่าเมื่อมีการรับประทาน หรือให้สารนี้ทางหลอดเลือดดำก็จะถูกย่อยลงอย่างรวดเร็วที่ตับของเราผ่านเมตาบอลิซึมรอบแรก (First pass metabolism) ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาในการใช้งานในทางการแพทย์ และต่อมาจึงมีการพัฒนาสาร AAS ชนิดภายนอกที่สามารถทนทานต่อการถูกย่อยที่ตับของเราได้ ทำให้ย่อยสารนี้ได้ช้าลง
เทสโทสเตอโรน (Testosterone) เทสโทสเตอโรนเป็นฮอร์โมนเพศชายหลักที่รับผิดชอบในการควบคุม กระบวนการต่างๆ ของร่างกาย เช่น การพัฒนาและรักษาลักษณะที่เป็นเฉพาะของเพศชาย ซึ่งรวมถึงลักษณะ ที่เกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่น เช่น การเจริญเต้านมและลูกอัณฑะ การเจริญของขนบนร่างกาย โดยเฉพาะขนบนใบหน้า บริเวณเชิงหน้าและรักแร้ การเสียงต่ำลึกขึ้นเนื่องจากการทำให้เส้นเสียงหนาขึ้นและการขยายช่องคอ เทสโทสเตอโรนถูกสร้างขึ้นโดยส่วนใหญ่ในลูกอัณฑะโดยเซลล์เลย์ดิก (Leydig cells 95%) และมีอีกแบบที่ การผ่านการแปรเปลี่ยนมาจากสารแอนโดรสทีนไดโอน (Androstenedione) (ซึ่งก็ถูกสร้างขึ้นโดยการต่อเติม โครงสร้างที่ต่อมหมวกไต) ในเนื้อเยื่อต่างๆ นอกจากนี้ฮอร์โมนนี้ก็ยังมีอยู่ในเพศหญิงและมีการสร้างขึ้นเป็น ปริมาณที่น้อยกว่าเพศชาย โดยในเพศหญิงจะมีการสร้างขึ้นจากรังไข่ (Ovaries) ต่อมหมวกไต(Adrenal glands) และการเปลี่ยนรูปมาจากแอนโดรสทีนไดโอน(Androstenedione) ที่ถูกสร้างขึ้นจากต่อมหมวกไต โดยเมื่อเราเข้าสู่วัยรุ่น (Puberty) พบว่าระดับเทสโทสเตอโรนในเลือดอยู่ที่ระดับประมาณ 250-1045 นาโนกรัมต่อเดซิลิตร (ng/dl) ในผู้ชายและ 1-44 นาโนกรัมต่อเดซิลลิตร(ng/dl) ในผู้หญิง โดยระดับของเทสโทสเตอโรนจะลดลงเรื่อยๆ เมื่อผู้ชายเข้าสู่วัย 60 ปีขึ้นไป (Salameh et al.,2010) และถึงแม้ว่าช่วงค่าเฉลี่ยของเทสโทสเตอโรนในผู้หญิง และผู้ชายจะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่ระดับนี้อาจจะมีความแตกต่างในบุคคลที่มีปัญหาด้านพัฒนาการ ทางเพศ (DSD; disorders of sex development) ซึ่งเป็นประเด็นที่ควรจะได้รับการพิจารณาเวลามีการอภิปราย ในเรื่องของความสามารถในการแข่งขันทางกีฬาของเพศหญิง (Clark et al., 2019) และพบว่าเทสโทสเตอโรนมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและรักษามวลกล้ามเนื้อของเพศหญิงด้วยเช่นกัน นอกจากนี้เทสโทสเตอโรนยังมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง (CNS) และมีบทบาทสำคัญในพฤติกรรมของมนุษย์ โดยเฉพาะพฤติกรรมทางเพศ เช่น ความต้องการทางเพศ (Libido)
ถึงแม้เทสโทสเตอโรนจะถือเป็นฮอร์โมนเพศชายชนิดหลัก (primary androgen) แต่ยังมี androgens อีกหลายชนิดที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและกำหนดลักษณะทางเพศ ซึ่งมีการสังเคราะห์ออกมาจาก ต่อมหมวกไต (adrenal cortex) โดยสาร weak androgens สำคัญที่สุดคือ ดีไฮโดรอีพิแอนโดรสเตอโรน (DHEA; dehydroepiandrosterone) และแอนโดสเตอนิไดโอน (Andro; androstenedione) ซึ่งสารเหล่านี้ในผู้หญิงนั้น มีบทบาทเป็นแหล่งของสารตั้งต้นที่สำคัญในการสังเคราะห์ androgen ชนิดที่แรงกว่า (circulating pool of more potent androgen precursors) โดยใช้ระบบเอนไซม์ภายในเซลล์หลายชนิด (intracellular enzyme) จะเห็นว่าหลังจากเทสโทสเตอโรนแล้วก็จะเป็นสารไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน (DHT; 5α-dihydrotestosterone) เป็น androgen อีกชนิดที่สำคัญและมีความสามารถในการจับกับตัวรับแอนดรอเจนได้ดีกว่า (greater affinity to the androgen receptor AR; androgen receptor) และมีบทบาทโดยตรงในการพัฒนาลักษณะทางเพศ (secondary sex characteristics) ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเทสโทสเตอโรนมักทำหน้าที่เป็นสารตั้งต้นในการ สังเคราะห์สาร DHT ในเนื้อเยื่อของระบบสืบพันธุ์และที่ผิวหนังซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่มีเอนไซม์ไฟว์อัลฟารีดักเทส (5α-reductase) เป็นตัวเร่งกระบวนการเปลี่ยนแปลงสารเหล่านี้ ที่ต่อมลูกหมาก (prostate gland) รวมถึงการเจริญของเส้นขน (hair growth) ตามลำดับ
เนื้อหาเกี่ยวกับ AAS ยังมีเพิ่มเติม ติดตามได้ในฉบับต่อไปนะครับ ขอบคุณผู้อ่านครับ
โดย หมอซัน (นพ.วชิรวิทย์ เพ็ญรัตน์)
ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ รพ.พังงา
Certificate in Drugs in Sports,
International Olympic Committee
wachipenrat@gmail.com, Instagram : dr.sunwachi
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี