ตั้งแต่ ค.ศ. 1996 ที่ได้มีการศึกษาวิจัยของ Shalender Bhasin แพทย์ระบบต่อมไร้ต่อจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด Harvard ได้แสดงให้เห็นว่าการใช้ยา Testosterone enanthate ในขนาดยาที่สูง (supraphysiological dose) กับคนที่ไม่มีภาวะขาดฮอร์โมน testosterone นั้นสามารถเพิ่มมวลกล้ามเนื้อได้ ถึงแม้เราจะทราบกันดีว่าโดยทั่วไปการออกกำลังกายแบบมีแรงต้านจะมีผลทำให้เพิ่มมวลกล้ามเนื้อได้ แต่การใช้ AAS แสดงให้เห็นว่าสามารถเพิ่มมวลกล้ามเนื้อได้แม้จะเราไม่ได้ออกกำลังกาย ซึ่งจากการศึกษานี้ ทำให้เราทราบว่า AAS ออกฤทธิ์ที่สารพันธุกรรมหรือจีนส์ของเราโดยตรงในระดับเซลล์ (genomic action)
ในปัจจุบันโลกของเรามีสื่อบันเทิงต่างๆ รวมถึงการที่เราให้ความสำคัญกับแนวคิดเรื่องของการมีรูปร่างและสุขภาพที่ดีมากยิ่งขึ้น แต่พบว่าก็ตามมาด้วยการมีผู้รู้สึกไม่พึงพอใจในรูปร่างของตนเองเป็นจำนวนเพิ่มขึ้น มีความมั่นใจในตนเองลดลง ในทางวิชาการเรามีคำเรียกว่า muscledysmorphia ซึ่งในปัจจุบันเราจะพบการใช้ AAS ในการแก้ปัญหาดังกล่าวนี้มากยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ สร้างภาพลักษณ์ให้มีรูปร่างที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ใช้บริการยิมเพื่อออกกำลังกาย สำหรับในการกีฬา พบการใช้AAS ในกีฬาเพาะกาย (bodybuilding) เป็นหลัก สำหรับกีฬาอื่นๆ ที่พบว่ามีการใช้ AAS เช่น ยกน้ำหนัก(powerlifting), กรีฑา (Athletics กีฬาประเภทลู่และลาน),ปั่นจักรยาน (cycling), รักบี้ (Rugby union) เป็นต้น
ปัจจุบันจากการสังเกตของผมในสื่อออนไลน์ พบว่าในประเทศไทยประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึง AAS ได้ง่ายมาก ไม่ต่างกับการซื้อสินค้าในร้านสะดวกซื้อ ซึ่งสารกลุ่มนี้เป็นสารเคมีที่ร่างกายเราได้รับจากภายนอกเข้าไปไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของการรับประทานหรือการฉีดหากไม่ได้รับคำแนะนำและติดตามอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องจากผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ ผู้ใช้อาจได้รับผลที่ไม่พึงประสงค์จากการใช้ AAS ได้ โดยจากรายงาน พบว่าผู้ใช้ AAS แบบ 17α-alkylated จะเกิดความเสียหายกับตับ (Liver damage หรือ Hepatotoxicity) เนื่องจากสารกลุ่มนี้ไม่สามารถหลีกเลี่ยงกระบวนการเมตาบอลิซึมขั้นแรก (First pass metabolism) ที่จะต้องไหลเวียนอยู่ในกระแสเลือดไปที่ตับได้ โดยผลกระทบต่อตับพบได้หลายรูปแบบ เช่น ค่าเอนไซม์ตับเพิ่มสูงขึ้น (liver enzyme concentrations) หรือเกิดเนื้องอกขึ้นที่ตับ (hepatic tumor) เป็นต้น
นอกจากผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์กับตับ พบว่าการใช้ AAS ในระยะยาว (Chronic AAS use) มีผลโดยตรงกับระบบหลอดเลือดและหัวใจของผู้ใช้ (Cardiovasculareffect) คือ กล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด (acutemyocardial infarction) และโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ซึ่งมีผลทำให้เกิดความทุพพลภาพ ความสูญเสีย ตั้งแต่เล็กน้อย เช่น ไขมันในเลือดสูงผิดปกติ (Dyslipidemia) ไปจนถึงเสียชีวิตได้
ผลกระทบของการใช้ AAS กับระบบต่างๆ ของร่างกายยังมีเพิ่มเติม ติดตามได้ในฉบับต่อไปนะครับ
โดย หมอซัน (นพ. วชิรวิทย์ เพ็ญรัตน์)
ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ รพ.พังงา
Certificate in Drugs in Sport, International Olympic Committee
wachipenrat@gmail.com, Instagram: dr.sunwachi
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี